Site icon Motherhood.co.th Blog

ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง: จะเกิดอะไรขึ้นถ้าลูกคุณมีอาการนี้

ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงในทารก

หากทารกน้อยของคุณมีภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง จะทำอย่างไร ?

ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง: จะเกิดอะไรขึ้นถ้าลูกคุณมีอาการนี้

นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้หากลูกน้อยของคุณเกิดมาพร้อมกับ “ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง” คุณจะได้รู้ถึงสาเหตุของมัน ผลกระทบที่จะมีต่อลูกน้อย รวมถึงรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับการผ่าตัดอัณฑะ ติดตามทั้งหมดได้ในบทความนี้ค่ะ

ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงคืออะไร ?

เมื่อเด็กทารกเติบโตในมดลูกของแม่ ลูกอัณฑะของเขาจะก่อตัวขึ้นในช่องท้อง ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ลูกอัณฑะจะเคลื่อนตัวลงไปที่ถุงอัณฑะ แต่ในเด็กผู้ชาย 3 เปอร์เซ็นต์ ลูกอัณฑะหนึ่งลูก (หรือที่พบได้น้อยกว่านั้นคือทั้งสองลูก) ยังไม่เสร็จสิ้นการเดินทางเมื่อถึงเวลาคลอด โอกาสที่ลูกอัณฑะของทารกคลอดก่อนกำหนดจะยังเดินทางไปไม่ถึงถุงนั้นสูงกว่ามากที่ 30 เปอร์เซ็นต์

พบได้ประมาณ 3% ของเด็กผู้ชาย

แพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์ตรวจหาลูกอัณฑะที่ไม่ลงถุงเป็นประจำ ในการตรวจทารกแรกเกิด หากพบว่าทารกมีอาการ พวกเขาก็มักจะแนะนำให้คุณไปหาผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะในเด็กอาจใช้วิธีรอดู นั่นเป็นเพราะลูกอัณฑะที่ไม่ลงถุงมักจะเดินทางไปยังจุดที่เหมาะสมด้วยตัวมันเองภายใน 4-6 เดือน อย่างไรก็ตามแพทย์ของคุณอาจสั่งอัลตราซาวนด์ ทำ CT สแกน หรือ MRI เพื่อระบุตำแหน่งที่แน่นอนของอัณฑะ อย่างไรก็ตามการทดสอบเหล่านี้ไม่ไดเจำเป็นจริง ๆ

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันใด ๆ แต่สิ่งที่สังเกตได้คือความผิดปกตินี้มักจะพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทางการแพทย์ได้ลงความเห็นถึงปัจจัยเสี่ยง 9 ประการที่อาจทำให้ทารกตกอยู่ในภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงไว้ ดังนี้

  1. น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  2. ความไม่สมบูรณ์เต็มที่ของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเมื่อทารกคลอดก่อนกำหนด
  3. ภาวะแทรกซ้อนที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) และความผิดพลาดของผนังหน้าท้องด้านใน
  4. บุคคุลในครอบครัวเคยตกอยู่ในภาวะนี้
  5. ผู้ปกครองมีการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช
  6. แม่ดื่มครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์
  7. แม่สูบบุหรี่หรือดมกลิ่นบุหรี่มากในขณะตั้งครรภ์
  8. แม่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าปกติ
  9. แม่เป็นโรคเบาหวาน
เฝ้าดูอาการไปก่อน 4-6 เดือน อาจจะหายได้เอง

ลูกจะต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาหรือไม่ ?

หากลูกอัณฑะของลูกชายของคุณไม่ลงถุงภายใน 4-6 เดือน ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ด้วยตัวเองอีกแล้ว นั่นหมายความว่าลูกของคุณต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข

ความคิดที่ว่าลูกน้อยของคุณต้องได้รับการผ่าตัดอาจทำให้คุณรู้สึกกลัวได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องนำอัณฑะลงไป ประการแรกการเจริญพันธุ์ในอนาคตของเด็กชายอาจขึ้นอยู่กับสิ่งนี้ ลูกอัณฑะที่อยู่ในร่างกายซึ่งตรงข้ามกับในถุงอัณฑะจะร้อนเกินไป ดังนั้น สเปิร์มจะไม่สามารถพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้นลูกอัณฑะที่ไม่ลงไปในถุงจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และในขณะที่การผ่าตัดนำอัณฑะลงไปอาจไม่จำเป็นต้องลบล้างความเสี่ยงนั้น แต่มันก็ทำให้แพทย์สามารถตรวจดูก้อนอัณฑะได้ ความเสี่ยงมะเร็งที่เพิ่มขึ้นมีเพียงเล็กน้อยและใช้ได้กับลูกอัณฑะที่ถูกนำลงมาจากช่องท้องเท่านั้น เมื่อเทียบกับบริเวณขาหนีบ

จะคาดหวังอะไรได้บ้างก่อนและหลังการผ่าตัด ?

