Site icon Motherhood.co.th Blog

5 สิ่งที่คุณไม่ควรทำเพื่อ “ช่วยให้ลูกถ่าย”

อย่าทำเพื่อช่วยให้ลูกถ่าย

มีบางอย่างที่คุณห้ามทำเพื่อช่วยให้ลูกขับถ่าย

5 สิ่งที่คุณไม่ควรทำเพื่อ “ช่วยให้ลูกถ่าย”

ช่วง 2-3 เดือนแรกของทารกแรกเกิดอาจจะดูเหมือนเป็นวงจรง่าย ๆ ของการกิน การนอน และขับถ่าย แต่เมื่ออยู่ไปสักพัก คุณจะเป็นกังวลและต้องการ “ช่วยให้ลูกถ่าย” เพราะอาจเริ่มสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่ผิดปกติ และด้วยเหตุนี้ ด้วยความห่วงใย จึงลงเอยด้วยความผิดพลาดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าผลดีต่อทารก ต่อไปนี้คือ 5 สิ่งที่คุณไม่ควรทำเพื่อทำให้ลูกอึ

การเคลื่อนไหวของลำไส้ทารกยังไม่มีแบบแผนที่แน่นอนนักในช่วงแรก

 

1. คิดเอาเองว่าลำไส้ของทารกจะต้องทำงานเป็นปกติ

ความผิดพลาดที่พบบ่อยที่สุดที่พ่อแม่ทำคือการทึกทักเอาว่าลูกของพวกเขาต้องถ่ายอุจจาระเป็นประจำเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ สิ่งที่พวกเขาไม่รู้จริง ๆ ก็คือทารกไม่มีรูปแบบที่ตายตัวในการเคลื่อนไหวของลำไส้ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของพวกเขายังคงพัฒนา การเคลื่อนไหวของลำไส้อาจแตกต่างกันจาก 3 ครั้งต่อวันเป็นครั้งเดียวใน 3 วันเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่สับสนโดยธรรมชาติ การปรึกษากุมารแพทย์เพื่อแก้ไขข้อกังวลของคุณอาจช่วยได้

2. กระตุ้นลำไส้ส่วนปลาย

อาจมีบ้างแต่ไม่ค่อยบ่อยนักที่พบว่าความกังวลของพ่อแม่กลายเป็นเรื่องจริง กุมารแพทย์อาจเสนอให้กระตุ้นลำไส้ส่วนปลายของทารกโดยใช้หัววัดเล็ก ๆ เพื่อช่วยให้ทารกถ่ายอุจจาระออกมา อย่างไรก็ตาม ไม่ควรปฏิบัติตามนี้เป็นประจำ ทารกอยู่ในระยะเริ่มต้นของการเรียนรู้และกำลังชินกับแนวคิดที่จะผ่อนคลายก้นเพื่อดันอุจจาระออกมา เมื่อทารกคุ้นเคยกับ ‘ความช่วยเหลือ’ จากภายนอกแล้ว ในขั้นตอนนี้ เขา/เธออาจพบว่าเป็นการยากที่จะถ่ายอุจจาระด้วยตัวเองในระยะยาว

ไม่จำเป็นต้องใช้อะไรไปกระตุ้นที่ลำไส้ส่วนปลาย

3. ตีความความพยายามของพวกเขาผิดไป

พวกเราส่วนใหญ่ได้เห็นการแสดงออกทางสีหน้าของทารกเมื่อพวกเขาพยายามที่จะอึ พวกเขาดูน่ารักมาก แต่ก็ทำหน้าตาดูน่าเจ็บด้วยเหมือนกัน ความจริงก็คือ มันเป็นกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติสำหรับทารกที่เขาพยายามจะถ่ายอุจจาระออกมา เนื่องจากทารกจะอึไม่ว่าจะยืนหรือนอนราบ เมื่อเทียบกับท่านั่งที่แน่นอนของผู้ใหญ่ ไม่ควรตีความผิดว่าเป็นอาการท้องผูกหรือเจ็บปวด

4. ห้ามบังคับหรือใช้ยาระบาย

คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่อาจลองใช้วิธีการภายนอก เช่น การทาน้ำมันลงตรงก้นลูก กดท้อง หรือใช้ยาระบาย เช่น ยาสวนทวาร สิ่งนี้อาจทำให้ทารกเครียดหรือปวดท้อง การทาน้ำมันก็อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในพื้นที่ส่วนนั้นโดยไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ท้องผูกจริงๆ คุณอาจใช้ยาเหน็บกลีเซอรีนได้ แต่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดหลังจากปรึกษากุมารแพทย์

หากเด็กได้รับไฟเบอร์มากไป ก็อาจทำให้ท้องผูกได้

5. เพิ่มการบริโภคไฟเบอร์

เมื่อทารกเริ่มกินอาหารแข็งได้บ้างแล้ว โดยทั่วไปแล้ว แม่จะพยายามเพิ่มปริมาณใยอาหารโดยหวังว่าจะควบคุมลำไส้ได้ แม้ว่าไฟเบอร์อาจดีสำหรับทารก แต่มันก็ดูดซับของเหลวในร่างกายได้มากขึ้น ดังนั้น ควรระมัดระวังในการเพิ่มปริมาณของเหลวที่ได้รับเช่นกัน เพื่อที่ทารกจะไม่ท้องผูกอีก

การเคลื่อนไหวของลำไส้ของทารกอาจดูเหมือนเป็นปัญหาเร่งด่วนสำหรับคุณ แต่อย่าเครียดกับมันมากเกินไปและหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่กล่าวถึงข้างต้น ในขณะที่ลูกน้อยของคุณกำลังพยายามเรียนรู้วิธีถ่ายอุจจาระ ให้ลูกน้อยของคุณรู้ว่าคุณอยู่เคียงข้างเขา/เธอเสมอ เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ ที่คุณทำมา

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th