Site icon Motherhood.co.th Blog

เชื้อโควิด-19 มีชีวิตรอดบนพื้นผิวสมาร์ทโฟน-ธนบัตรได้ถึง 28 วัน

เชื้อโควิด-19 รอดถึง 28 วัน

งานวิจัยพบว่าเชื้อโควิด-19 มีชีวิตรอดบนพื้นผิวถึง 28 วัน

เชื้อโควิด-19 มีชีวิตรอดบนพื้นผิวสมาร์ทโฟน-ธนบัตรได้ถึง 28 วัน

ทุกวันนี้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วโลก ล่าสุดผลวิจัยจากออสเตรเลียบ่งชี้ว่า “เชื้อโควิด-19” นั้นจะมีชีวิตรอดอยู่บนพื้นผิวของธนบัตร หน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือของใช้ที่ทำจากสเตนเลส ได้นานถึง 28 วันเลยทีเดียว รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น เรามาติดตามกันค่ะ

เชื้อไวรัสที่เกาะกับพื้นผิวสามารถมีชีวิตรอดได้ถึง 28 วัน

องค์กรเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย (CSIRO) ทำการเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยลงในวารสารไวรัสวิทยา เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ SARS-CoV-2 ที่เป็นต้นเหตุของโรคโควิด-19 พบว่าเชื้อไวรัสที่เกาะอยู่บนพื้นผิว เช่น ธนบัตร หน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือสเตนเลส สามารถมีชีวิตรอดได้ถึง 28 วัน และยังทำให้เกิดการติดเชื้อได้

ตามปกติแล้วเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จะแพร่ระบาดผ่านการไอ จาม หรือพูดคุยระหว่างบุคคล ซึ่งผลวิจัยที่ออกมาทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางรายตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 จากการสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ว่ามีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนในชีวิตจริง

ทางด้านนักวิจัยจาก CSIRO เปิดเผยว่าเชื้อไวรัสนั้นมีความแข็งแกร่งสูงมากกว่าที่เราคิด โดยมันสามารถมีชีวิตรอดบนพื้นผิวเรียบ เช่น หน้าจอโทรศัพท์มือถือ พลาสติก หรือธนบัตรได้ถึง 28 วัน หากสิ่งของนั้น ๆ ถูกเก็บอยู่ภายในห้องมืดที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซลเซียส ต่างกันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่เมื่อเปรียบเทียบแล้วมันสามารถรอดอยู่บนพื้นผิวดังกล่าวภายใต้สถานการณ์เดียวกันได้เพียงไม่เกิน 17 วัน

วิจัยฉบับนี้ยังระบุอีกว่า เชื้อ SARS-CoV-2 สามารถมีชีวิตรอดได้น้อยกว่าในภาวะที่มีระดับอุณหภูมิสูง และจะหยุดการแพร่เชื้อภายใน 24 ชั่วโมง หากมันติดอยู่บนพื้นผิวบางอย่างท่ามกลางอุณหภูมิที่สูงถึง 40 องศาเซลเซียส และพวกมันยังมีชีวิตรอดได้น้อยกว่าหากติดอยู่ในวัตถุที่มีรูพรุน เช่น ผ้าฝ้าย ซึ่งจากการวิจัยตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีไวรัสที่เกาะติดวัตถุที่มีพื้นผิวในลักษณะที่กล่าวมา

ทางด้าน ศ.โรนัลด์ เอ็คเคิลส์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคหวัดของมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ได้วิจารณ์ผลการศึกษาวิจัยชิ้นนี้ว่า การระบุว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้สามารถอยู่รอดบนพื้นผิวได้นานถึง 28 วัน ถือเป็นการก่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนโดยไม่จำเป็น เพราะไวรัสนั้นแพร่กระจายบนพื้นผิวจากเมือกที่เกิดจากการไอจามและจากมือที่สกปรก และการศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้ใช้เมือกสดของมนุษย์เป็นพาหะในการแพร่กระจายไวรัส

แต่มันสามารถมีชีวิตรอดได้น้อยกว่าในภาวะที่มีอุณหภูมิสูง

ในขณะที่เอกสารวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัตเจอร์สที่เผยแพร่ในวารสาร The Lancet เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาชี้ว่า โอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสผ่านพื้นผิวที่ไม่มีชีวิตนั้นมีน้อยมาก

และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โมนิกา คานธี ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าวว่า ไวรัสโคโรนาไม่ได้แพร่กระจายผ่านพื้นผิว