Site icon Motherhood.co.th Blog

ระวัง “บาดทะยัก” ในทารกแรกเกิด

บาดทะยักในเด็กทารก

พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดบาดทะยักในเด็กทารก

ระวัง “บาดทะยัก” ในทารกแรกเกิด

พวกเราคงจะคุ้นเคยกับวัคซีนป้องกัน “บาดทะยัก” ที่เป็นหนึ่งในวัคซีนสำคัญที่เด็กทารกจำเป็นต้องได้รับตามกำหนด เพราะบาดแผลเป็นเรื่องที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย หากบาดแผลนั้นได้รับการดูแลเรื่องความสะอาดไม่ดีพอ อาจเกิดการติดเชื้อได้ โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ทำให้เกิดบาดทะยัก นอกจากนี้ ในเด็กทารกแรกเกิดที่ดูแลสายสะดือไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลายเป็นบาดทะยักได้เช่นกัน แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบถึงรายละเอียดของตัวโรค และไม่ทราบว่ามันจะสร้างความเสียหายให้กับสุขภาพของลูกน้อยอย่างไร วันนี้ Motherhood จะพาคุณ ๆ มาทำความรู้จักกับมันให้มากขึ้นกันค่ะ

บาดทะยักคืออะไร ?

โรคติดเชื้อจาก ‘คลอสตริเดียม เตตานิ (Clostridium tetani)’ มีคุณสมบัติอยู่ในรูปแบบของสปอร์ (Spore) ที่ทนทานต่อความร้อนและยาฆ่าเชื้อหลายชนิด เป็นเชื้อโรคที่พบได้ทั่วไปในดิน ตามพื้นหญ้า ทราย ฝุ่นละอองตามถนน ในลำไส้ของคนและสัตว์ ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล และเจริญได้ดีในที่ ๆ ไม่มีออกซิเจน สปอร์ของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของบาดทะยักสามารถเพิ่มตัวอย่างรวดเร็วและแพร่ผ่านกระแสเลือดไปสู่ระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงผลิตสารพิษที่มีชื่อว่าเตตาโนสปาสมิน (Tetanospasmin) ซึ่งจะส่งผลให้เส้นประสาทต่าง ๆ ที่ควบคุมกล้ามเนื้อเสียหาย จนเกิดเป็นอาการปวดและชักเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งเป็นอาการหลักของโรคบาดทะยัก

เมื่อคนเราเกิดบาดแผลที่แปดเปื้อนเชื้อโรคชนิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบาดแผลที่ลึกและแคบ (หมายความว่ามีออกซิเจนน้อย) หรือมีบาดแผลที่เปื้อนดินทราย เชื้อบาดทะยักนี้จะไปกระทบต่อระบบประสาท จึงมักทำให้มีอาการเจ็บปวดและเกร็งกล้ามเนื้อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขากรรไกรและกล้ามเนื้อลำคอ และยังอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

รอยแผลลึกที่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกนั้นมีความเสี่ยงสูง

รอยแผลลึกที่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกหรือมีสิ่งแปลกปลอมฝังอยู่ในแผลจะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อบาดทะยัก แต่แผลบาดเจ็บเล็กน้อยทั้งหลายก็อาจมีโอกาสทำให้เกิดบาดทะยักได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักหรือในอดีตยังได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนตามกำหนด

สิ่งเป็นปัญหาใหญ่ในทารกแรกเกิด คือ เชื้อเข้าทางสายสะดือที่ตัดด้วยกรรไกรหรือของมีคมที่ไม่สะอาด อย่างที่พบบ่อยในชนบท คือการใช้ไม้ไผ่ตัดสายสะดือ และการพอกสะดือด้วยยากลางบ้าน หรือโรยด้วยแป้งที่อาจปนเปื้อนเชื้อบาดทะยัก ทำให้เชื้อเข้าสู่แผลรอยตัดที่สะดือ ส่งผลให้เกิดบาดทะยักในทารกแรกเกิด (Tetanus neonatorum)

แผลแบบไหนที่มี่ความเสี่ยงสูง ?

