Site icon Motherhood.co.th Blog

พบ “ไมโครพลาสติก” ในรกเด็ก ส่งต่อได้จากแม่สู่ลูก

พบไมโครพลาสติกในรก

นักวิจัยพบไมโครพลาสติกในรกเด็กที่ส่งผลต่อทารกในครรภ์มารดา

พบ “ไมโครพลาสติก” ในรกเด็ก ส่งต่อได้จากแม่สู่ลูก

ล่าสุดมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่ามี “ไมโครพลาสติก” อยู่ในรกเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยพลาสติกดังกล่าวเป็นชนิด Polypropylene และเม็ดสีต่าง ๆ ที่เราสามารถพบได้ในบรรจุภัณฑ์ทั่วไป ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่และครอบครัวที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ต่างพากันกังวลถึงสุขภาพของทารกน้อยและคุณแม่กันยกใหญ่ เรามาติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยตัวนี้กันค่ะ ว่าไมโครพลาสติกที่พบนั้นส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ในรูปแบบใดบ้าง

งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environment International ศึกษาโดย Antonio Ragusa สูตินรีเวชของโรงพยาบาลในกรุงโรม รายงานว่าได้พบไมโครพลาสติกในรกเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยพลาสติกดังกล่าวเป็นพลาสติกชนิด Polypropylene รวมถึงเม็ดสีต่าง ๆ ซึ่งพบได้ในบรรจุภัณฑ์ทั่วไป

ในเบื้องต้น นักวิจัยยังไม่ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่แน่ชัด แต่ไมโครพลาสติกดังกล่าวว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาวหรือทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์ไม่ดี

งานวิจัยนี้เป็นของ Dr. Antonio Ragusa 

นักวิจัยจากโรงพยาบาล Fatebenefratelli ในกรุงโรมซึ่งเชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ และมหาวิทยาลัย Politecnica delle Marche กล่าวว่า “เมื่อมีพลาสติกอยู่ในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันที่จดจำตัวเองจะถูกรบกวน แม้กระทั่งสิ่งที่ไม่ใช่สารอินทรีย์”

“มันเหมือนกับการมีลูกเป็นไซบอร์กซึ่งไม่ได้ประกอบด้วยเพียงเซลล์ของมนุษย์อีกต่อไป แต่เป็นส่วนผสมของเอนทิตีทางชีวภาพและเอนทิตีอนินทรีย์” ผู้นำคณะวิจัย Antonio Ragusa หัวหน้าแผนกสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาของ Fatebenefratelli กล่าวว่า “บรรดาคุณแม่ตกใจกันมาก”

จากการตรวจรกจำนวน 4 จาก 6 ชิ้นที่ได้รับบริจาคมาจากหญิงตั้งครรภ์ พบไมโครพลาสติก 12 ชิ้น ทั้งจากในรกของฝั่งตัวเด็กและฝั่งคุณแม่ รวมถึงภายในเยื่อบุผิวที่ทารกได้รับการพัฒนา ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์เพียง 4% จากรกทั้งหมดเท่านั้น และหากมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมอาจพบจำนวนไมโครพลาสติกอีกจำนวนมากก็เป็นได้ ซึ่งไมโครพลาสติกส่วนใหญ่มีขนาด 10 ไมครอน (0.01 มม.) หมายความว่าพวกมันมีขนาดเล็กพอที่จะนำเข้าสู่กระแสเลือดได้

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของไมโครพลาสติกต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ การเติบโตของทารกในครรภ์ที่ลดลง นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าไม่พบอนุภาคในรกจากผู้หญิงอีกสองคน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสรีรวิทยา อาหาร หรือวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน

Dr. Ragusa กล่าวว่า “เมื่อผมเห็นไมโครพลาสติกในรกเป็นครั้งแรก ผมเองก็ประหลาดใจมาก”

งานวิจัยชิ้นนี้ยังสอดคล้องกับการทดลองก่อนหน้าที่ให้หนูตั้งครรภ์สูดดมไมโครพลาสติกเข้าไป และพบว่ามันส่งผลกระทบต่อตับ ปอด หัวใจ ไต และสมองของทารกหนูที่อยู่ในครรภ์

