Site icon Motherhood.co.th Blog

ติด “โรคหูดับ” จนเสียชีวิต เพราะมือเป็นแผลแล้วไปหั่นหมู

โรคหูดับถึงตาย

ติดโรคหูดับถึงตาย! เพราะหั่นหมูตอนที่มือมีแผล

ติด “โรคหูดับ” จนเสียชีวิต เพราะมือเป็นแผลแล้วไปหั่นหมู

ความน่ากลัวของ “โรคหูดับ” กลับเข้ามาในสังคมไทยอีกครั้ง เมื่อล่าสุดอาจารย์สาววัย 49 ปี ป่วยด้วยโรคไข้หูดับจนเสียชีวิต หลังซื้อเนื้อหมูมาทำหมูกระทะ และพบว่าได้หั่นหมูโดยที่มีแผลบนมือ ทำให้เชื้อเข้าไปในกระแสเลือด ทางแพทย์ได้ออกมาเตือนไว้อย่างไร รายละเอียดของโรคนี้มีอะไรบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

ติดโรคหูดับจนถึงตาย

งานระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลกว่า พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หูดับจำนวน 1 ราย เป็นเพศหญิงอายุ 49 ปี ในพื้นที่ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ทีม PCC ของโรงพยาบาลพุทธชินราช ได้เข้าดำเนินการสอบสวนโรคในพื้นที่เพื่อแจ้งผลยืนยันการระบาดของโรคและหามาตรการป้องกันควบคุมโรคแล้ว

จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า ผู้ป่วยได้มีการซื้อเนื้อหมูจากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เพื่อมาประกอบอาหารปิ้งย่างหมูกระทะ ร่วมกับเพื่อน ๆ อีก 7 คน เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยที่ผู้เสียชีวิตซึ่งมีแผลที่มือรับหน้าที่หั่นหมู

ในเนื้อหมูจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ หากสัมผัสสารคัดหลั่งหรือรับประทานดิบ ๆ ก็อาจติดเชื้อ

จากนั้น วันที่ 14 มิถุนายน เวลา 23.00 น. ผู้เสียชีวิตเริ่มมีอาการท้องเสีย อาเจียน จึงได้เข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก รวมทั้งมีอาการปวดกระดูก หนาวสั่น ปากเขียว โดยเข้ารักษาที่ห้องไอซียู จากนั้นพบว่าร่างกายไม่ตอบสนองและไตไม่ทำงาน ก่อนที่จะเสียชีวิตในเวลา 23.58 น. ของวันที่ 15 มิถุนายน ทางแพทย์สงสัยว่าผู้เสียชีวิตเป็นโรคไข้หูดับ จึงนำเลือดส่งตรวจ ผลตรวจยืนยันว่าเป็นโรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) หรือโรคไข้หูดับ ซึ่งได้มีการฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา

หลังจากนั้น ทีมสอบสวนจากโรงพยาบาลพุทธชินราชได้ลงพื้นที่สอบสวนโรคเพิ่มเติมพบว่า จากการตรวจสอบที่ห้าง ฯ ดังกล่าว มีการรับหมูแช่แข็งมาจาก 4 บริษัท โดยเป็นหมูที่มาจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จัดเก็บสินค้าในห้องควบคุมอุณหภูมิ และมีการตรวจมาตรฐานสม่ำเสมอ

ค้นพบโรคไข้หูดับ

มีการรายงานผู้ป่วยติดเชื้อขึ้นครั้งแรกในประเทศเดนมาร์ก เมื่อปีพ.ศ. 2511 หลังจากนั้นก็พบผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่นิยมเลี้ยงสุกรกันอย่างหนาแน่น

ต่อมาในปีพ.ศ. 2548 เกิดการระบาดครั้งใหญ่เกิดขึ้นในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีผู้ป่วยติดเชื้อจำนวน 215 ราย เสียชีวิต 38 ราย โดยประวัติผู้ป่วยส่วนใหญ่พบว่าสัมผัสกับสุกรที่ติดเชื้อ รวมถึงเนื้อหมูที่มาจากสุกรเหล่านั้น อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่พบ คือ ติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะเยื่อหุ้มสมองอับเสบ และภาวะช็อค

รู้จักกับโรคไข้หูดับ

โรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) เป็นโรคที่เกิดในสุกร เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปกติมีอยู่ในสุกรเกือบทุกตัว เชื้อเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในต่อมทอนซิลของสุกร แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรค แต่เมื่อสุกรมีร่างกายอ่อนแอ เครียด หรือป่วย โรคจะไปกดภูมิคุ้มกัน ทำให้แบคทีเรียตัวนี้เพิ่มจำนวนขึ้นมา จนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และทำให้สุกรป่วยจนถึงตายได้

เชื้อโรคนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้ 2 ทาง คือ

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร มีโอกาสสัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่ทำงานในโรงงานชำแหละ

ผู้ที่ทำงานในฟาร์มสุกรและโรงชำแหละ เป็นกลุ่มที่เสี่ยงสูง

อาการของผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะเกิดอาการ ดังนี้

เมื่อเชื้อได้เข้าสู่เยื่อหุ้มสมองและกระแสเลือด จะเกิดอาการ ดังนี้

เชื้อจากเยื่อหุ้มสมองสามารถลุกลามไปยังประสาทหูชั้นในที่อยู่ใกล้กันได้ จึงทำให้เกิดอาการ ดังนี้

อาการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ผู้ป่วยจะเสียการได้ยิน และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ก่อนจะรับประทานหมู ต้องมั่นใจว่าสุกทั่วถึง

การป้องกันโรค

ในช่วงนี้มียอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากขึ้น แม้จะสามารถออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านกันได้แล้ว แต่หลาย ๆ ครอบครัวก็อาจจะรู้สึกว่ายังไม่ปลอดภัยพอ เลยเลือกที่จะทำอาหารรับประทานกันเองในบ้าน ถึงอย่างไรก็ต้องระวังโรคที่มากับเนื้อสัตว์ไว้ด้วยนะคะ ต้องเลือกซื้อเนื้อสัตว์ให้ดี และมั่นใจว่ามือเราไม่มีบาดแผลหรือรอยถลอกเมื่อประกอบอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเนื้อหมู เพราะโรคไข้หูดับนี่อันตรายจริง ๆ ค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th