ภาวะน้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร ?
ระหว่างที่คุณตั้งครรภ์ มีอาการต่าง ๆ มากมายที่คุณต้องหมั่นสังเกต แต่บางอย่างเราก็สังเกตเองได้ยาก เช่น “ภาวะน้ำคร่ำน้อย” นั้น เราแทบไม่มีทางรู้ได้เลยว่ากำลังเกิดสิ่งผิดปกตินี้ขึ้นกับเรา แต่เราจะรู้ได้อย่างไร มีวิธีการตรวจหรือไม่ รวมทั้งภาวะนี้จะส่งผลเสียต่อตัวแม่หรือทารกในครรภ์อย่างไร เรามาติดตามบทความนี้กันค่ะ
ภาวะน้ำคร่ำน้อยคืออะไร ?
ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อมีน้ำคร่ำน้อยเกินไปในมดลูก ณ จุดใดก็ได้ในการตั้งครรภ์ พบได้บ่อยที่สุดในช่วงไตรมาสที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณคลอดช้ากว่ากำหนด แต่มันมักไม่ใช่สัญญาณของปัญหา
น้ำคร่ำคืออะไร ?
น้ำคร่ำคือของเหลวใส สีเหลืองอ่อน ที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำล้อมรอบทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา และมันมีบทบาทสำคัญหลายประการ
- จะช่วยรองรับลูกน้อยของคุณ เพื่อป้องกันเขาจากการบาดเจ็บ เช่น ถ้าคุณนอนกลิ้ง
- ป้องกันไม่ให้สายสะดือบีบอัดตัว ซึ่งจะลดปริมาณออกซิเจนของทารก
- ช่วยรักษาอุณหภูมิในครรภ์ให้คงที่
- ป้องกันการติดเชื้อ
- ช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อและกระดูกของเขาพัฒนาได้อย่างเหมาะสม
- ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบทางเดินหายใจพัฒนา เมื่อลูกน้อยกลืนและขับถ่าย และ “หายใจเข้า” และ “หายใจออก” จากปอดของเขา
น้ำคร่ำมาจากไหน ?
ในช่วง 14 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ของคุณ ของเหลวจะผ่านจากระบบไหลเวียนของคุณไปยังถุงน้ำคร่ำ ในช่วงต้นของไตรมาสที่สอง ลูกน้อยของคุณจะเริ่มกลืนของเหลวเหล่านั้น ส่งผ่านมันไปยังไต และขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะ ซึ่งจากนั้นทารกก็จะกลืนลงไปอีกครั้ง โดยรีไซเคิลน้ำคร่ำเต็มปริมาตรในทุก 2-3 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าของเหลวส่วนใหญ่ก็คือปัสสาวะของลูกคุณ
ดังนั้น ลูกน้อยของคุณจึงมีบทบาทสำคัญในการรักษาปริมาณของเหลวในถุงน้ำคร่ำให้เพียงพอ แม้ว่าบางครั้งระบบนี้จะพังลง ส่งผลให้มีของเหลวมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งทั้งสองอย่างนี้อาจทำให้เกิดปัญหาได้
ควรมีน้ำคร่ำเท่าไร ?
ภายใต้สถานการณ์ปกติ ปริมาณน้ำคร่ำที่คุณมีจะเพิ่มขึ้นจนถึงช่วงเริ่มต้นของไตรมาสที่สาม ในช่วงสูงสุดของสัปดาห์ที่ 34-36 คุณอาจมีน้ำคร่ำประมาณหนึ่งส่วนสี่ของน้ำคร่ำทั้งหมด หลังจากนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งคุณคลอด
จะทราบได้อย่างไรว่ามีน้ำคร่ำน้อย ?
