Site icon Motherhood.co.th Blog

บอกที่ทำงานว่าท้อง จะบอกเมื่อไหร่ดี ?

เริ่มบอกที่ทำงานว่าท้อง

จะรับมือกับการท้องในขณะที่ยังคงต้องทำงานประจำอย่างไร ?

บอกที่ทำงานว่าท้อง จะบอกเมื่อไหร่ดี ?

ผู้หญิงจำนวนมากทำงานระหว่างตั้งครรภ์ บางคนจนถึงวันครบกำหนดคลอดเลยทีเดียว สิ่งสำคัญคือคุณต้อง “บอกที่ทำงานว่าท้อง” ด้วยนะคะ และนี่คือบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยให้การตั้งครรภ์ของคุณในช่วงที่ยังต้องทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการบอกเพื่อนร่วมงานและเจ้านายว่าคุณกำลังตั้งครรภ์

คุณต้องตัดสินใจว่าเมื่อใดควรบอกคนในที่ทำงานว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ ผู้หญิงบางคนรอจนกว่าจะถึงไตรมาสแรกเมื่อความเสี่ยงของการแท้งบุตรต่ำลง ในขณะที่คนอื่น ๆ แทบรอไม่ไหวที่จะแบ่งปันข่าวและบอกทุกคนในทันที

ควรวางแผนสิ่งที่ต้องทำในการส่งมอบงานไว้ล่วงหน้าด้วย

ไม่ว่าคุณจะเลือกทางใด ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อพูดคุยกับเจ้านายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของคุณ

คุณวางแผนลาคลอดอย่างไร ?

การลาคลอดเป็นเวลาที่คุณต้องพักจากงานเมื่อคุณมีลูก เมื่อคิดถึงการลาคลอด ให้คุณถามตัวเองว่า

  1. คุณวางแผนที่จะเริ่มลาเมื่อใด ? คุณคิดว่าจะทำงานได้จนถึงวันครบกำหนดหรือไม่ ? หรือคุณจะหยุดทำงานสองสามวันหรือหลายสัปดาห์ก่อนที่ลูกจะคลอด ?
  2. คุณวางแผนที่จะอยู่บ้านกับลูกน้อยหลังคลอดนานแค่ไหน ? คุณต้องกลับไปทำงานทันทีหรือไม่ ? คุณสามารถอยู่บ้านโดยยังไม่ต้องกลับไปทำงานได้นานแค่ไหน ?

คุณอาจมีความคิดว่าคุณต้องการให้แผนการลาคลอดออกมาเป็นอย่างไร แต่ความต้องการของคุณอาจเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปอย่างราบรื่นสำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ แต่คุณอาจต้องเปลี่ยนระยะเวลาในการลาของคุณหากคุณมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ หรือหากสิ่งต่าง ๆไม่เป็นไปตามแผน

พูดคุยกับเจ้านาย ฝ่ายบุคคล และวางแผนลาคลอดอย่างรอบคอบ

นายจ้างของคุณอาจมีนโยบายการลาคลอดของตนเอง พูดคุยกับหัวหน้าของคุณหรือคนจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นความคิดที่ดีที่จะทำสิ่งนี้ก่อนตั้งครรภ์หากทำได้ และควรถามคำถามเหล่านี้

พูดคุยกับเจ้านายของคุณเกี่ยวกับการลาคลอดก่อนวันครบกำหนด พูดคุยเกี่ยวกับวิธีจัดการความรับผิดชอบในการทำงานของคุณในขณะที่คุณลาคลอด ลองคิดดูว่าคุณจะทำอะไรได้มากแค่ไหนก่อนที่ลูกจะคลอด คุณอาจต้องการสร้างรายการสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้งานของคุณได้รับการดูแลอย่างถูกต้องในขณะที่คุณไม่อยู่

