Site icon Motherhood.co.th Blog

“วัคซีน ChulaCov19” รุ่นแรกของไทย เริ่มฉีดทดลองในมนุษย์ครั้งแรกแล้ว

เริ่มฉีดวัคซีน ChulaCov19

วัคซีน ChulaCov19 เริ่มฉีดให้กับอาสาสมัครแล้ว

“วัคซีน ChulaCov19” รุ่นแรกของไทย เริ่มฉีดทดลองในมนุษย์ครั้งแรกแล้ว

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าประเทศไทยเราได้มีการซุ่มทดลองวัคซีน COVID-19 มาสักระยะแล้ว ซึ่งนั่นก็คือ “วัคซีน ChulaCov19” ที่ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่นเอง ความคืบหน้าของการทดลองวัคซีนตัวนี้จะเป็นอย่างไรนั้น Motherhood นำรายละเอียดมาฝากกันแล้วค่ะ

วันที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทดสอบการฉีดวัคซีนให้กับอาสาสมัครผู้ที่ผ่านการคัดกรองที่มีสุขภาพดีระยะที่ 1 และต่อเนื่องในระยะที่ 2 เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน ChulaCov19 (จุฬา-คอฟ-ไนน์ทีน) ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ทีมนักวิจัย ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

วัคซีนตัวนี้ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ แพทย์ พยาบาล บุคลากร เทคโนโลยีต่าง ๆ อันทันสมัย ได้มาตรฐาน เพื่อนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและรักษาประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องขอขอบคุณกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงนักวิจัยทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่ร่วมกันพัฒนา วิจัย คิดค้นผลิตวัคซีน รวมถึงการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนประสบความสำเร็จ สามารถผลิตและพร้อมฉีดให้กับอาสาสมัครแล้ว

วัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย จากการสนับสนุนของแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ ศาสตราจารย์ดรูว์ ไวสส์แมน (Prof. Drew Weissman) แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย วัคซีนตัวนี้ผลิตโดยการสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา แต่ไม่มีการใช้ตัวเชื้อ ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป ร่างกายจะสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัส (Spike protein) ขึ้นมา และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ เมื่อวัคซีนชนิด mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด

โดยที่ผ่านมาทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทดลองในลิงและหนูประสบผลสำเร็จ และยังพบว่ามันสามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดและสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง จึงนำมาสู่การผลิตและทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 ให้กับอาสาสมัครในวันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นวันแรก โดยแบ่งการทดสอบได้ดังนี้

การทดสอบในระยะที่ 1 แบ่งออกเป็นสองกลุ่มอายุ จำนวน 72 คน

โดยในจำนวนสองกลุ่มข้างต้นจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ฉีดวัคซีน 10 ไมโครกรัม 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ปริมาณเท่าใด เพราะปัจจุบัน Moderna ใช้วัคซีนปริมาณ 100 ไมโครกรัม ส่วน Pfizer ใช้ 30 ไมโครกรัม ทางศูนย์ฯ จึงต้องศึกษาว่าคนไทยหรือคนเอเชียเหมาะกับการฉีดที่ 10 หรือ 25 หรือ 50 ไมโครกรัม จะได้รู้ขนาดที่ปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิได้สูง หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่การทดสอบทางคลินิกในระยะที่ 2

เริ่มทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

การทดสอบในระยะที่ 2 จะทำการทดสอบกับอาสาสมัครจำนวน 150-300 คน ซึ่งคาดว่าเริ่มต้นฉีดได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

จุดเด่นของวัคซีน ChulaCov19

จุดเด่นหลักคือเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนยี่ห้ออื่น

ยิ่งไปกว่านั้น ทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เตรียมความพร้อมพัฒนาทดลองวัคซีนรุ่นที่สองกับสัตว์ทดลองควบคู่กันไปกับรุ่นแรกข้างต้น เพื่อรองรับเชื้อที่ดื้อยาหรือเชื้อที่เกิดการกลายพันธุ์อย่าง สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์บราซิล สายพันธุ์อินเดีย ฯลฯ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th