แพทย์ของคุณอาจสงสัยว่ามีปัญหานี้หากคุณมีของเหลวรั่ว มีขนาดท้องที่เล็กสำหรับระยะการตั้งครรภ์ของคุณ หรือไม่รู้สึกว่าลูกน้อยเคลื่อนไหวมากพอ นอกจากนี้ แพทย์จะมองหาภาวะนี้หากคุณเคยมีลูกซึ่งการเจริญเติบโตถูกจำกัดมาก่อน หรือหากคุณมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ หรือหากคุณเลยวันครบกำหนดคลอด
หากต้องการทราบว่าเกิดอะไรขึ้น แพทย์ของคุณจะส่งคุณไปตรวจอัลตราซาวนด์ เครื่องตรวจคลื่นเสียงจะวัดถุงน้ำคร่ำที่ใหญ่ที่สุดในสี่ส่วนของมดลูกของคุณ และรวมเข้าด้วยกันเพื่อดูว่าคุณได้คะแนนดัชนีน้ำคร่ำ (AFI) เท่าไหร่ การวัดปกติสำหรับไตรมาสที่สามอยู่ระหว่าง 5 ถึง 25 เซนติเมตร (ซม.) หากรวมแล้วได่น้อยกว่า 5 ซม. ถือว่าน้ำคร่ำต่ำ
สิ่งที่อาจทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย ?
ผู้เชี่ยวชาญมักไม่รู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของน้ำคร่ำในระดับต่ำ ในความเป็นจริงผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีภาวะนี้มักไม่มีสาเหตุที่ระบุได้แน่ชัด ยิ่งอาการปรากฎให้เห็นช้าเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นแนวโน้มที่ดีกว่าสำหรับลูกน้อยของคุณ
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะนี้ ได้แก่
ทารกตัวเล็ก
ทารกตัวเล็กจะผลิตของเหลวน้อยลง
ภาวะแทรกซ้อนของมารดา
ภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน และโรคลูปัส อาจส่งผลให้ระดับน้ำคร่ำต่ำ
ปัญหาเกี่ยวกับรก
ปัญหาเกี่ยวกับรก เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดบางส่วน ซึ่งรกลอกตัวออกจากผนังด้านในของมดลูก อาจทำให้น้ำคร่ำอยู่ในระดับต่ำ หากรกไม่ส่งเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงลูกน้อยเพียงพอ เขาจะหยุดผลิตปัสสาวะ
สาเหตุของภาวะน้ำคร่ำน้อยที่พบได้น้อยมาก ได้แก่
เยื่อหุ้มที่รั่วหรือแตก
การฉีกขาดเล็กน้อยในเยื่อน้ำคร่ำอาจทำให้ของเหลวบางส่วนรั่วไหลออกมาได้ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในการตั้งครรภ์ของคุณ แต่มักเกิดขึ้นเมื่อคุณใกล้คลอด คุณอาจสังเกตเห็นของเหลวที่รั่วออกมาเองหากคุณพบว่าชุดชั้นในของคุณเปียก หรือแพทย์ของคุณอาจค้นพบระหว่างการตรวจ แจ้งให้แพทย์ของคุณทราบหากคุณสงสัยว่าน้ำคร่ำของคุณรั่ว
เยื่อที่แตกสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับทั้งคุณและลูกน้อยได้ เนื่องจากเป็นช่องทางให้แบคทีเรียเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ในบางครั้งการฉีกขาดในถุงจะหายได้เอง การรั่วไหลจะหยุดลงและระดับของเหลวจะกลับสู่สภาวะปกติ โดยปกติจะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเจาะน้ำคร่ำ
ยาบางชนิด
ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitors สามารถมีส่วนทำให้น้ำคร่ำลดลง
ครรภ์แฝด
คุณมีความเสี่ยงต่อระดับน้ำคร่ำต่ำหากคุณมีครรภ์แฝด ภาวนี้น่าจะเป็นในกรณีของกลุ่มอาการ TT TS (Twin to Twin Transfusion Syndrome) ซึ่งเป็นอาการที่มีเลือดวิ่งถ่ายเทระหว่างเด็กในครรภ์ด้วยกัน โดยคนหนึ่งให้อีกคนรับ ทำให้คนหนึ่งมีน้ำคร่ำน้อยเกินไป ในขณะที่อีกคนมีมากเกินไป
พ้นวันครบกำหนดคลอดของคุณไปแล้ว
น้ำคร่ำที่ลดลงเป็นหนึ่งในความเสี่ยงของการตั้งครรภ์เกินกำหนด ระยะเวลาที่เลยมา 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นหลังจากวันครบกำหนดของคุณ อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อภาวะนี้
ความผิดปกติของทารกในครรภ์
หากคุณพบว่ามีน้ำคร่ำในระดับต่ำในไตรมาสแรกหรือไตรมาสที่สอง นั่นอาจหมายความว่าลูกน้อยของคุณมีความผิดปกติแต่กำเนิด หากไตของเขาไม่อยู่ที่ที่มันควรจะอยู่หรือไม่พัฒนาอย่างถูกต้อง หรือทางเดินปัสสาวะของเขาถูกปิดกั้น ตัวอย่างเช่น ลูกน้อยของคุณจะผลิตปัสสาวะไม่เพียงพอเพื่อรักษาระดับน้ำคร่ำ
จะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยหรือไม่ ?
