Site icon Motherhood.co.th Blog

ยาปฏิชีวนะ กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ยาปฏิชีวนะกับการให้นม

คุณกำลังกังวลในการใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างให้นมลูกอยู้หรือเปล่า ?

ยาปฏิชีวนะ กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่ในช่วงให้นมลูกนั้นแม่ก็ป่วยได้ในบางครั้ง และมันไม่สนุกเลยที่เป็นแบบนั้น แม้ว่า “ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่จำเป็นสำหรับการบรรเทาความเจ็บป่วยหรือสภาวะทางการแพทย์บางอย่าง แต่การติดเชื้อที่หู ไซนัสอักเสบ การทำฟัน หรือโรคเต้านมอักเสบ ก็ยังคงต้องพึ่งพามันอยู่ หากคุณได้รับยาปฏิชีวนะในช่วงให้นมลูก คุณอาจกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของมัน ยาจะผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่หรือไม่ ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่ หากยาปฏิชีวนะที่คุณได้รับการจ่ายยามานั้นไม่ปลอดภัย คุณยังจะมีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่านี้หรือไม่ คำถามทั้งหมดนี้สามารถสร้างความเครียดให้คนเป็นแม่ได้มากมาย ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ค่ะ Motherhood อยากให้คุณอ่านบทความนี้ต่อ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามคาใจของคุณ

คุณสามารถใช้ยาปฏิชีวนะอย่างปลอดภัยขณะให้นมหรือไม่ ?

ในกรณีส่วนใหญ่ ยาปฏิชีวนะปลอดภัยสำหรับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่และตัวทารกเอง ยาปฏิชีวนะจัดเป็นหนึ่งในยาที่คุณแม่ได้รับการสั่งจ่ายมากที่สุดและส่งผ่านไปยังน้ำนมได้ในระดับหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว หากให้ยาปฏิชีวนะโดยตรงแก่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือทารกแรกเกิด มันก็ถือว่าปลอดภัยสำหรับแม่ที่จะรับประทานในระหว่างให้นมลูก แต่สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่ายาโดยทั่วไปทำงานอย่างไรเมื่อคุณให้นม

ยาส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในกระแสเลือดของคุณจะมีอยู่ในน้ำนมของคุณด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณยาในน้ำนมของคุณมักจะต่ำกว่าปริมาณที่มีในเลือด และยาส่วนใหญ่จัดว่าไม่มีความเสี่ยงที่แท้จริงสำหรับทารกส่วนมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อยกเว้น ดังนั้นยาทุกชนิดที่คุณรับประทานรวมถึงยาปฏิชีวนะควรได้รับการปรึกษากับกุมารแพทย์ของทารกเสียก่อน

บางครั้งก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างให้นมลูก

นอกจากตัวยาแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรคำนึงถึง เช่น ลูกของคุณอายุเท่าไหร่ เพราะการได้รับยาปฏิชีวนะจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดมากขึ้น เมื่อเทียบกับทารกที่มีอายุมากกว่าและเด็กวัยหัดเดิน ย้ำอีกครั้ง หากลูกน้อยของคุณสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะได้อย่างปลอดภัย มันก็น่าจะปลอดภัยที่คุณจะรับประทานขณะให้นม

หากคุณกำลังพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะที่อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย คุณจะต้องตัดสินใจว่าการใช้ยานั้นสำคัญเพียงใด มีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่าหรือไม่คุณต้องใช้ยานานแค่ไหน คุณสามารถที่จะปั๊มนมทิ้งและกลับมาให้นมอีกรอบได้หรือไม่

ยาปฏิชีวนะชนิดใดปลอดภัย ?

คำถามนี้เรามักจะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป โดยขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก และสุขภาพโดยรวมของทารก และควรปรึกษากับกุมารแพทย์ของทารก และเภสัชกรที่เป็นผู้สั่งยาให้คุณเสมอ อย่างไรก็ตาม นี่คือรายการยาปฏิชีวนะหลายชนิดที่โดยทั่วไปถือว่าปลอดภัยสำหรับแม่ที่ให้นมลูก

หากคุณกำลังพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ทางออกที่ดีที่สุดคือการพูดคุยกับกุมารแพทย์ของลูก มีโอกาสที่ยาปฏิชีวนะตัวนั้นจะปลอดภัย หรือมีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่า

การรับประทานยาปฏิชีวนะขณะให้นมมีผลอย่างไร ?

