Site icon Motherhood.co.th Blog

คลอดติดไหล่ มีอะไรที่แม่ท้องต้องระวัง ?

ภาวะคลอดติดไหล่

ภาวะคลอดติดไหล่ อันตรายหรือไม่ และใครเสี่ยงบ้าง แม่ท้องต้องรู้

คลอดติดไหล่ มีอะไรที่แม่ท้องต้องระวัง ?

แม้ว่าคุณจะอุ้มท้องมาครบ 9 เดือนแล้ว แต่เมื่อถึงกำหนดคลอด เราเชื่อว่าคุณก็ยังจะมีเรื่องให้ต้องกังวลอยู่ดี ปัญหา “คลอดติดไหล่” ก็น่าจะเป็นหนึ่งในนั้นนะคะ ถึงแม้ว่าทารกน้อยจะปลอดภัยในท้ายที่สุด แต่บางครั้งก็อาจจะก่อปัญหาให้กับทั้งแม่และลูกได้ เรามาติดตามกันค่ะว่าการที่ทารกคลอดออกมาแล้วติดไหล่นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรและมันส่งผลอะไรถึงลูกน้อยและแม่เองได้บ้าง

การคลอดติดไหล่คืออะไร ?

การคลอดติดไหล่เป็นอาการบาดเจ็บจากการคลอด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไหล่ของทารกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างติดอยู่ในกระดูกเชิงกรานของมารดาในระหว่างคลอด ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว ทารกที่ประสบกับภาวะนี้มักเกิดมาอย่างปลอดภัยดี แต่อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงสำหรับทั้งแม่และทารกได้ อาจจะคลอดได้ช้าหรือคลอดยาก

แพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์มักจะคาดเดาหรือป้องกันภาวะไหล่ติดได้ยาก พวกเขามักจะค้นพบว่ามีอาการนี้หลังจากเริ่มเจ็บท้องคลอด ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้ในอัตรา 0.2-3 เปอร์เซ็นต์ของการตั้งครรภ์

เด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดเกิน 4,000 กรัม มีความเสี่ยงที่จะติดไหล่

คุณมีความเสี่ยงต่อภาวะไหล่ติดหรือไม่ ?

ภาวะไหล่ติดอาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน เราทราบดีว่าบางสิ่งอาจทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะมีภาวะไหล่ติด สิ่งเหล่านี้เรียกว่าปัจจัยเสี่ยง มันคือสิ่งที่ทำให้คุณเสี่ยงต่อการมีภาวะหนึ่ง ๆ เกิดขึ้น การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีภาวะไหล่ติดเสมอไป ปัจจัยเสี่ยงของภาวะนี้ก็ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์ในการทำนายว่าคุณจะมีอาการนี้หรือไม่ มันจึงเป็นเรื่องยากสำหรับแพทย์ที่จะคาดการณ์หรือหาทางป้องกัน

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะไหล่ติด ได้แก่

ภาวะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มเจ็บท้องคลอดและการคลอด ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไหล่ติด ซึ่งรวมถึง

หากทารกไหล่ติด แพทย์จะใช้เครื่องดูดหรือคีมช่วยดึงทารกออกมา

ภาวะไหล่ติดอาจทำให้เกิดปัญหาอะไรได้บ้าง ?

โดยปกติแล้ว แม่และเด็กทารกส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้ดีจากปัญหาที่เกิดจากภาวะไหล่ติดตอนคลอด แต่ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับทารกนั้นอาจรวมถึง

ส่วนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับแม่นั้นอาจรวมถึง

มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร ?

หากแพทย์คิดว่าคุณอาจมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะไหล่ติดระหว่างคลอด แพทย์อาจจะสั่งให้ทีมจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรองรับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างคลอด และยังสามารถตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์พร้อมที่โรงพยาบาล

หากแพทย์คิดว่าทารกของคุณมีขนาดใหญ่หรือหากคุณเป็นโรคเบาหวาน แพทย์อาจแนะนำให้กำหนดตารางสำหรับการผ่าคลอด ถ้าเป็นเช่นนั้นให้ลองถามดูว่าจะสามารถรอให้ถึง 39 สัปดาห์ได้หรือไม่ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีเวลาเติบโตและพัฒนาก่อนคลอด เพราะการผ่าคลอดควรเป็นไปเพื่อเหตุผลทางการแพทย์เท่านั้น

หากไหล่ทารกยังติดจริง ๆ แพทย์จะให้ผ่าคลอด

หากคุณมีภาวะไหล่ติดระหว่างคลอด แพทย์สามารถลองใช้หลายวิธีในการเคลื่อนย้ายคุณและลูกน้อยของคุณไปยังท่าทางที่เหมาะสมขึ้น เพื่อเปิดกระดูกเชิงกรานให้กว้างขึ้นและขยับไหล่ของทารก ทั้งนี้ แพทย์อาจจะ

ถึงแม้ว่ามันเป็นเรื่องยากที่แพทย์จะหาทางป้องกันภาวะนี้ แต่หากคุณแม่ดูแลสุขภาพตัวเอง ไม่ปล่อยให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ พยายามดูแลน้ำหนักตัวเองในระหว่างตั้งครรภ์ให้ขึ้นมาแต่พอเหมาะ ก็จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงไปได้พอสมควรแล้วค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th