“ลมพิษ” ในเด็กเป็นอย่างไร ?
ทารกน้อยของคุณอาจมีอาการแปลก ๆ ทางผิวหนังให้คุณกังวลได้ทุกเมื่อ ซึ่ง “ลมพิษ” ก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ Motherhood เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่บางท่านก็อาจจะยังแยกไม่ค่อยออกว่าอาการทางผิวหนังที่เห็นบนผิวลูกน้อยนั้นคืออะไรกันแน่ เราจะแยกแยะได้อย่างไร แล้วอาการลมพิษมีลักษณะแบบไหน ต้องได้รับการดูแลอย่างไร บทความวันนี้จะเคลียร์ทุกข้อสงสัยให้คุณค่ะ
ลมพิษในเด็กคืออะไร ?
ลมพิษ คือการระบาดอย่างกะทันหันของบริเวณที่เป็นสีแดง คัน และบวมบนผิวหนัง ภาวะนี้มักเกิดขึ้นจากการแพ้อาหารบางชนิดหรือรับประทานยาบางชนิด ในบางกรณีไม่ทราบสาเหตุ ลมพิษอาจมีขนาดตั้งแต่ครึ่งนิ้วจนถึงหลายนิ้ว ลมพิษสามารถปรากฏขึ้นทั่วร่างกายหรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้
อะไรทำให้เกิดลมพิษในเด็ก ?
สาเหตุของลมพิษในเด็ก ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค และตัวกระตุ้นอื่น ๆ สาเหตุทั่วไป ได้แก่
- ถั่ว
- ไข่
- สัตว์น้ำจำพวกมีเปลือก
- ยาเพนิซิลลิน
- ซัลฟา
- ยากันชัก
- ยาฟีโนบาร์บิทัล
- ยาแอสไพริน
ลมพิษประเภทอื่น ได้แก่
- โรคผิวหนัง ลมพิษเหล่านี้เกิดจากการเกาที่ผิวหนัง การลูบที่ผิวหนังอย่างต่อเนื่อง หรือการสวมเสื้อผ้ารัดรูปที่ถูผิวหนัง
- ลมพิษที่เกิดจากความเย็น ลมพิษเหล่านี้เกิดจากการสัมผัสกับอากาศเย็นหรือน้ำ
- ลมพิษที่เกิดจากการออกกำลังกาย อาการแพ้เหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากการออกกำลังกาย
- ลมพิษจากแสงอาทิตย์ ลมพิษเหล่านี้เกิดจากการสัมผัสกับแสงแดดหรือแสงจากหลอดไฟ
- ลมพิษเรื้อรัง เหล่านี้เป็นลมพิษที่กลับมาซ้ำ ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
เด็กแบบไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นลมพิษ ?
ทุกคนสามารถเป็นลมพิษได้ แต่เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้มีความเสี่ยงมากกว่า
อาการลมพิษในเด็กเป็นอย่างไร ?
อาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไปของลมพิษในเด็ก
- บริเวณผิวหนังมีอาการคัน ชมพูหรือแดง
- ลมพิษอาจปรากฏขึ้นตามลำพัง เป็นกลุ่ม หรือเป็นส่วนใหญ่ของร่างกาย
- ลมพิษสามารถหายไปภายใน 24 ชั่วโมงในจุดหนึ่ง แต่อาจกลับมาขึ้นที่จุดอื่นได้
มีการวินิจฉัยอย่างไร ?
แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคลมพิษได้ เริ่มต้นจากการกรอกประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกายให้ครบถ้วนก่อน
ลมพิษรักษาในเด็กอย่างไร ?
การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการ อายุ และสุขภาพโดยทั่วไปของเด็ก นอกจากนี้ยังจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ การรักษาที่ดีที่สุดคือให้ลูกของคุณอยู่ห่างจากสิ่งกระตุ้น หากลมพิษเกิดจากยาก็ควรอยู่ห่างจากยานั้นอย่างเคร่งครัด
แพทย์อาจจะสั่งยาให้ ดังนี้
- ยาแก้แพ้ เช่น ไดเฟนไฮดรามีนหรือไฮดรอกซีไซน์
- ยาแก้แพ้อื่น ๆ ที่ไม่ทำให้ลูกง่วง เช่น เซทิริซีนหรือลอราทาดีน
หากลูกของคุณหายใจลำบาก แพทย์อาจฉีดอะดรีนาลีนให้ ซึ่งช่วยลดอาการบวมและคัน แพทย์อาจแสดงวิธีใช้ชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินที่มีอะดรีนาลีน ซึ่งสามารถเก็บไว้ใกล้ลูกของคุณในกรณีที่มีอาการ
ควรโทรหาแพทย์เมื่อใด ?
หากอาการของลูกแย่ลงหรือเขาหรือเธอมีอาการใหม่ ๆ เกิดขึ้น ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับลมพิษในเด็ก
- ลมพิษเป็นปัญหาที่จะพบความแดง บวม และคันปรากฏขึ้นบนผิวหนัง
- สาเหตุของลมพิษ ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค และตัวกระตุ้นอื่น ๆ
- การรักษารวมถึงยาแก้แพ้และการฉีดอะดรีนาลีน หากหายใจลำบาก
- การอยู่ห่างจากตัวกระตุ้นลมพิษเป็นสิ่งสำคัญ
ควรทำอย่างไรต่อไป ?
เคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากการไปพบแพทย์
- รู้เหตุผลในการไปพบแพทย์และสิ่งที่คุณต้องการให้เกิดขึ้น
- ก่อนไปพบแพทย์ ให้เขียนคำถามที่คุณต้องการคำตอบ
- ในการแพบแพทย์ ให้จดชื่อของการวินิจฉัยโรคใหม่และยา การรักษา หรือการทดสอบใหม่ ๆ จดคำแนะนำที่แพทย์มอบให้กับบุตรหลานของคุณด้วย
- รู้ว่าเหตุใดจึงต้องมีการกำหนดยาหรือการรักษาใหม่ ๆ และยานี้จะช่วยลูกของคุณได้อย่างไร ยังต้องรู้ด้วยว่าผลข้างเคียงคืออะไร
- ถามแพทย์ว่าจากอาการของลูกคุณ สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้หรือไม่
- รู้ว่าเหตุใดจึงแนะนำการทดสอบตัวนี้ หรือขั้นตอนและผลลัพธ์อาจหมายถึงอะไรบ้าง
- รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากลูกไม่ยอมกินยาหรือเข้ารับการทดสอบตามขั้นตอน
- หากลูกมีนัดติดตามผล ให้จดวันที่ เวลา และจุดประสงค์ในการพบแพทย์ครั้งนั้น
- รู้ว่าคุณจะติดต่อแพทย์ได้อย่างไรหลังเวลาทำการ นี่เป็นสิ่งสำคัญหากลูกของคุณป่วยและคุณมีคำถามหรือต้องการคำแนะนำ
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th