ฟันแถม ฟันที่ทารกแรกเกิดมีงอกออกมา
เมื่อลูกยังเป็นทารกน้อย คุณพ่อคุณแม่มักจะสังเกตอาการต่าง ๆ ของลูกเสมอ เพราะคงไม่อยากให้มีอะไรผิดปกติ บางคนจึงสังเกตพบว่าลูกมี “ฟันแถม” ที่งอกขึ้นในปากตั้งแต่แรกเกิด ทั้งที่ยังไม่ถึงเวลาที่ควรจะมีฟันน้ำนมงอกออกมาตามพัฒนาการของเด็ก ฟันที่เห็นนั้นคืออะไร จะเป็นอันตรายอะไรหรือไม่ ติดตามหาคำตอบได้ในบทความตอนนี้เลยค่ะ
ฟันแถมคืออะไร?
โดยปกติฟันชุดแรกของเด็กจะงอกขึ้นครั้งแรกเมื่อเด็กทารกมีอายุประมาณ 7-8 เดือน ซึ่งฟันที่ขึ้นมาชุดนี้เราเรียกว่า ฟันน้ำนม จากนั้นฟันน้ำนมจะค่อย ๆ หลุดไป เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาเมื่ออายุ 5-6 ขวบ แต่ก็มีเด็กทารกหลายรายที่เกิดมาพร้อมกับมีฟันงอกออกมา เราเรียกฟันชนิดนี้ว่า ฟันแถม (Predeciduous teeth หรือ Neonatal Teeth) มีสีขาว ประกอบด้วยเคราตินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งฟันแถมนี้โดยมากมักจะเป็นฟันซี่ล่างด้านหน้า ลักษณะของฟันแถมจะมีลักษณะไม่เหมือนกับฟันน้ำนม เพราะว่าฟันแถมจะมีรูปร่างบิด เบี้ยว หรือโยก ได้ตั้งแต่แรก นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดแผลที่ลิ้นของลูกได้อีกด้วย ซึ่งการงอกขึ้นของฟันแถมนี้จะส่งผลกับคุณแม่เช่นกัน เพราะเมื่อลูกดูดนมจากอกแม่ ฟันแถมอาจจะทำให้แม่จะเจ็บจากฟันของลูก
ฟันแถมมีด้วยกัน 4 ประเภท ซึ่งแพทย์สามารถระบุได้ว่าลูกของคุณมีฟันแถมประเภทไหน
- ฟันมีการพัฒนาเต็มที่ แม้จะหลวม การครอบของฟันนั้นติดอยู่กับรากฟันแค่ไม่กี่ราก
- ฟันขึ้นมาแบบหลวม ๆ ไม่มีรากฟันอยู่เลย
- ฟันซี่เล็ก ๆ ที่เพิ่งโผล่ออกมาจากเหงือก
- มีร่องรอยของฟันที่กำลังจะตัดผ่านเหงือก
กรณีส่วนใหญ่ของฟันแถมนั้นจะเกิดขึ้นกับฟันเพียงซี่เดียว การเกิดมาพร้อมกับฟันแถมหลายซี่นั้นพบได้ยากยิ่ง ฟันหน้าส่วนล่างพบมากที่สุด รองลงมาคือฟันหน้าส่วนบน ทารกที่มีฟันนาตาลเกิดมาพร้อมกับฟันกรามนั้นก็มีน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ประเภทของฟันแถมที่แท้จริงของเด็กจะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน สิ่งนี้จะช่วยให้แพทย์พิจารณาว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
มีปัญหาพื้นฐานทางการแพทย์ที่อาจทำให้เกิดฟันแถม รวมถึงกลุ่มอาการต่อไปนี้:
- กลุ่มอาการสมองยักษ์ (Sotos)
- โรค Hallerman-Streiff
- โรคปิแอร์-โรแบง (Pierre Robin)
- กลุ่มอาการ Ellis-van Creveld
นอกเหนือจากเงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่างแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจเพิ่มโอกาสของทารกที่จะเกิดมาพร้อมฟันแถม ทารกที่เกิดมาพร้อมฟันแถมประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ มีสมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดที่มีฟันแถมเช่นกัน ในขณะที่ยังมีความขัดแย้งในงานศึกษาวิจัยระหว่างปัจจัยด้านเพศและฟันแถม แต่ก็มักจะพบว่าทารกเพศหญิงเกิดมาพร้อมกับฟันแถมมากกว่าทารกเพศชาย
นอกจากนี้ ภาวะทุพโภชนาการของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
จำเป็นต้องรักษาหรือไม่?
หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีฟันแถม ก็ควรที่จะพาลูกไปปรึกษากับทันตแพทย์สำหรับเด็ก เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจดูฟันแถมของลูก โดยปกติแล้วฟันแถมมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ กับเด็ก แต่อาจเป็นอันตรายถ้าฟันแถมเกิดหลุดแล้วเข้าไปติดในหลอดลม หรือสร้างความเจ็บปวดให้แม่เวลาลูกดูดนม และอาจทำให้เกิดแผลที่นมแม่ได้ ดังนั้น แพทย์ส่วนมากจะแนะนำให้ถอนฟันแถมออก เพื่อรอให้ฟันน้ำนมขึ้นมาเมื่อเด็กอายุ 7-8 เดือน ฟันที่ขึ้นเมื่อแรกเกิดนี้ถอนออกง่าย ทารกจะไม่เจ็บมาก เนื่องจากไม่มีรากฟัน หากทำการถอนตั้งแต่ทารกมีอายุไม่กี่วัน เขาจะยังหลับเป็นส่วนมาก ทันตแพทย์จะค่อย ๆ อ้าปากทารกขึ้น และใช้สำลีก้อนเล็ก ๆ ที่ชุบยาชาแตะที่โคนฟันสักครู่ จากนั้นก็ใช้คีมอันเล็กถอนฟันทารกออก ทารกอาจจะร้องเสียงดังสักครั้งหนึ่ง แต่เขาก็จะหลับต่ออย่างง่ายดาย จากนั้นทันตแพทย์จะนำผ้าก๊อซที่ฆ่าเชื้อโรคแล้วกดไว้บนสันเหงือกของทารกสัก 3-4 นาที เพื่อให้เลือดหยุดไหล จากนั้นก็ส่งทารกกลับไปให้พยาบาลเด็กอ่อนดูแลต่อไป และแม่ก็สามารถให้นมทารกน้อยได้ตามปกติ
กรณีที่ฟันแถมของลูกงอกขึ้นมาเหนือเหงือกเพียง 1 มม. จะยังไม่สามารถถอนออกได้ แพทย์ก็จะแนะนำให้แม่ใช้ผ้าก๊อซพัน 2-3 ชั้น รองไว้ที่หัวนม และจับผ้าก๊อซไว้ขณะที่ให้นมลูก เพื่อไม่ให้ผ้าก๊อซ หลุดเข้าไปในปากทารก
แต่เคยเกิดกรณีที่พ่อแม่เข้าใจผิดว่าฟันที่ขึ้นมาของลูกเป็นฟันแถม แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นฟันน้ำนม เมื่อถอนไปแล้ว ฟันน้ำนมจะไม่สามารถขึ้นมาได้อีก ต้องรอยาวไปจนลูกอายุ 5-6 ขวบ ฟันแท้จึงจะงอกขึ้นมา ดังนั้น เพื่อไม่ให้มีอะไรผิดพลาด คุณพ่อคุณแม่ต้องปรึกษาแพทย์ให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจ
การเกิดมาพร้อมกับฟันแถมนั้นหาได้ยาก แต่ก็เป็นไปได้ หากลูกน้อยของคุณมีฟันแถมติดมาตั้งแต่แรกเกิด คุณต้องแน่ใจว่าได้ปรึกษากับกุมารแพทย์ ฟันแถมหรือหลวมใด ๆ ที่ลูกมี อาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อป้องกันอันตรายและภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ ทันตแพทย์เด็กสามารถช่วยแนะนำคุณตลอดกระบวนการ แม้ว่าฟันของทารกแรกเกิดจะไม่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นความอันตรายต่อเขาในทันที แต่มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบฟันของทารกให้ดีเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th