Site icon Motherhood.co.th Blog

ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับความล่าช้าของ “พัฒนาการทางภาษา” และการพูดในเด็ก

พัฒนาการทางภาษาของลูก

คุณกำลังเป็นกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของลูกอยู่หรือเปล่า ?

ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับความล่าช้าของ “พัฒนาการทางภาษา” และการพูดในเด็ก

แม้ว่าเด็กทุกคนจะมีพัฒนาการตามไทม์ไลน์ของตนเองก็ตาม ความล่าช้าในเหตุการณ์สำคัญบางอย่าง เช่น “พัฒนาการทางภาษา” การพูดคุย ทำให้ผู้ปกครองหลายคนสงสัยว่า ‘ลูกของฉันพัฒนาไปตามเวลาไหม’ หรือ ‘ต้องนานแค่ไหนถึงควรพาลูกไปหานักบำบัดได้แล้ว’ ต่อไปนี้เป็นคำตอบสำหรับคำถามเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกคุณ

ให้ความสนใจต่อผู้อื่น

ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นรากฐานของการพัฒนาภาษา Katrina Zeit นักพยาธิวิทยาการพูดที่ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลเด็ก Cincinnati กล่าว “หากลูกของคุณไม่ใส่ใจผู้อื่น ไม่ตอบสนองต่อเสียง ดนตรี เกม หรือของเล่นที่เคลื่อนไหว อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจพูดช้า”

ส่งเสียงอ้อแอ้

Suzanne Bonifert หัวหน้าแผนกบริการพยาธิวิทยาทางภาษาพูดแห่งศูนย์ความผิดปกติในการสื่อสารของ UT Dallas Callier กล่าวว่า “ทารกจะเริ่มสร้างเสียงสระ และเมื่อใกล้ถึง 6 เดือน พวกเขาก็จะเริ่มรวมเสียงพยัญชนะและสระเข้าด้วยกัน”

ยิ่งคุณพูดและเล่นกับลูกมาก เด็กก็จะมีพัฒนาการทางการพูดที่ดีขึ้น

จำชื่อตัวเองได้

“ระหว่าง 6-9 เดือน ลูกของคุณควรหยุดและหันกลับมาหาคุณเมื่อคุณเรียกชื่อพวกเขา” Zeit กล่าว ลูกของคุณควรตอบสนองต่อเสียงต่าง ๆ ที่คุณทำ และพวกเขาอาจเริ่มพยายามเลียนแบบเสียงเหล่านั้น Zeit กล่าวว่า “นั่นเป็นเหตุผลที่พ่อแม่ต้องพูดคุยกับลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กที่มีพ่อแม่ช่างพูดจะพัฒนาทักษะทางภาษาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

คำพูดแรก

คำพูดแรกของทารกหลายคน — “มามา” “บาบา” หรือ “ดาดา” ที่ช่วง 12 เดือนโดยประมาณ แต่อย่าหงุดหงิดถ้าลูกของคุณยังไม่พูด เด็กบางคนใช้เวลาในการพูดนานกว่าคนอื่น

คุณสามารถช่วยเพิ่มคำศัพท์ของพวกเขาได้โดยการอ่านหนังสือและเพียงแค่พูดคุยกับลูกน้อยของคุณเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ประจำในแต่ละวัน “คุณไม่ต้องการให้การสื่อสารของคุณง่ายเกินไปหรือซับซ้อนเกินไป” Bonifert กล่าว เมื่อออกไปเดินเล่น แค่ชี้ดอกไม้สวยๆ หรือสุนัขตัวใหญ่ที่คุณเห็นระหว่างการเดินทาง

คำพูดแรกก็จะมาในช่วงอายุครบปีเช่นกัน

ออกท่าออกทาง

เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ใช้ท่าทางในช่วงประมาณ 12 เดือน พวกเขาอาจเริ่มโบกมือทักทายและบ๊ายบาย รวมถึงการส่ายหัวที่บอกว่า ‘ไม่’ การผลัดกันเล่นเป็นสอนทักษะการสื่อสารของทารก Zeit กล่าว สิ่งนี้สามารถทำได้โดยการกลิ้งลูกบอลไปมา แบ่งปันอาหาร หรือแม้แต่พลิกหน้าหนังสือด้วยกัน

ทำตามคำสั่งอย่างง่าย

ลูกน้อยของคุณควรจะสามารถตอบสนองต่อชื่อของพวกเขา เข้าใจคำว่า ‘ไม่’ และ ‘ลาก่อน’ และดำเนินการตามคำของ่าย ๆ เช่น ‘หนูถือตุ๊กตาของคุณได้ไหม’ —ภายใน 18 เดือน ในช่วงเวลานี้ ลูกน้อยของคุณจะสามารถชี้ไปที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เมื่อถูกถาม (‘ขี้ให้ดูหน่อยสะดืออยู่ไหน’) เกมจ๊ะเอ๋สามารถช่วยให้บุตรหลานของคุณพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้

เมื่อครบ 1 ปี เด็กก็เริ่มออกท่าทางได้แล้ว

พูดเยอะเป็นทวีคูณ

เด็กหลายคนระเบิดคลังคำศัพท์ได้เมื่ออายุประมาณ 18 เดือนหรือราว ๆ 18 เดือน Zeit กล่าว “เด็กวัยหัดเดินส่วนใหญ่พูด 50 คำเมื่ออายุได้ 2 ขวบ ในช่วงเวลานี้พวกเขาจะเริ่มรวมคำสองคำเข้าด้วยกัน เช่น ‘แม่ไป’ และ ‘หมาตัวใหญ่'” และคุณสามารถช่วยลูกของคุณด้วยการอธิบายเมื่อพูดคุยกับเธอ แทนที่จะพูดว่า ‘ลูกบอลอยู่ที่ไหน’ ถามว่า ‘ลูกบอลสีแดงลูกใหญ่ของหนูอยู่ที่ไหน’

แสดงความรู้สึก

ภายใน 24 เดือน ลูกของคุณควรสามารถสื่อสารความต้องการเร่งด่วนของตนกับคุณโดยใช้คำพูดได้ (แม้ว่าจะไม่ใช่ทั้งหมดที่สอดคล้องกันก็ตาม) ในวัยนี้ คุณจะเข้าใจคำพูดของลูกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th