Site icon Motherhood.co.th Blog

7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “การแพ้อาหารของเด็ก”

ความเข้าใจผิดต่อการแพ้อาหารของเด็ก

7 ความเข้าใจผิดที่เรายังมีเกี่ยวกับการแพ้อาหารของเด็ก

7 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “การแพ้อาหารของเด็ก”

“การแพ้อาหารของเด็ก” อาจถึงตายได้ ดังนั้น การรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแพ้อาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อได้รับแจ้งเหตุ คุณก็จะสามารถช่วยให้เด็ก ๆ ของคุณเองหรือของผู้อื่นปลอดภัย

เด็กมากกว่า 5 ล้านคนมีอาการแพ้อาหาร (นั่นคือประมาณ 2 คนในทุกห้องเรียน) และแม้ว่าจะไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าทำไม แต่อัตราก็เพิ่มขึ้นตลอด ยังมีข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับการแพ้อาหารอยู่มาก และบางส่วนก็ทำให้ชีวิตของเด็ก ๆ ตกอยู่ในความเสี่ยง เรามาหักล้างความเชื่อผิด ๆ บางอย่างกันดีกว่า เพราะการรู้ข้อเท็จจริงเป็นสิ่งสำคัญและยังสามารถช่วยชีวิตคน ๆ หนึ่งได้

ความเชื่อที่ #1: คุณควรหลีกเลี่ยงการให้อาหาร เช่น ถั่วลิสง ปลา และไข่ จนกว่าลูกของคุณจะยังเป็นเด็กวัยเตาะแตะหรือเด็กก่อนวัยเรียน
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้เด็กลองอาหารที่มีแนวโน้มว่าจะแพ้

ความจริง: คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากงานวิจัยใหม่แสดงให้เห็นว่าการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในอาหารทั่วไปตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยปกป้องเด็กจากการเป็นโรคภูมิแพ้ได้จริง ขอแนะนำว่าเด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพ้ถั่วลิสง เนื่องจากการแพ้ไข่หรือโรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) ควรได้รับโปรตีนถั่วลิสงในช่วง 4-6 เดือน หากทำการทดสอบการแพ้ได้ผลเป็นลบ (ด้วยคำแนะนำและการดูแลของแพทย์) สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกายังให้ไฟเขียวแก่อาหาร เช่น ปลาและไข่ เมื่อทารกเริ่มกินอาหารแข็งได้ พูดคุยกับกุมารแพทย์ของคุณเสมอเกี่ยวกับประวัติของบุตรหลานของคุณ ก่อนที่จะให้ถั่วลิสงหรือสารก่อภูมิแพ้ทั่วไปอื่น ๆ

ความเชื่อผิดๆ #2: การแพ้อาหารคงอยู่ตลอดไป

ความจริง: แม้ว่าการแพ้ถั่วลิสง พืชตระกูลถั่ว ปลา และหอย มักจะเกิดได้ตลอดชีวิต แต่เด็ก ๆ ก็สามารถผ่านพ้นมันได้ดีกว่าการแพ้นม ข้าวสาลี ถั่วเหลือง และไข่

ความเชื่อผิดๆ #3: ภาวะที่ไม่สามารถย่อยอาหารและการแพ้อาหารเป็นสิ่งเดียวกัน
ภาวะที่ไม่สามารถย่อยอาหารบางอย่างมันคนละเรื่องกับการแพ้อาหาร

ความจริง: ภาวะที่ไม่สามารถย่อยอาหาร (Food intolerances) เช่น ย่อยแลคโตส ไม่ใช่การแพ้รูปแบบที่รุนแรงน้อยกว่าการแพ้อาหาร หากแต่หมายความว่าคุณมีปัญหาในการย่อยอาหาร และการรับประทานอาหารนั้นอาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบาย ส่วนการแพ้อาหารเป็นการตอบสนองจากระบบภูมิคุ้มกัน การรับประทานอาหารที่คุณแพ้ (แม้เพียงเล็กน้อย) อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ที่ดูแลลูกของคุณเข้าใจว่าไม่มีอาหารที่แม้จะเป็นจำนวนที่น้อยนิดเพียงใดปลอดภัย หากเด็กมีอาการแพ้อาหาร

ความเชื่อผิดๆ #4: Epi-Pens ใช้งานยาก
พ่อแม่หรือคนดูแลเด็กควรหัดใช้ EpiPen เอาไว้เพื่อรักษาภาวะแพ้อย่างรุนแรว

ความจริง: EpiPen หรือ Epinephrine คือกระบอกยาฉีดอัตโนมัติ เป็นยาฉุกเฉินที่ใช้รักษาภาวะแพ้อย่างรุนแรง มันอาจจะดูน่ากลัวที่จะใช้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย และแม้ว่าลูก ๆ ของคุณจะไม่มีอาการแพ้ก็ตาม การรู้วิธีใช้งานเป็นสิ่งสำคัญถ้าลูก ๆ ของคุณมีเพื่อนที่มีอาการแพ้อาหารอยู่ด้วย หรือถ้าคุณทำงานกับเด็กในระดับหนึ่ง

ความเชื่อผิดๆ #5: การแพ้ถั่วลิสงเป็นโรคภูมิแพ้ที่คุกคามชีวิตเพียงอย่างเดียว

ความจริง: อาหารทุกชนิดสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงที่เรียกว่าภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ อาหาร 8 ชนิดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยามากที่สุด ได้แก่ นม ไข่ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ปลา หอย ถั่วลิสง และถั่วเปลือกแข็ง อาการของโรคภูมิแพ้ ได้แก่ หายใจลำบาก ปากบวม อาเจียน อ่อนแรง และมึนงง

ความเชื่อผิดๆ #6: เด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อปฏิกิริยาการแพ้อาหารที่เป็นอันตรายมากที่สุด

ความจริง: เป็นความจริงที่เด็กเล็กที่อาจไม่สามารถอ่านฉลากอาหารหรือเข้าใจความรุนแรงของอาการแพ้ได้ มีความเสี่ยง แต่แท้จริงแล้วเป็นวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงสูงสุดสำหรับปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งน่าจะเกิดจากพฤติกรรมทำตัวเสี่ยงตามแบบฉบับของเด็กวัยนั้น

ความเชื่อผิดๆ #7: การเป็นลมพิษหมายความว่าการแพ้ไม่ร้ายแรง
การเป็นผื่นเมื้อแพ้อาหารไม่ได้แปลว่ามีการแพ้แค่นิดเดียว

ความจริง: ความรุนแรงของปฏิกิริยาที่เกิดจากอาหารอาจแตกต่างกันไป หากลูกของคุณมีอาการลมพิษเล็กน้อยหลังจากรับประทานอาหารเพียงครั้งเดียว เขาอาจมีปฏิกิริยารุนแรงขึ้นในครั้งต่อไปได้ และอย่าลืมว่าเด็ก ๆ อาจบรรยายปฏิกิริยาการแพ้ในรูปแบบที่ต่างออกไป เช่น “หนูรู้สึกคอเคล็ด” หรือ “ลิ้นของหนูร้อน”

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th