Site icon Motherhood.co.th Blog

กระดูกสันหลังคด เพราะสะพายกระเป๋านักเรียนหนัก

กระดูกสันหลังคดเพราะกระเป๋านักเรียน

การสะพายกระเป๋านักเรียนที่หนักเกินไปอาจเป็นตัวการทำกระดูกสันหลังคด

กระดูกสันหลังคด เพราะสะพายกระเป๋านักเรียนหนัก

ในช่วงไม่กี่วันมานี้ มีข่าวหนึ่งที่เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ในบ้านเราคือ เด็กอายุ 14 มีอาการ “กระดูกสันหลังคด” โดยแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นเพราะสะพายกระเป๋านักเรียนที่หนักเกินไปมานาน ข่าวนี้สร้างความกังวลและความตกใจแก่ผู้ปกครองได้มากพอสมควร รวมทั้งเกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง ว่าเด็กนักเรียนไทยสะพายกระเป๋านักเรียนที่หนักเกินพอดีมาเป็นเวลานานแล้วหรือไม่ การสะพายกระเป๋าหนักเกินพอดีจะส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังได้มากแค่ไหน หากลูกเริ่มมีอาการปวดหลังให้เห็นบ้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีป้องกันไม่ให้อาการทรุดลงกว่าเดิมได้อย่างไร ต้องติดตามกันในบทความตอนนี้ค่ะ

เด็กนักเรียนแบกกระเป๋าหนักจนส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลัง

กระเป๋านักเรียนใบโต อันตรายต่อลูกที่พ่อแม่คาดไม่ถึง

ภาพของเด็กนักเรียนตัวเล็กๆที่สะพายกระเป๋านักเรียนใบโตจนหลังโก่ง เป็นภาพที่ผู้ใหญ่แบบเราๆต่างก็เห็นกันจนชินตา แต่กลับไม่มีใครผลักดันให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังเสียที ในวันหนึ่งเด็กจะต้องเรียนประมาณ 7-8 วิชา เท่ากับว่าพวกเขาจะต้องแบกหนังสือไปอย่างน้อย 7 เล่ม ยังไม่รวมสมุดจด ชีท และอย่างอื่นๆอีกมากมาย ผลกระทบจากการที่เด็กต้องสะพายกระเป๋านักเรียนหนักเกินเหตุมักทำให้เด็กๆเกิดอากการปวดเมื่อยที่หลัง โดยเด็กผู้หญิงอาจจะมีอาการปวดได้มากกว่าเด็กผู้ชาย

ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลจากมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคก่อนหน้านี้ที่ระบุว่าในเด็กนักเรียนระดับชั้น ป.1 ป.2 และ ป.3 ไม่ควรจะต้องแบกกระเป๋านักเรียนที่หนักเกินร้อยละสิบของน้ำหนักตัวเด็กเอง แต่ประมาณ 80% ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษายังคงใช้กระเป๋านักเรียนที่มีน้ำหนักเกินร้อยละยี่สิบของน้ำหนักตัว ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่วิกฤตมาก

นักเรียนไทยส่วนใหญ่จะใช้กระเป๋าประเภทสะพายหลัง ทำให้น้ำหนักของกระเป๋ากดทับโดยตรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอ ไหล่ หลัง และกระดูกสันหลัง ทำให้เด็กประมาณ 29% มีอาการปวดคอ ไหล่ หลัง หรือแม้กระทั่งอาการปวดศีรษะ หากไม่ได้รับการดูแล การกดทับของน้ำหนักกระเป๋าจะลงไปสู่กระดูกสันหลังของเด็กและหมอนรองกระดูก ทำให้กระดูกสันหลังคดงอ และอาจจะเกิดปัญหาเพิ่มได้หากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ส่งเกิดผลเสียต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสุขภาพของนักเรียนต่อไปในอนาคต

เด็กที่แบกกระเป๋าหนักเกินไปอาจส่งผลให้กระดูกสันหลังมีปัญหาได้

ปัญหานี้เป็นสิ่งที่พ่อแม่จะนิ่งนอนใจไม่ได้เลย ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังและข้อหลายต่อหลายคนได้ลงความเห็นตรงกันว่าการสะพายกระเป๋านักเรียนหนักๆสามารถส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกสันหลังของเด็กได้จริง หากต้องสะพายกระเป๋าหนักๆไปโรงเรียนทุกวัน อาจทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามมาได้ นอกจากนั้นแล้วยังมีความเสี่ยงต่ออาการปวดหลังเรื้อรัง และส่งผลต่อรูปร่างของกระดูกสันหลังในอนาคติได้อีกด้วย