อายุที่เหมาะสำหรับการผ่าตัดคือระหว่าง 6-18 เดือน ไม่ควรรอนานเกินไปในช่วง 1 ปีหรือปีครึ่ง เพราะยิ่งลูกอัณฑะไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมนานเกินไป มันก็เริ่มจำกัดความสามารถในการเจริญพันธุ์ของมัน ความเสี่ยงของปัญหาการเจริญพันธุ์มีน้อยมากหากลูกอัณฑะที่ไม่ลงถุงได้รับการซ่อมแซมก่อนอายุ 2 ขวบ

การผ่าตัดสมควรมีขึ้นเมื่อทารกอายุ 6-18 เดือน

การผ่าตัดค่อนข้างรวดเร็ว กินเวลาตั้งแต่ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอัณฑะ (ในบางกรณีที่ลูกอัณฑะอยู่ในช่องท้อง อาจจำเป็นต้องใช้ขั้นตอนสองส่วน) โดยทั่วไปการผ่าตัดจะไม่ซับซ้อน โดยเกี่ยวข้องกับแผลเล็ก ๆ เพียงหนึ่งหรือสองแผลที่ขาหนีบหรือถุงอัณฑะ ในกรณีที่อัณฑะอยู่สูงขึ้นอาจใช้การส่องกล้อง

โดยทั่วไปการฟื้นตัวจะรวดเร็ว ภายในหนึ่งหรือสองวันเด็กส่วนใหญ่จะกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติและจะไม่ร้องไห้หรือแสดงอาการเจ็บปวดอื่น ๆ เด็ก 80-90 เปอร์เซ็นต์จะฟื้นตัวเร็วมาก พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องผ่าตัด โดยทั่วไปเด็กที่อายุน้อยกว่า การฟื้นตัวก็จะยิ่งง่ายขึ้น

แต่ก็คาดหมายได้ว่าจะมีอาการบวมอย่างรุนแรงในภายหลัง อาการบวมและฟกช้ำอย่างแย่ที่สุดจะอยู่ในช่วง 48-72 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด มันสามารถเปลี่ยนจากการดูดีไปสู่การดูน่าตกใจในทันทีทันใด ตั้งแต่ขนาดเท่าลูกกอล์ฟไปจนถึงการบวมขนาดลูกเทนนิสเป็นเรื่องปกติ และไม่ใช่สัญญาณของภาวะแทรกซ้อนหรือเด็กกำลังเจ็บปวดแต่อย่างใก อาการบวมสามารถอยู่ได้นานถึง 6 สัปดาห์

ต้องมีการอัลตราซาวนด์ ทำ CT scan หรือ MRI ก่อนการผ่าตัดหรือไม่ ?

ก่อนที่คุณจะพบผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ของทารกอาจส่งลูกไปตรวจอัลตร้าซาวด์ ทำ CT scan หรือ MRI เพื่อหาตำแหน่งของอัณฑะ แต่นี่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ล้าสมัย เนื่องจากไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สักเท่าไรนัก

หากลูกอัณฑะอยู่ที่ขาหนีบ ศัลยแพทย์สามารถกดขาหนีบลงและคลำได้ ดังนั้น จึงทราบตำแหน่ง มิฉะนั้นลูกอัณฑะก็จะอยู่ในช่องท้อง แต่ลูกอัณฑะของทารกหรือเด็กวัยเตาะแตะมีขนาดเล็ก และเทคโนโลยีการถ่ายภาพยังไม่แม่นยำเพียงพอที่จะบอกได้ว่าสิ่งที่ปรากฏในการสแกนนั้นเป็นลูกอัณฑะที่ไม่ลงถุง ดังนั้น จึงยังคงต้องมีการผ่าตัดเพื่อค้นหาลูกอัณฑะและจากนั้นก็เคลื่อนย้ายมันไปอยู่ในจุดที่เหมาะสมในเวลานั้นเช่นกัน

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th