ไมโครพลาสติกมีขนาด 10 ไมครอน หรือ 0.01 มม. เท่านั้น

งานวิจัยกล่าวว่าพลาสติกทั้งหมดมีสี 3 ชนิดถูกระบุว่าเป็นโพลีโพรพีลีนที่ย้อมสีเป็นพอลิเมอร์เทอร์โมพลาสติก ในขณะที่อีก 9 ชนิดสามารถระบุได้เฉพาะสี ซึ่งทั้งหมดใช้สำหรับการเคลือบสีที่มนุษย์สร้างขึ้น สี กาว พลาสเตอร์ โพลีเมอร์ และเครื่องสำอาง ซึ่งนักวิจัยคาดว่าคุณแม่อาจได้รับไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กเพียง 10 ไมครอน จากบรรจุภัณฑ์ของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ขนาดของไมโครพลาสติกนี้เล็กเพียงพอที่จะทำให้พวกมันหลุดรอดเข้าสู่กระแสเลือด และถูกส่งต่อไปสู่ทารกได้ ภายในเซลล์ของมนุษย์ ไมโครพลาสติกจะถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นโฮสต์ และสิ่งนี้สามารถกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะที่

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาการผลิตพลาสติกทั่วโลกมีมากถึง 320 ล้านตันต่อปี และกว่าร้อยละ 40 ถูกใช้เป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวจึงส่งผลอย่างมากต่อระดับขยะพลาสติก

ไมโครพลาสติกยังสามารถทำหน้าที่เป็นพาหะสำหรับสารเคมีอื่น ๆ รวมถึงสารที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสารเติมแต่งพลาสติก ซึ่งอาจถูกปล่อยออกมาและเป็นที่ทราบกันดีว่ามีผลกระทบที่เป็นอันตราย

หลังจากนักวิจัยค้นพบไมโครพลาสติกดังกล่าว พวกเขาจึงสร้างข้อกำหนดในการทำคลอดของโรงพยาบาลกรุงโรม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้จะไม่ถูกส่งต่อไปยังทารกขณะคลอด โดยผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้ถุงมือผ้าฝ้ายขณะทำคลอด รวมถึงใช้ผ้าขนหนูคลุมเตียง และสายสะดือจะต้องถูกตัดด้วยปัตตาเลี่ยนที่ทำจากโลหะ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับวัสดุพลาสติกประเภทอื่น ๆ

ผู้วิจัยกล่าวว่า “เนื่องจากรกมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนพัฒนาการของทารกในครรภ์ และในการทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างสิ่งแวดล้อมภายใยและภายนอก การปรากฏตัวของอนุภาคพลาสติกจากภายนอกอาจเป็นอันตราย จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก

ไมโครพลาสติกพบได้ตามสิ่งของที่เราใช้ประจำวัน เช่น สี กาว สารเคลือบบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ 

Andrew Shennan ศาสตราจารย์ด้านสูติศาสตร์จาก King’s College London กล่าวกับ Daily Mail ว่าเขามั่นใจได้ว่าทารกในการศึกษาวิจัยนี้มีการคลอดตามปกติ แต่เห็นได้ชัดว่าไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมในขณะที่ทารกกำลังพัฒนา

Elizabeth Salter Green จาก Chem Trust องค์กรการกุศลเคมีกล่าวว่า “ทารกเกิดมาแบบปลอดการปนเปื้อนมลพิษ การศึกษานี้มีขนาดเล็กมาก แต่อย่างไรก็ตามยังคงเป็นข้อกังวลที่น่าเป็นห่วงมากอยู่ดี”

และในเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มได้เปิดเผยว่าทารกที่กินนมชงในขวดพลาสติกกำลังกลืนกินอนุภาคหลายล้านชิ้นต่อวัน ส่วนในปี 2019 นักวิจัยรายงานการค้นพบอนุภาคมลพิษทางอากาศที่ด้านข้างรกของทารกในครรภ์ ซึ่งบ่งชี้ว่าทารกในครรภ์ยังได้สัมผัสกับอากาศสกปรกที่เกิดจากการสัญจรของยานยนต์และการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยเช่นกันกับเรา

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th