ไม่เป็นอันตรายสักเท่าไหร่ ในกรณีส่วนใหญ่ของภาวะนี้ที่เกิดในไตรมาสที่สามจะไม่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ กับลูกน้อยของคุณ แม้ว่าระดับของเหลวจะต่ำมาก แต่ก็มีความเสี่ยงต่อลูกน้อยของคุณเนื่องจากสายสะดืออาจบีบตัวทำให้ทารกไม่ได้รับอาหารและออกซิเจนเพียงพอ นั่นเป็นเหตุผลที่ผู้หญิงที่มีภาวะนี้ในไตรมาสต้น ๆ มีอัตราของการแทรกแซงการคลอดหรือปัญหาระหว่างคลอดและการคลอดที่สูงขึ้น ได้แก่
- การชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด หรือทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
- การผ่าคลอด
- ทารกแรกเกิดที่มีคะแนน Apgar ต่ำ
- ทารกแรกเกิดที่ต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต (NICU)
เป็นเรื่องผิดปกติที่ระดับน้ำคร่ำต่ำจะพัฒนาอาการในสองไตรมาสแรก แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นอาจทำให้เกิด
- ทารกตายในครรภ์
- การแท้งบุตร
- การคลอดก่อนกำหนด
- ความผิดปกติโดยกำเนิด
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย ?
หากคุณมีน้ำคร่ำในระดับต่ำ แพทย์ของคุณจะติดตามการตั้งครรภ์ของคุณอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณยังคงเติบโตตามปกติ การตั้งครรภ์ของคุณจะได้รับการจัดการอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าคุณมีอายุครรภ์เท่าไหร่ ลูกของคุณเป็นอย่างไร และคุณมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่
หากคุณและลูกน้อยของคุณมีสุขภาพดีและภาวะนี้พัฒนาขึ้นมาในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ คุณอาจได้รับการตรวจติดตามบ่อยขึ้น แต่อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ
หากภาวะนี้เกิดขึ้นกับคุณ ขั้นตอนที่จะตามมาได้แก่
- การตรวจติดตามที่เพิ่มขึ้น ลูกน้อยของคุณจะได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์บ่อย ๆ คุณจะถูกขอให้ดื่มน้ำมาก ๆ นับการเตะของทารกในครรภ์ และแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากคุณสังเกตเห็นว่าลูกน้อยของคุณเคลื่อนไหวน้อยลง
- การกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอด หากคุณอยู่ในระยะใกล้คลอด คุณจะถูกกระตุ้นให้เจ็บครรภ์ ในบางกรณีคุณอาจต้องคลอดก่อนกำหนดเดิม หากคุณมีภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงหรือทารกของคุณไม่เจริญเติบโตในครรภ์ เป็นต้น
- การเพิ่มความชุ่มชื้น การให้ร่างกายชุ่มชื้นอยู่เสมอโดยการดื่มน้ำหนึ่งหรือสองลิตร ซึ่งอาจทำให้ปริมาณน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณขาดน้ำ ในบางกรณีจะให้ของเหลวทางหลอดเลือดแก่แม่
- การผ่าคลอด หากลูกน้อยในครรภ์ไม่สามารถรอที่จะคลอดเองได้อย่างปลอดภัย ปลอดภัยแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณจะแนะนำให้ผ่าคลอด
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th