Site icon Motherhood.co.th Blog

“การเรียนออนไลน์” กับปัญหาสุขภาพเด็ก ที่พ่อแม่หาทางแก้ไข

การเรียนออนไลน์กับสุขภาพเด็ก

การเรียนออนไลน์อาจส่งผลต่อปัญหาเรื่องสุขภาพของเด็กได้โดยตรง

“การเรียนออนไลน์” กับปัญหาสุขภาพเด็ก ที่พ่อแม่หาทางแก้ไข

จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในทุกวันนี้ ส่งผลให้โรงเรียนหลายแห่งต้องสั่งปิดการเรียนการสอน ณ ที่โรงเรียน แล้วให้เด็กเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน แม้ว่าการเรียนออนไลน์จะมีข้อดีคือช่วยลดความเสี่ยงของการติดโรคระบาด แต่ก็ส่งผลเสียในเรื่องของการศึกษาที่เด็กจะเรียนรู้ได้ไม่เต็มที่เท่าในห้องเรียน รวมถึงส่งผลต่อปัญหาเรื่องสุขภาพของเด็กโดยตรงด้วย

 เรียนออนไลน์ส่งผลต่อสุขภาพเด็กอย่างไรบ้าง ?

พวกเราในฐานะผู้ใหญ่วัยทำงานคงจะทราบกันดีว่าการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวันนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพฉันใด เมื่อเด็กต้องมาเรียนออนไลน์ผ่านอุปกรณ์สื่อต่าง ๆ นั้นก็เหมือนกับการทำลายสุขภาพของเด็กก่อนวัยอันควรฉันนั้น ไม่ว่าจะเป็น

จะเห็นได้ว่าการเรียนออนไลน์มีแนวโน้มต่อปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กเป็นอย่างมาก แม้ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนี้อาจจะยังไม่สามารถกลับมาเรียนได้ตามปกติ แต่เราในฐานนะผู้ปกครองสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยการหากิจกรรมทำร่วมกับเด็กมากขึ้น หรืออาจวางแผนทำประกันสุขภาพเด็กเพื่อแบ่งเบาค่ารักษาในอนาคตก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน

 โรคภัยต่าง ๆ ที่อาจมาพร้อมการเรียนออนไลน์

เมื่อเด็กต้องอยู่ในสภาวะนั่งเรียนเป็นเวลานาน ขาดการออกกำลังกายและการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนย่อมทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ส่งผลให้ภูมิต้านทานต่อเชื้อโรครอบตัวต่ำ ซึ่งเด็กหลายคนมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ไข้หวัด โรคภูมิแพ้ ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วนการเรียนออนไลน์เป็นเวลานานจนทำให้รับประทานอาหารไม่ตรงเวลาก็อาจทำให้เป็นโรคกระเพาะได้เช่นกัน สำหรับผู้ปกครองที่ทำประกันสุขภาพเด็กก็อาจจะหมดห่วงในจุดนี้น้อยลงได้บ้าง นอกจากนี้โรคซึมเศร้าก็ยังเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ด้วยเพราะขาดการทำกิจกรรมทางร่างกายที่จะคอยปลดปล่อยเอ็นดอร์ฟิน 

แนวทางที่พ่อแม้ต้องแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กจากการเรียนออนไลน์?

จากที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นว่าการเรียนออนไลน์นั้นส่งผลต่อสุขภาพเด็กอย่างไรบ้าง เพื่อให้เด็กได้มีสุขภาพที่ดีและมีพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างปกติ ผู้ปกครองควรปฏิบัติดังนี้

  1. หาเวลาว่างส่งเสริมทำกิจกรรมระหว่างครอบครัว โดยเฉพาะการกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายอย่างการเล่นกีฬา การท่องเที่ยว การออกกำลังกาย เพื่อให้เด็กมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงไม่เสี่ยงต่อโรคภัย
  2. ฝึกให้เด็กทำกายบริหารระหว่างการเรียน เพื่อลดอาการกล้ามเนื้อเมื่อยล้า
  3. จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมต่อการเรียน เพื่อให้เด็กมีสมาธิมากยิ่งขึ้น
  4. คอยอยู่เคียงข้าง รับฟัง และเป็นที่ปรึกษา ไม่ให้เด็กเครียดจนเกินไป

และที่สำคัญคือพ่อแม่ของเด็กต้องเตรียมแผนรับมือกับโรคภัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเด็กเอง เมื่อมีอาการเจ็บป่วยก็ต้องมีการรักษา ซึ่งการรักษาโรคย่อมมีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าผู้ปกครองไม่ได้เตรียมเงินสำรองไว้อย่างเพียงพอก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินโดยตรง 

ดังนั้น การเลือกทำประกันสุขภาพเด็กอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากได้ความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาล เมื่อเด็กเจ็บป่วยเป็นโรคหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุก็วางใจได้เพราะผู้ปกครองไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษา อีกทั้งยังถือว่าคุ้มค่าเพราะเด็กเป็นวัยที่เจ็บป่วยบ่อย การซื้อประกันสุขภาพเด็กจึงเป็นการวางแผนการเงินที่จ่ายเบี้ยเพียงนิดเดียวแต่ให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่านั่นเอง