Site icon Motherhood.co.th Blog

เมื่อลูกน้อยเป็น “โรคเท้าปุก”

รู้จักโรคเท้าปุก

โรคเท้าปุก หากไม่รักษาแต่เนิ่น ๆ เด็กอาจเดินผิดปกติ

เมื่อลูกน้อยเป็น “โรคเท้าปุก”

คุณพ่อคุณแม่หลายคนที่เห็นว่าเท้าของลูกผิดปกติ เช่นเป็น “โรคเท้าปุก” หรืออาการอื่นจำพวกเท้าแป ก็คงจะเกิดความกังวลไม่น้อยว่าลูกเราจะเดินได้ปกติหรือไม่เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะถึงขั้นพิการหรือเปล่า และจะมีวิธีรักษาได้อย่างไร วันนี้ Motherhood เลยจะขอพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

โรคเท้าปุกจัดเป็นความผิดปกติที่เท้าซึ่งมักเกิดกับทารกตั้งแต่แรกเกิด ส่งผลให้มีเท้าบิดผิดรูปหรือผิดตำแหน่ง โดยอาจเกิดกับเท้าเพียงข้างเดียวหรือเกิดทั้ง 2 ข้างก็ได้ แพทย์มักแนะนำให้เด็กที่เป็นโรคนี้เข้ารับการรักษาทันทีหลังคลอด เพราะหากปล่อยไว้จนเด็กเข้าสู่วัยที่เริ่มยืนหรือเดินได้แล้ว อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงถึงขั้นไม่สามารถเดินได้ แต่เด็กส่วนมากสามารถหายเป็นปกติได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดแต่อย่างใด

ลักษณะของเท้าที่เป็นโรค หลังเท้าพลิกลงพื้น ส้นเท้าบิดเข้าด้านใน
อาการของโรคเท้าปุก

เด็กที่ป่วยจะมีลักษณะขาและเท้าที่ผิดปกติ ดังนี้

อย่างไรก็ตาม เท้าที่บิดและผิดรูปนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ กับเด็ก ถึงกระนั้นก็ควรให้เด็กได้รับการรักษาทันที มิฉะนั้นจะส่งผลกระทบต่อการยืนหรือการเดินในอนาคตได้

สาเหตุของโรค

เกิดจากการมีเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณเท้าที่สั้นกว่าปกติ ซึ่งทางการแพทย์ก็ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ก่อให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวได้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าเด็กที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อไปนี้ อาจมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กคนอื่น ๆ

การวินิจฉัยโรค

โดยปกติแล้วแพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการได้จากการสังเกตลักษณะผิดปกติของเท้าทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจต้องใช้การอัลตราซาวด์ตรวจดูลักษณะเท้าของทารกตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์ ดังนั้น เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์กับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน และไปพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากพบความผิดปกติใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับทารก ก็จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนรักษาได้แต่เนิ่น ๆ

ใส่เฝือกเพื่อดัดเท้าให้กลับเข้ามาในตำแหน่งปกติ

การรักษา

การรักษาสามารถทำได้ 2 วิธีหลัก ดังนี้

ภาวะแทรกซ้อน

เด็กที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่น ๆ มักสามารถยืนหรือเดินได้ตามปกติโดยไม่มีอาการอื่นแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม เด็กบางรายอาจประสบปัญหาเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวก หรือหารองเท้าที่พอดีกับเท้าได้ยาก เพราะเท้าข้างที่ผิดปกติมักมีขนาดเล็กกว่าเท้าข้างที่ปกติ

หากไม่รักษาให้ทันเวลา จะทำให้เดินผิดปกติไปตลอด

ส่วนเด็กที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงดังต่อไปนี้

เด็กบางคนอาจเกิดรู้สึกกังวลต่อภาพลักษณ์ของตนเองเนื่องจากการเดินที่ผิดปกติ จนอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจได้ในอนาคต

ป้องกันได้หรือไม่ ?

ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ได้ ดังนั้น การป้องกันงทำได้ค่อนข้างยาก แต่ผู้ตั้งครรภ์อาจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเท้าปุกของทารกในครรภ์ได้โดย หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่มือสอง รวมทั้งไม่เสพสารเสพติดต่าง ๆ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th