โดยมีการศึกษาชัดเจนพบว่า หากมีอาการปวดหลังตั้งแต่ตอนอายุยังน้อย เมื่อโตขึ้นไปอาการปวดหลังจะเกิดแบบเรื้อรังได้ โดยในต่างประเทศนั้น ผู้ที่ปวดหลังแบบเรื้อรัง เช่น ผู้ใหญ่ในวัยแรงงานก็มีปัญหาเดียวกันนี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็กหรือเมื่อเป็นวัยรุ่น ยิ่งถ้าแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากเกินกว่า 20% ของน้ำหนักตัวแล้วละก็ จะเห็นได้เลยว่ากระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกจะเกิดความคดงอที่ผิดปกติออกไป

การที่เด็กๆต้องแบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินจำเป็นนั้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพกระดูกสันหลังของพวกเขาเองโดยตรงแต่เพียงอย่างเดียว แต่มันยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กด้วย ถึงแม้จะไม่มากนัก แต่การที่เด็กสะพายกระเป๋าหนักๆเป็นประจำ กล้ามเนื้อทั้งที่ไหล่และบริเวณเอวจะเมื่อยล้า เป็นไปได้ที่สมาธิในการเรียนรู้ของเด็กจะลดลง

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านยังแสดงความเป็นห่วงถึงปัญหานี้ และเรียกร้องว่าควรมีหน่วยงานมาดูแลอย่างจริงจัง โดยเฉพาะทางโรงเรียนเองที่ควรเข้ามามีส่วนช่วยเหลือ โดยหาตู้หรือโต๊ะไว้เพื่อให้เด็กเก็บสัมภาระและหนังสือ รวมถึงควรสอนให้เด็กจัดตารางสอนให้พอดี และนำแต่ของที่จำเป็นใส่กระเป๋าไปโรงเรียนเท่านั้น

ก้นกระเป๋าสะพายไม่ควรอยู่ต่ำกว่าเอว

แนวทางแก้ไขปัญหากระเป๋านักเรียนหนัก

สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานี้ ทางศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้เป็นทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา ดังนี้

หากผู้ใหญ่ยังไม่รีบหาทางแก้ปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม เด็กๆของเราอาจจะมีปัญหาความเสี่ยงด้านสุขภาพตามมาในอนาคต และนั่นหมายถึงว่าคุณภาพชีวิตของพวกเขาก็จะด้อยตามไปด้วย

หากลูกมีอาการปวดหลังหรือสังเกตอาการผิดปกติให้รีีบพบแพทย์

น้ำหนักของกระเป๋านักเรียนควรอยู่ที่เท่าไหร่แน่

ในต่างประเทศ มีการกำหนดน้ำหนักของกระเป๋านักเรียนที่เหมาะสม คือที่ร้อยละ 10-20 ของน้ำหนักตัวเด็ก แต่เด็กไทยเราตัวเล็กกว่า จึงควรลดลงมาอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัวเด็ก ตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนอายุ 7 ปี มีน้ำหนักมาตรฐานประมาณ 22.5 กิโลกรัม ดังนั้นกระเป๋านักเรียนรวมกับของภายในไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 3.375 กิโลกรัม

ทางแก้หากไม่สามารถลดน้ำหนักของสิ่งที่จะต้องนำไปโรงเรียนได้ ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้กระเป๋าที่มีล้อลากแทน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้หยุดพักบ้าง และต้องจัดกระเป๋าไม่ให้น้ำหนักเทไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป อีกทั้งต้องใช้สายทั้งสองข้างในการสะพายกระเป๋าด้วย

เลือกกระเป๋าสะพายให้ลูกอย่างไร

คำแนะนำในการเลือกซื้อกระเป๋าสะพายหลังมีดังนี้

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกผิดปกติไหม

เริ่มจากให้ลูกถอดเสื้อ ไม่ใส่รองเท้า และยืน แล้วสังเกตว่าไหล่และสะโพกทั้งสองข้างอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่ ดูแนวกระดูสันหลังของลูกว่าคดหรืองอไหม ถ้าผิดปกติหรือลูกมาบ่นให้ฟังบ่อยว่าปวดหลัง ก็สมควรไปพบแพทย์ เพราะนอกจากอาการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง กระดูกสันหลังคด และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแล้ว การสะพายกระเป๋าหนักยังมีส่วนทำให้การทำงานของปอดลดลงได้เช่นกัน

เรื่องการสะพายกระเป๋านักเรียนที่หนักเกินไปของลูกเป็นอีกภัยเงียบที่พ่อแม่อาจจะมองไม่เห็น และไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร หากปล่อยจนเคยชินจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่เรื้อรังสำหรับลูกได้ อย่าปล่อยให้หลังของลูกเสียและมีผลกระทบต่อเขาในวัยผู้ใหญ่เลยนะคะ รีบดูแลหลังของลูกตั้งแต่วันนี้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th