สิทธิในการลาคลอดตามกฎหมาย

ตามมาตรา 41

นอกจากนี้ยังจะได้รับค่าจ้าง 45 วัน จากประกันสังคม โดยเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเฉลี่ย 90 วัน ซึ่งคำนวณจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท แต่จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ และเงินส่วนนี้จะได้รับเฉพาะลูก 2 คนแรกเท่านั้น

ดื่มน้ำให้เพียงพอเสมอ หากคุณต้องยืนทำงาน

จัดการกับความเปลี่ยนแปลงทางร่ายกายในที่ทำงาน

แน่นอนว่าคุณจะเกิดความรู้สึกอ่อนเพลียจากอาการแพ้ท้องและความเหนื่อยล้าในช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ลองเจรจาเรื่องเวลาเริ่มต้นงานที่ยืดหยุ่นกับเจ้านายของคุณจนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น หากคุณกำลังดิ้นรนกับอาการคลื่นไส้ ควรออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ และการหาเวลารับประทานของว่างชิ้นเล็ก ๆ ที่มีโปรตีนบ่อย ๆ สามารถช่วยได้ เพราะการท้องว่างจะทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง

เมื่อท้องของคุณโตขึ้น ความรู้สึกไม่สบายที่คุณรู้สึกหลังจากนั่งหรือยืนเป็นเวลานานอาจเป็นความท้าทายต่อไปที่คุณต้องเผชิญ ควรตรวจสอบการจัดตำแหน่งที่ถูกต้องเมื่อนั่งที่โต๊ะทำงาน เท้าของคุณควรราบไปกับพื้น พนักพิงของเก้าอี้ควรรองรับหลังส่วนล่างของคุณ และหน้าจอใด ๆ ควรอยู่ที่ระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย การเปลี่ยนไปใช้เก้าอี้ที่สบายกว่าหรือใช้ลูกบอลออกกำลังกายอาจช่วยได้ การหยุดพักก็สำคัญเช่นกัน

หากคุณต้องยืนทำงาน อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอและหยุดพักเมื่อทำได้ นั่งทำงานที่คุณมักจะยืนทำในช่วงปกติ พูดคุยกับแพทย์และหัวหน้าของคุณทันทีหากงานของคุณมีงานหรือสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณหรือลูกน้อยของคุณ สิ่งเหล่านี้รวมถึงการสัมผัสกับรังสีเอกซ์หรือสารเคมีอันตราย การยกของหนัก หรือการทำงานที่การตั้งครรภ์อาจทำให้คุณตกเป็นเป้าหมายได้ เช่น ผู้คุมหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นต้น

ยืนยันไปว่าคุณยังคงทำงานได้ตามปกติ หากกลัวเรื่องเลือกปฏิบัติ

ระวังเรื่องการเลือกปฏิบัติ

ในช่วงเวลาที่คุณตั้งครรภ์ เจ้านายของคุณอาจกังวลว่าเขาจะใช้งานคุณหนักเกินไป เขาอาจจะให้งานคุณน้อยกว่าคนอื่น ส่วนตัวคุณเองก็คงกังวลว่ามันจะเป็นการเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน หากคุณไม่สบายใจที่เขาปฏิบัติกับคุณต่างจากที่ปฏิบัติกับพนักงานคนอื่น คุณควรอธิบายให้เจ้านายคุณทราบว่าคุณยังสามารถทำงานได้ตามเดิม เพียงแต่ต้องหลีกเลี่ยงงานบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง

สำหรับในประเทศไทยเรา เรื่องของการลาคลอดยังรวมเฉพาะแค่ฝ่ายคุณแม่เท่านั้น Motherhood ก็หวังว่าสักวันกฎหมายของเราจะก้าวหน้า สามารถให้สิทธิ์ในการลาดคลอดกับพนักงานชายที่เป็นคุณพ่อได้ด้วย เหมือนอย่างที่ญี่ปุ่นหรือฝรั่งเศสและสเปนนะคะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th