Site icon Motherhood.co.th Blog

มาทำความรู้จักกับ “ภาวะน้ำเป็นพิษในเด็ก”

รู้จักภาวะน้ำเป็นพิษในเด็ก

หากให้เด็กทารกรับน้ำมากเกินไป ก็อาจเกิดภาวะน้ำเป็นพิษได้

มาทำความรู้จักกับ “ภาวะน้ำเป็นพิษในเด็ก”

น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญกับทารกเช่นกัน พ่อแม่ต้องตอบสนองความต้องการที่จำกัดแต่สำคัญยิ่งนี้ให้ดี ไม่เช่นนั้นอาจเกิด “ภาวะน้ำเป็นพิษในเด็ก” ได้ แม้ว่าภาวะน้ำเป็นพิษในทารกจะเกิดขึ้นได้ยาก แต่อาจเกิดจากการดื่มน้ำมากเกินไปจากการผสมนมผงที่เจือจางหรือการให้น้ำเปล่าแทนการให้ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) เมื่อทารกท้องเสีย บทความนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการ สาเหตุที่เป็นไปได้ ผลกระทบ และมาตรการป้องกันภาวะน้ำเป็นพิษให้กับลูกน้อยของคุณ

ภาวะน้ำเป็นพิษในเด็กเป็นภาวะที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่รุนแรง เช่น อุณหภูมิร่างกายต่ำและอาการชัก การให้น้ำมากกว่าที่ร่างกายของทารกรับได้ อาจทำให้ระบบอิเล็กโทรไลต์เสียสมดุล ส่งผลให้เกิดอาการน้ำเป็นพิษ

เด็กที่อายุเกิน 6 เดือนเท่านั้นถึงจะดื่มน้ำอย่างอื่นได้นอกจากนม

ทารกควรได้รับน้ำมากแค่ไหน ?

ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนไม่ควรดื่มน้ำ ความต้องการน้ำของพวกเขาในวัยนี้สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมด้วยนมแม่และนมผง ดังนั้น การให้น้ำแก่พวกเขาจึงทำให้พวกเขามีความเสี่ยงที่จะเกิดพิษจากน้ำมากขึ้น ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 12 เดือน คุณสามารถให้น้ำแก่ลูกน้อยได้ 0.5 ถึง 1 ถ้วย (4 ถึง 8 ออนซ์ต่อวัน) ในแต่ละวันหากจำเป็น

ปริมาณน้ำที่แนะนำและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือการให้นมผงนั้นเพียงพอต่อความต้องการน้ำของทารก อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี เช่น อากาศร้อนและเจ็บป่วย การจิบน้ำเพิ่มก็ไม่น่าจะมีปัญหา ยังไงก็ระวังอย่าให้ติดเป็นนิสัย

อาการของภาวะน้ำเป็นพิษในเด็ก

น้ำที่มากเกินไปในร่างกายทำให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) ซึ่งระดับโซเดียมในร่างกายลดลงอย่างผิดปกติ อาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งสมอง

ด้านล่างนี้คือสัญญาณและอาการแสดงของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำในทารก

ในกรณีร้ายแรง ภาวะน้ำเป็นพิษอาจนำไปสู่อาการชักและโคม่าได้ หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในลูกน้อยของคุณ ให้ปรึกษากุมารแพทย์

เวลาเตรียมผสมนมผง ให้ทำตามคำแนะนำข้างบรรจุภัณฑ์อย่างเคร่งครัด

สาเหตุของภาวะน้ำเป็นพิษในทารก

ทารกไม่เลือกที่จะกินน้ำเองโดยสมัครใจ ดังนั้น ภาวะน้ำเป็นพิษเกิดขึ้นเมื่อทารกได้รับน้ำส่วนเกินจากผู้ดูแลด้วยวิธีต่อไปนี้

  1. การให้น้ำและน้ำผลไม้เจือจาง: ทารกที่อายุไม่เกิน 6 เดือนไม่ต้องการน้ำ ความต้องการน้ำของพวกเขาจะถูกตอบสนองอย่างเหมาะสมด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหรือให้นมผง อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองบางคนอาจเริ่มให้น้ำและน้ำผลไม้เจือจางให้ทารกเพื่อให้พวกเขาได้รับน้ำและให้สารอาหาร ซึ่งมันไม่เหมาะกับเจ้าตัวน้อยเนื่องจากไตของทารกยังไม่โตเต็มที่ในการแปรรูปน้ำ
  2. การให้นมผงที่ชงเจือจางมากเกินไป: นมผงแต่ละยี่ห้อต้องการน้ำในปริมาณที่ต่างกันสำหรับการเตรียม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ปกครองปฏิบัติตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์และใช้อัตราส่วนการผสมตามที่กล่าวไว้ เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากการใช้น้ำน้อยกว่าที่กล่าวไว้จะทำให้ออกมาเข้มข้นเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่อาการท้องผูกในทารก ในทางกลับกัน การใช้น้ำมากเกินไปอาจทำให้นมผงที่ชงนั้นเจือจาง ส่งผลต่อความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์และปริมาณสารอาหารที่รับประทานเข้าไป ทำให้เสี่ยงต่อภาวะน้ำเป็นพิษ
  3. การให้น้ำจากถ้วย: ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เลิกใช้ขวดนมสำหรับทารกที่มีอายุระหว่าง 12-24 เดือน ดังนั้น เมื่อเด็กทารกเริ่มจิบน้ำจากถ้วย ทำให้พวกเขากลืนน้ำส่วนเกินโดยที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ

การบำบัดภาวะน้ำเป็นพิษในทารก

อาการน้ำเป็นพิษในทารกเป็นภาวะที่คุณไม่สามารถรักษาได้ที่บ้าน ดังนั้น หากลูกน้อยของคุณแสดงอาการที่มาจากการดื่มน้ำมากเกินไป แนะนำให้พาลูกน้อยไปพบแพทย์ แพทย์จะจัดทำแผนการรักษาเพื่อฟื้นฟูสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายและแก้ไขอาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

ในกรณีส่วนใหญ่ การจำกัดการดื่มน้ำของทารกและปล่อยให้น้ำส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านการถ่ายปัสสาวะจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาขับปัสสาวะและฟื้นฟูระดับโซเดียมโดยให้น้ำเกลือฉีดเข้าเส้นเลือดดำ

เคล็ดลับในการป้องกัน

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับง่าย ๆ เพื่อให้คุณแน่ใจว่าลูกน้อยของคุณดื่มน้ำอย่างเหมาะสมและในปริมาณที่เหมาะสม

อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำเองโดยไม่ดูแล เพราะเด็กอาจกินน้ำเข้าไป

ภาวะน้ำเป็นพิษในทารกเกิดขึ้นได้ยากแต่สามารถนำไปสู่ผลข้างเคียง เช่น อาการชัก เราสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยระวังปริมาณน้ำที่ป้อนให้ทารกและปฏิบัติตามอัตราส่วนการเจือจางที่เหมาะสมขณะเตรียมชงนมผงให้ โดยรวมแล้ว อาการน้ำเป็นพิษสามารถป้องกันได้ง่ายหากคุณควบคุมปริมาณน้ำของทารกไว้ได้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th