Site icon Motherhood.co.th Blog

ติดเชื้อในช่องคลอด ท้องอยู่ก็เป็นได้เหรอ ?

ติดเชื้อในช่องคลอดตอนตั้งครรภ์

อาการติดเชื้อในช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ?

ติดเชื้อในช่องคลอด ท้องอยู่ก็เป็นได้เหรอ ?

เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่มีโอกาส “ติดเชื้อในช่องคลอด” ได้ง่ายขึ้น แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และนี่คือสาเหตุที่พบบ่อย พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติในระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุของการตกขาวช่วงตั้งครรภ์คืออะไร ?

ร่างกายของคุณเปลี่ยนแปลงไปในหลาย ๆ ด้านเมื่อคุณตั้งครรภ์และการเพิ่มขึ้นของตกขาวก็เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สนุกเอาซะเลย หากมันออกมาเป็นสีใสหรือสีขาวและปราศจากกลิ่น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์และเป็นสัญญาณว่าช่องคลอดแข็งแรงดี แต่บางครั้งมันส่งสัญญาณถึงการติดเชื้อ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสมดุลตามธรรมชาติของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดถูกรบกวน

การติดเชื้อในช่องคลอดทั้ง 4 แบบ ตั้งแต่ที่พบบ่อยไปจนถึงหายากมากขึ้นอาจส่งผลต่อหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV) การติดเชื้อยีสต์ การติดเชื้อสเตร๊บโตคอคคัส (Group B Strep – GBS) และโรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) ข่าวดีก็คือเมื่อมีการวินิจฉัยการติดเชื้อในช่องคลอดอย่างทันท่วงทีโดยทั่วไปแล้วแพทย์จะรักษาได้ง่าย ส่วนที่ยุ่งยากคือความแตกต่างระหว่างการมีตกขาวตามปกติและการมีตกขาวที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อจริง ซึ่งในบทความนี้เราจะอธิบายสาเหตุของการติดเชื้ออาการการรักษาและเคล็ดลับในการป้องกัน

หากไม่รักษาจะส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวน้อย

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis – BV)

หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 5 จะมีอาการคันและระคายเคือง BV เกิดขึ้นเมื่อมีแบคทีเรียจำนวนมากเกินไปที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดตามธรรมชาติ ซึ่งในการตั้งครรภ์อาจได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา BV จะยังคงมีอยู่และทารกอาจคลอดเร็วหรือมีน้ำหนักตัวน้อย ในสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ภาวะ BV สามารถนำไปสู่โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรือทำให้ท่อนำไข่เสียหายได้ BV สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการเพาะเชื้อทางช่องคลอดอย่างง่าย แพทย์จะสอดก้านสำลีเก็บตัวอย่างตกขาวของคุณ และนำไปส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์

อาการของ BV

การรักษา BV

BV บางครั้งก็หายไปเองได้ หากคุณอยู่ในช่วงไตรมาสแรก แพทย์ของคุณอาจรอการรักษาจนถึงไตรมาสที่สอง ยาปฏิชีวนะโดยทั่วไปมักจะใช้ Metronidazole หรือ Clindamycin

การป้องกัน BV

เชื้อยีสต์เติบโตได้ดีเพราะระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นตอนตั้งครรภ์

การติดเชื้อยีสต์

อาการคันและแสบร้อนที่เกิดจากการติดเชื้อยีสต์มักเกิดจากเชื้อรา Candida ที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดมากเกินไป ในระหว่างตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ยีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ สาเหตุอื่น ๆ ของการติดเชื้อยีสต์ ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะ และการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถขัดขวาง pH ตามธรรมชาติในช่องคลอดของคุณ แพทย์สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อยีสต์ได้ด้วยการเพาะเชื้อในช่องคลอด โดยสอดก้านสำลีเก็บตัวอย่างตกขาวของคุณ และนำไปส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์

อาการติดเชื้อยีสต์

การรักษาการติดเชื้อยีสต์

ครีมหรือยาสอดที่สอดเข้าไปในช่องคลอด หรือยาต้านเชื้อราในช่องปาก

การป้องกันการติดเชื้อยีสต์

ตอนนี้ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคนี้

การติดเชื้อสเตร๊บโตคอคคัส (Group B Strep – GBS)

20 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงที่มีสุขภาพดีทั้งหมดมีแบคทีเรีย GBS อาศัยอยู่ในระบบของพวกเธอ โดยปกติจะอยู่ในทางเดินลำไส้ ทวารหนัก หรือช่องคลอด แพทย์ของคุณจะทดสอบ GBS โดยอัตโนมัติระหว่างสัปดาห์ที่ 35 ถึง 37 ของการตั้งครรภ์

เนื่องจากคนที่มีสุขภาพดีจำนวนมากมี GBS อาศัยอยู่ในร่างกายจึงไม่ชัดเจนว่าเหตุใดบุคคลบางคนจึงติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นจาก GBS ในขณะที่คนอื่น ๆ กลับไม่ติดเชื้อ

อาการ GBS

GBS อาจทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) ในบางคน แต่บางคนไม่มีอาการเลย อาการของ UTI ได้แก่ ความเจ็บปวดหรือแสบร้อนขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น และปัสสาวะกะทันหัน

การรักษา GBS

หากผลตรวจ GSB ของคุณเป็นบวก คุณจะได้รับยาปฏิชีวนะในระหว่างการคลอดเพื่อที่คุณจะได้ไม่แพร่เชื้อไปยังลูกน้อยของคุณ หากไม่มียาปฏิชีวนะ ลูกน้อยของคุณจะเสี่ยงต่อการเป็นโรค GBS ในระยะเริ่มต้น ซึ่งทำให้เกิดไข้ กินอาหารยาก และง่วงซึม

การป้องกัน GBS

น่าเสียดายที่ตอนนี้ยังไม่มีวิธีป้องกัน GBS

เป็นโรคที่มีผู้ป่วยรายใหม่หลายล้านคนต่อปี

โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)

มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 7.4 ล้านรายในแต่ละปี ซึ่งมันเป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยและรักษาได้มากที่สุด

สาเหตุของพยาธิในช่องคลอด

พยาธิ Trichomonas vaginalis ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และมักอาศัยอยู่ในช่องคลอด

อาการพยาธิในช่องคลอด

การรักษาพยาธิในช่องคลอด

แพทย์ของคุณมักจะรักษาคุณด้วยยาปฏิชีวนะในช่องปาก เช่น Metronidazole และ Tinidazole

การป้องกันพยาธิในช่องคลอด

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th