Site icon Motherhood.co.th Blog

ควรเลิก “ห่อตัวทารก” เมื่อไหร่ดี ?

เลิกห่อตัวทารก

พ่อแม่สงสัย จะหยุดห่อตัวให้ลูกน้อยได้เมื่อไหร่นะ

ควรเลิก “ห่อตัวทารก” เมื่อไหร่ดี ?

การ “ห่อตัวทารก” ช่วยให้ทารกแรกเกิดนอนหลับได้นานขึ้นและลึกขึ้น แต่การห่อตัวอย่างปลอดภัยก็มีจุดสิ้นสุดของมันเช่นกัน และช่วงเวลานั้นก็อาจมาเร็วกว่าที่คุณคิด Motherhood จะพาคุณไปเรียนรู้เรื่องนี้กันค่ะ

จากคำแนะนำและเคล็ดลับทั้งหมดที่พ่อแม่มือใหม่ได้รับคำแนะนำมาจากแผนกสูติกรรมหลังจากพวกเขาได้ต้อนรับเจ้าตัวน้อย ก็คือการห่อตัวนั้นมีประโยชน์มาก เทคนิคการห่อตัวทารกแรกเกิดอย่างแนบแน่นในผ้านี้กล่าวกันว่า มันช่วยให้พวกเขานอนหลับได้นานขึ้นและลึกขึ้น นั่นเป็นเพราะมันยับยั้งปฏิกิริยาการสะท้อนกลับ (Startle reflex) ตามธรรมชาติของเด็ก และทำให้พวกเขารู้สึกถึงช่วงเวลาของการอยู่ในครรภ์

ทารกจะรู้สึกสบายเหมือนตอนอยู่ในครรภ์และหลับได้ลึกขึ้น

แต่มันมีข้อจำกัดหรือเปล่า ว่าคุณควรจะห่อตัวลูกน้อยของคุณไปนานแค่ไหน ? เท่าที่ปรากฏ คำตอบก็คือ มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน และช่วงเวลาที่คุณควรเลิกห่อตัวเด็ก ๆ ก็อาจมาถึงเร็วกว่าที่คุณคิด แนวทางปฏิบัติคืออะไร ? มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้เลย

เมื่อใดควรหยุดห่อตัวทารก

สงสัยว่าเมื่อใดควรหยุดห่อตัวลูกน้อยของคุณใช่ไหม ? สิ่งสำคัญที่ควรระวังคือเมื่อไหร่ที่ลูกน้อยเริ่มพลิกตัวได้เอง ดร.อลิซาเบธ เมอร์เรย์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินในเด็กที่โรงพยาบาลเด็ก Golisano ในโรเชสเตอร์ รัฐนิวยอร์ก กล่าวว่า “ควรหยุดห่อตัวเด็กหากมีสัญญาณว่าลูกของคุณเริ่มม้วนตัวได้ เนื่องจากการเอาแขนออกมาจากการห่อเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยจำกัดการคว่ำหน้าลงของเด็ก”

สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (APP) ก็มีจุดยืนเดียวกัน “พ่อแม่ควรหยุดห่อตัวทันทีที่ลูกแสดงสัญญาณว่าพยายามจะพลิกตัว ทารกหลายคนเริ่มกลิ้งตัวเมื่ออายุประมาณ 2 เดือน”

ตามรายงานของ AAP การศึกษาพบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดภาวะการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของทารก (SIDS) และการหายใจไม่ออกโดยไม่ได้ตั้งใจ หากทารกที่ห่อตัวนอนคว่ำหรือนอนคว่ำ ควรให้ทารกนอนหงายเสมอ นอกจากนี้ พ่อแม่ควรเฝ้าสังเกตทารกที่ห่อตัวเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะไม่พลิกคว่ำ

ดร. เมอร์เรย์ตั้งข้อสังเกตว่าแขนควรจะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระหลังจากผ่านไปประมาณ 6 สัปดาห์ หรือบางครั้งอาจแค่ 4 สัปดาห์ “เมื่อถึงตอนนั้น ทารกที่ถูกห่อตัวมักจะสบายตัวเมื่อได้กางแขนออก” เธอกล่าว

แต่ก็มีเวลาที่คุณควรเลิกห่อตัวทารกเช่นกัน
เทคนิคการห่อตัวอย่างปลอดภัยสำหรับทารก

อันตรายที่ใหญ่ที่สุดของการห่อตัวคือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของ SIDS และการหายใจไม่ออกโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากทารกคว่ำท้องของพวกเขาลงเตียง นอกจากนี้ “การห่อตัวอาจลดความตื่นตัวของทารก ส่งผลให้ทารกตื่นขึ้นได้ยากขึ้น” AAP กล่าว และแม้ว่าการนอนหลับลึกจะเป็นประโยชน์ที่ได้จากการห่อตัว แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับ SIDS ด้วย

นอกจากนี้ การห่อตัวอาจเพิ่มโอกาสที่ทารกจะร้อนเกินไป ดังนั้น โปรดคำนึงถึงอุณหภูมิและสิ่งอื่น ๆ ที่พวกเขากำลังสวมอยู่ใต้ผ้าห่อตัว “โปรดจำไว้ว่ากฎคือ ทารกต้องการสวมใส่เสื้อผ้ามากกว่าที่ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ใส่แล้วรู้สึกสบายตัวอีกหนึ่งชั้น” ดร. เมอร์เรย์กล่าว “นั่นอาจหมายถึงชุดติดกัน จากนั้นชุดนอน แล้วคลุมด้วยผ้าห่มแบบที่สวมใส่ได้ ผ้าห่มที่สวมใส่ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าที่เนื้อหนักมากในสภาพอากาศหนาวเย็น แต่สามารถเป็นเช่นนั้นได้หากนั่นคือสิ่งที่ต้องปรับตามสิ่งแวดล้อม” ลูกของคุณอาจร้อนเกินไปหากคุณสังเกตเห็นว่า “เหงื่อออก ผมเปียก แก้มแดง ผดร้อน และหายใจเร็ว” AAP กล่าว

อันตรายอีกประการหนึ่งของการห่อตัวคือข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) หากทารกถูกห่อตัวโดยเหยียดขาและห่ออย่างแน่นหนา ข้อต่อสะโพกของทารกอาจก่อตัวไม่ถูกต้อง “นั่นเป็นเหตุผลที่ผ้าห่มสำหรับนอนหลับที่สวมใส่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อกอดส่วนบนของทารก ในขณะที่ปล่อยให้ขาของพวกเขายืดออกหรืองอเล็กน้อยหากทารกทำแบบนั้นด้วยตัวเอง” ดร. เมอร์เรย์กล่าว

AAP ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าห่มห่อตัวอีกต่อไป เนื่องจากสามารถแกะออกได้ และสามารถทำให้ทารกหายใจไม่ออกได้ด้วย ขอแนะนำให้ใช้ผ้าห่มหรือถุงนอนที่สวมใส่ได้แทนสำหรับทารกแรกเกิด ผ้าจะสามารถพันรอบตัวทารกได้แน่นขึ้นเพื่อช่วยให้แขนแนบแนบไปกับตัว

ถุงนอนที่สวมได้แนบตัวก็เป็นทางเลือกที่ดี

หากต้องการห่อตัวลูกน้อยอย่างปลอดภัย ให้พูดคุยกับกุมารแพทย์ของคุณ และอย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th