Site icon Motherhood.co.th Blog

มะเร็งเต้านม โรคมะเร็งอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก

มะเร็งเต้านมในผู้หญิง

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก

มะเร็งเต้านม โรคมะเร็งอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก

“มะเร็งเต้านม” จัดเป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้มากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงทั่วโลก และคนไทยเรามีแนวโน้มป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้นในทุก ๆ ปีด้วย เนื่องในโอกาสที่เดือนตุลาคมนี้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็งเต้านม Motherhood จึงจะนำเสนอเรื่องราวของมะเร็งเต้านมให้ผู้อ่านได้ศึกษากันไว้ค่ะ

มะเร็งเต้านมคืออะไร  ?

มันเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ และอาจมีการแพร่กระจายตัวไปตามทางเดินน้ำเหลือง สู่ต่อมน้ำเหลือง หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างออกไป เช่น กระดูก ปอด ตับ เป็นต้น หากเราตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

อะไรคือปัจจัยเสี่ยง ?

อาการของมะเร็งเต้านม

บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมอาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม และส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด มีเพียงร้อยละ10 ของผู้ป่วยเท่านั้น ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเต้านม ดังนั้น จึงควรไปพบแพทย์เมื่อพบอาการดังต่อไปนี้

การตรวจวินิจฉัย

1. ซักประวัติและตรวจเต้านมโดยแพทย์เฉพาะทาง

2. การตรวจทางรังสีวิทยา

3. การเจาะชิ้นเนื้อส่งตรวจ

การเจาะชิ้นเนื้อส่งตรวจกับพยาธิแพทย์จะทำเมื่อมีการตรวจพบก้อนผิดปกติ หลังจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือการเอกซเรย์ หรือพบการมีแคลเซียมเป็นจุดอย่างผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการตรวจต่อไปว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ซึ่งวิธีที่วินิจฉัยได้แม่นยำคือวิธีการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจ ถ้าเป็นมะเร็งก็จะได้ทำการผ่าตัดและรักษาต่อไป

สามารถคลำตรวจได้ด้วยตัวเอง 3 วิธี

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

80% ของผู้ป่วยจะมาด้วยอาการพบก้อนที่บริเวณเต้านม ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะตรวจพบหรือคลำเจอด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอจะทำให้รู้ว่าลักษณะของเต้านมปกติเป็นอย่างไร และสามารถสังเกตได้หากเริ่มมีความผิดปกติขึ้น เราสามารถตรวจเช็กเต้านมด้วยตนเองด้วย 3 วิธีง่าย ๆ ดังนี้

1. ตรวจตอนอาบน้ำ

สามารถทำได้โดยใช้นิ้วมือวางราบบนเต้านม จากนั้นคลำและเคลื่อนนิ้วเบา ๆ ให้ครบทุกส่วนของเต้านมทีละข้าง

2. ตรวจหน้ากระจก

สามารถทำได้โดยยืนตัวตรงมือแนบลำตัว ยกแขนให้ขึ้นสูงเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะเต้านมทั้งสองข้าง หรือยกมือเท้าที่เอวและกดสะโพกแรง ๆ ไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งและหดตัว แล้วสังเกตลักษณะผิดปกติ

3. ตรวจในท่านอน

สามารถทำได้โดยนอนราบยกมือข้างหนึ่งไว้ใต้ศีรษะ ใช้มืออีกข้างตรวจคลำทุกส่วนของเต้านมทีละข้าง ให้เริ่มคลำจากส่วนนอกและเหนือสุดของเต้านมก่อน แล้วเวียนไปรอบเต้านม ค่อย ๆ เคลื่อนมือเข้ามาเป็นวงแคบ ๆ จนถึงบริเวณเต้านมให้ทั่วทุกส่วน จากนั้นบีบหัวนมเบา ๆ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ สังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติไหลออกมาหรือไม่

รักษากันอย่างไร ?

การรักษาจะต้องอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่าง ๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ มีดังนี้

หากเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรกมักให้ผ่าตัดก่อน

วิธีการรักษาที่ได้ผลดีและได้รับการยอมรับกันในปัจจุบันนี้ ได้แก่

สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก แพทย์จะให้การรักษาโดยการผ่าตัดก่อน และส่วนมากต้องการการรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อการรักษาที่ได้ผลดีขึ้น

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th