เชื้อบาดทะยักสามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายผ่านแผลที่มีลักษณะต่อไปนี้

ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักด้วย

อาการและอาการแสดง

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการเริ่มแรก คือ มีอาการขากรรไกรแข็ง ที่เรียกว่าระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3-21 วัน หรืออาจนานกว่านั้น แต่โดยเฉลี่ยมักมีอาการภายใน 10-14 วัน ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการอย่างรวดเร็วมักจะแสดงถึงการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าและรักษาได้ยากกว่า

นอกจากนี้ อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย ได้แก่

อาการเหล่านี้ หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการรักษาอาจทรุดหนักลงได้ภายในไม่กี่วันหรือเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อมา และอันตรายถึงขั้นทำให้หายใจไม่ออกหรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้

พาลูกน้อยไปรับวัคซีนบาดทะยักให้ครบตามกำหนด

การรักษา

กรณีที่ผู้ป่วยเด็ก ก่อนที่จะนำไปพบแพทย์ ถ้าสังเกตว่าเด็กไม่ดูดนมและไม่อ้าปากแสดงว่ามีขากรรไกรแข็ง อย่าพยายามฝืนให้นม เพราะอาจจะทำให้เด็กสำลักนมเข้าทางเดินหายใจ ทำให้ขัดขวางทางเดินหายใจอาจถึงตายได้ทันที หรืออาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับต้องตัวเด็กโดยไม่จำเป็น และอย่าให้มีเสียงดังรบกวน เพราะจะทำให้ชักเกร็งมากขึ้นได้

หากแพทย์พิจารณาว่ามีความเสี่ยงหรือแนวโน้มที่จะติดเชื้อบาดทะยัก แต่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏให้เห็น กรณีนี้จะรักษาโดยทำความสะอาดแผลและฉีด Tetanus immunoglobulin ซึ่งเป็นยาที่ประกอบด้วยแอนติบอดี้ ช่วยฆ่าแบคทีเรียจากโรคบาดทะยักและสามารถป้องกันโรคบาดทะยักได้ในช่วงระยะสั้น ๆ  นอกจากนี้อาจฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักร่วมด้วย หากผู้ป่วยยังไม่ได้รับวัคซีนชนิดนี้ครบกำหนด

ผู้ป่วยที่เริ่มแสดงอาการของโรคบาดทะยักแล้ว โดยทั่วไปจำเป็นจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในห้องไอซียูเพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอย่างใกล้ชิด และมีการให้ยา Tetanus antitoxin (TAT) เข้าหลอดเลือดหรือให้ Tetanus immune globulin (TIG) เข้ากล้าม เพื่อให้ไปทำลาย Tetanus toxin ที่ยังไม่ไปจับที่ระบบประสาท ให้ยาปฏิชีวนะ Penicillin ขนาดสูง เพื่อทำลายเชื้อ C.tetani ที่บาดแผล

นอกจากนี้ ยังต้องให้การรักษาตามอาการ ให้ยาระงับชัก ยาลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ งดอาหารและน้ำทางปากในขณะที่มีอาการเกร็งหรือชัก ให้อาหารทางหลอดเลือด ดูแลเรื่องการหายใจ และทำความสะอาดบาดแผล

การป้องกันในทารกแรกเกิด

การใช้เครื่องมือสำหรับทำคลอดและตัดสายสะดือที่สะอาด และหมั่นดูแลและเช็ดทำความสะอาดสะดือ ถือเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ยังป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้แก่ผู้ตั้งครรภ์เป็นจำนวน 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งเว้นระยะห่าง 1 เดือน แต่ครั้งสุดท้ายควรฉีดก่อนคลอดอย่างน้อย 1 เดือน การได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักจำนวน 2 ครั้ง จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันส่งผ่านไปยังทารกแรกเกิด ช่วยป้องกันโรคบาดทะยักได้นาน 3 ปี

รักษาความสะอาดของแผลอย่างดีที่สุดเมื่อเกิดแผล

การป้องกันเมื่อเกิดบาดแผล

เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีให้หายเร็วที่สุด ควรรีบล้างแผล ฟอกสบู่แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด จากนั้นจึงเช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลลกอฮอล์หรือทิงเจอร์ใส่แผลสด ใช้ผ้าปิดบาดแผลเพื่อให้แผลสะอาดและป้องกันจากการสัมผัสเชื้อแบคทีเรียของแผล แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาถึงการป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก รวมทั้งตรวจดูว่าวัคซีนที่เคยได้รับยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้อยู่หรือไม่

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th