Site icon Motherhood.co.th Blog

ท้องนอกมดลูก มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้ไหม

ภาวะท้องนอกมดลูก

เรียนรู้ที่จะรักษาอาการหากเกิดภาวะท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูก มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้ไหม

มีปัญหาและภาวะหลายอย่างที่สามารถทำให้คุณแม่ท้องเกิดความกังวล “ท้องนอกมดลูก” ก็เป็นอีกปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่คุณแม่ท้องและคุณแม่มือใหม่หลายคนไม่อยากเผชิญกับมัน แต่เราจะมีวิธีป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร มาเรียนรู้สาเหตุและวิธีหลีกเลี่ยงต้นตอของปัญหากันค่ะ

ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) เป็นภาวะที่ไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มแล้วกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่หรือปีกมดลูก ทำให้ตัวอ่อนที่ฝั่งบริเวณนั้นไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดเนื้อเยื่อเจริญเติบโตจนสร้างความเสียหายแก่ท่อนำไข่ และมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สัญญาณสำคัญของการท้องนอกมดลูก เพื่อไปพบแพทย์ให้ทันเวลา เช่น มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดไหล่ หน้ามืดเป็นลม หรือช็อค

บางรายหากอาการหนักขึ้นจะพบว่าปวดไหล่หรือปวดคอ

อาการท้องนอกมดลูก

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์นอกมดลูกมักไม่มีอาการสำคัญที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด หรืออาจมีอาการที่คล้ายสัญญาณการตั้งครรภ์ทั่วไป เช่น

ส่วนอาการที่เป็นสัญญาณสำคัญของการท้องนอกมดลูกที่มีอาการป่วยรุนแรงมากขึ้น และผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที เนื่องจากเนื้อเยื่ออาจก่อความเสียหายแก่ท่อนำไข่หรือทำให้ท่อนำไข่ฉีกขาด ได้แก่

สาเหตุของการท้องนอกมดลูก

อาการมักเกิดขึ้นภายในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังไข่ผสมกับสเปิร์ม โดยทั่วไปไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะยังอยู่ในท่อนำไข่ประมาณ 3-4 วัน ก่อนเคลื่อนเข้าไปฝังตัวในผนังมดลูก แล้วเกิดการตั้งครรภ์จนพัฒนาเป็นตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ในมดลูกไปเรื่อย ๆ แต่การท้องนอกมดลูกนั้นเกิดจากไข่ที่ผสมแล้วไม่เคลื่อนตัวไปยังมดลูก แต่มักฝังตัวอยู่ในบริเวณท่อนำไข่ หรือในอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้น้อย เช่น ปากมดลูก รังไข่ พื้นที่ว่างในช่องท้อง หรือแม้แต่บริเวณรอยแผลเป็นจากการคลอดที่หน้าท้อง

ปัจจัยที่ทำให้ไข่ที่ผสมกับสเปิร์มแล้วไม่เคลื่อนไปฝังตัวในมดลูกตามกระบวนการตั้งครรภ์ปกติ ได้แก่

แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุเกิน 35 ปีก็มีความเสี่ยงมากขึ้น

วิธีการรักษา

เมื่อตรวจพบการท้องนอกมดลูก แม่ท้องควรได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาการเจริญพันธุ์ในอนาคต เพราะตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่นอกมดลูกจะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นทารกได้อีก จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการนำตัวอ่อนนั้นออกไป

การรักษาการท้องนอกมดลูกนั้นขึ้นอยู่กับพัฒนาการของตัวอ่อนที่ฝังตัวไปแล้ว และบริเวณที่ตัวอ่อนฝังตัว โดยแพทย์จะมีวิธีการรักษาผู้ป่วยท้องนอกมดลูก ดังนี้

หลังรับการรักษา คุณแม่ต้องพักรักษาตัวภายใต้การดูแลและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้ดี จากนั้นสภาพจิตใจก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องได้รับการด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการพูดคุยปรึกษาและให้กำลังใจกันระหว่างคู่ของคุณ เมื่อคุณพร้อมจะมีลูกและต้องการตั้งครรภ์อีกครั้ง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการมีบุตร เนื่องจากแม่ที่เคยท้องนอกมดลูกย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะอาการนี้ขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่ได้รับการผ่าตัดเอาท่อนำไข่ออกไป คุณสามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านภาวะมีบุตรยากได้ โดยแพทย์อาจให้คำแนะนำในการมีบุตรด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ที่เป็นการนำตัวอ่อนเข้าไปฝังในมดลูกโดยตรงเลย ไม่ต้องรอให้ตัวอ่อนเคลื่อนตัวไปตามท่อนำไข่เพื่อเข้าสู่มดลูกเองอีกต่อไป การทำเช่นนี้ก็สามารถแก้ปัญหาตัวอ่อนฝังตัวในมดลูกได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะท้องนอกมดลูกที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีจะไม่พัฒนาไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บางกรณีที่แม่ท้องนอกมดลูก ได้รับการตรวจวินิจฉัยช้าเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เนื่องจากท่อนำไข่และอวัยวะในบริเวณที่ไข่ฝังตัวอาจเกิดความเสียหาย ฉีกขาด หรือเกิดการติดเชื้อ นำไปสู่การตกเลือด อาจเกิดภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (Disseminated Intravascular Coagulopathy: DIC) รวมทั้งภาวะช็อค และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตในเวลาต่อมาได้

เราไม่สามารถป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น ทำได้เพียงบรรเทาไม่ให้มีภาวะแทรกซ้อน

ป้องกันได้อย่างไร ?

ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่เราสามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะในช่องท้องและระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจะนำไปสู่การท้องนอกมดลูกในที่สุดได้ เช่น

และถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถป้องกันการท้องนอกมดลูกได้อย่างสิ้นเชิง แต่เรายังคงสามารถป้องกันไม่ให้อาการป่วยที่เกิดขึ้นลุกลามไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ ดังนี้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th