Site icon Motherhood.co.th Blog

โควิดสายพันธุ์เอปซิลอน เชื้อกลายพันธุ์ที่สหรัฐกำลังจับตา

โควิดสายพันธุ์เอปซิลอนระบาด

โควิดกลายพันธ์ุสายพันธุ์เอปซิลอนได้กำเนิดขึ้นแล้ว

โควิดสายพันธุ์เอปซิลอน เชื้อกลายพันธุ์ที่สหรัฐกำลังจับตา

การแพร่ระบาดของเชื้อ “โควิดสายพันธุ์เอปซีลอน” เป็นสิ่งที่หน่วยงานสาธารณสุขของสหรัฐยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น ซึ่งมีผลการศึกษาบ่งชี้ว่ามันสามารถลดประสิทธิภาพของวัคซีนชนิด mRNA ส่งผลให้วัคซีนไฟเซอร์-โมเดอร์นา มีประสิทธิภาพลดลงถึง 2-3.5 เท่าตัวเลยทีเดียวค่ะ

ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เอปซิลอน

สายพันธุ์นี้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนชนิด mRNA 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าแม้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) จะลดระดับความรุนแรงของเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ ‘เอปซีลอน’ หรือ ‘เอปไซลอน’ (Epsilon) ซึ่งพบครั้งแรกในรัฐแคลิฟอร์เนียตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว ออกจากบัญชีสายพันธุ์น่าวิตกกังวลลงมาอยู่ที่สายพันธุ์น่าจับตา (VOI) เนื่องจากพบผู้ป่วยสายพันธุ์ดังกล่าวลดลงในรอบสัปดาห์ล่าสุด และหันไปเพิ่มการจับตากับสายพันธุ์เดลตาแทน ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดีย และปัจจุบันแพร่กระจายไปแล้วในทั้ง 50 รัฐของอเมริกา แต่เว็บไซต์นิตยสาร Science เผยแพร่งานวิจัยในสหรัฐฯ เกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เอปซีลอน โดยชี้ว่าไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ทำให้มีฤทธิ์หลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนชนิด mRNA อันได้แก่ วัคซีนของไฟเซอร์ (Pfizer) และโมเดอร์นา (Moderna)

งานวิจัยชิ้นนี้ทำการทดลองโดยนำพลาสมาของอาสาสมัครที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์และโมเดอร์นาครบทั้งสองเข็มแล้ว มาทดสอบประสิทธิภาพกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เอปซีลอน ซึ่งผลที่ออกมาพบว่า วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นามีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อสายพันธุ์เอปซีลอนลดลง 2-3.5 เท่าตัวเมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ ทีมวิจัยชี้ว่า สาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนไฟเซอร์กับโมเดอร์นาลดลง เนื่องจากไวรัสสายพันธุ์เอปซีลอนมีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรมที่โปรตีนหนาม 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณ S13I W152C และ L452R

ไวรัสสายพันธุ์อื่นที่น่าจับตา

นักวิจัยยังติดตามการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เดลต้าที่เรียกว่าเดลต้าพลัส ซึ่งเพิ่งค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ในอินเดีย ดร. เจเรมี คามิล นักไวรัสวิทยาและรองศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาที่ Louisiana State University กล่าวว่า “เดลต้าพลัเป็นเพียงรูปแบบสั้น ๆ สำหรับเดลต้าที่มีการกลายพันธุ์เพียงครั้งเดียว” ซึ่งมันสามารถทำให้ไวรัสผ่านการป้องกันของแอนติบอดีได้ง่ายขึ้น

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์เดลต้าพลัว มีผู้ป่วยเท่าที่ทราบประมาณ 200 ราย ใน 10 กว่าประเทศ นอกจากนั้น ยังมีสายพันธุ์แกมมาหรือ P.1 ที่ตรวจพบในบราซิลแต่แรก และขณะนี้กำลังเพิ่มขึ้นในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

ดร. สก็อตต์ ลินด์ควิสต์ รักษาการแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐวอชิงตัน กล่าวว่า “ันมีประสิทธิภาพเหนือกว่าสายพันธุ์อัลฟาและเดลต้า และทั้งประเทศยังไม่เห็นถึงสิ่งนี้ หลายพื้นที่ในประเทศของเราเห็นสายพันธุ์แกมมา ซึ่งมีอัตราการรักษาในโรงพยาบาลสูงสุดในบรรดาสายพันธุ์ทั้งหมดที่เรามี”

ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันการพบเชื้อเอปซีลอน B.1.427/B.1.429 อย่างน้อยใน 34 ประเทศ ส่วนเชื้อเดลตา B.16172 ซึ่งจัดเป็นสายพันธุ์น่าวิตกังวล พบแล้วอย่างน้อยใน 95 ประเทศ

สุดท้ายแล้วเราก็ฝากความหวังไว้ที่ระบบภูมิคุ้มกันหมู่

แนวโน้มที่จะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าพื้นที่ที่มีผู้คนจำนวนมากที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น และมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นตามไปด้วย “ทุกครั้งที่ไวรัสแพร่ระบาดไปยังผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน มันมีโอกาสที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลง และปรับแต่งสูตรของมัน” คามิลกล่าว “และเมื่อคุณปล่อยให้มันเคลื่อนที่ไปในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน นั่นเป็นวิธีที่คุณจะได้รับสายพันธุ์ใหม่”

“ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น แคลิฟอร์เนีย ผู้ไม่ได้รับวัคซีนจะพลอยได้รับการคุ้มครองจากการฉีดวัคซีนที่แพร่ออกไปในระดับสูง” เขาอธิบาย “นั่นคือวิธีของการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่เราเชื่อกันว่าจะได้ผล”

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th