นอกเหนือจากความกังวลที่ว่ายาปฏิชีวนะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยแล้ว ยังมีข้อกังวลอื่น ๆ ที่เป็นไปได้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะโดยแม่ที่ให้นม ยาปฏิชีวนะทำงานโดยการฆ่าแบคทีเรียในร่างกายของคุณ ทั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอันตรายและแบคทีเรียตัวดีที่ทำให้คุณมีสุขภาพที่ดี ด้วยเหตุนี้ ยาปฏิชีวนะอาจทำให้เกิดอาการที่ไม่สบายตัวนักสำหรับทั้งแม่และเด็ก

ปวดท้องและงอแงในทารก

บางครั้งแม่รายงานว่าลูกปวดท้องหลังจากกินยาปฏิชีวนะ อาจเป็นเพราะยาปฏิชีวนะอาจทำลายแบคทีเรียตัวดีในลำไส้ของลูกน้อย โปรดทราบว่าผลกระทบนี้มักจะมีอายุสั้นและไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้โปรดทราบว่านมแม่ดีต่อสุขภาพทางเดินอาหารของทารก ดังนั้น คุณจึงควรให้นมแม่ต่อไป และคุณสามารถพิจารณาการให้โปรไบโอติกแก่ทารกเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่สิ่งสำคัญคือคุณควรปรึกษาแพทย์ของทารกก่อน

ทารกอาจจะมีฝ้าขาวบนลิ้นหรือในปากได้

เชื้อราที่ปากหรือลำคอ

ในบางครั้ง เนื่องจากยาปฏิชีวนะสามารถลดจำนวนแบคทีเรียที่ดีในระบบร่างกายของคุณ ที่คอยทำหน้าที่ตรวจสอบจุลินทรีย์อื่น ๆ คุณและลูกน้อยของคุณอาจเกิดเชื้อราขึ้นซึ่งมักเกิดจากเชื้อรา Candida albicans ซึ่งเป็นยีสต์ที่เป็นเชื้อรา

การเจริญเติบโตของเชื้อรา Candida albicans มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการไม่ปกตินักทั้งในแม่และเด็ก ทารกอาจปวดท้อง มีผื่นผ้าอ้อม และมีคราบขาวเคลือบที่ลิ้นและปาก คุณแม่อาจมีอาการเจ็บหัวนม และหัวนมเป็นสีแดงมันวาว

การรักษาโรคนี้มักเกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านเชื้อราสำหรับทั้งแม่และเด็ก แต่การป้องกันโรคก็เป็นสิ่งสำคัญ หากคุณกำลังใช้ยาปฏิชีวนะ ขอแนะนำให้คุณใช้โปรไบโอติกเพื่อให้แบคทีเรียในลำไส้ของคุณมีความสมดุล

โปรไบโอติกคืออะไร ?

โปรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี ที่สามารถพบได้ในอาหารจำพวกนมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารได้ให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติกคือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดี มันเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับตัวที่พื้นผิวของเยื่อบุลำไส้ และผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมาย

อาจเรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นอย่างหนึ่งที่อยู่ในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่หากมีอะไรไปรบกวนสมดุลของพวกมัน จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ถูกรบกวน ก็อาจเกิดผลกระทบตามมา เช่นเมื่อร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ยาเหล่านี้ส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีจำนวนลดลง เมื่อร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจก่อโรคเข้ามา ทำให้มีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ชนิดดีในร่างกายได้

ดังนั้น การสร้างสภาวะความสมดุลระหว่างจุลินทรีย์ประจำถิ่น และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญ ซึ่งการรับประทานโปรไบโอติกจึงเป็นทางเลือกในการเสริมสร้างจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย

รับประทานอาหารที่เป็นโปรไบโอติกเพื่อรักษาสมดุลให้ลำไส้

สิ่งที่คุณควรพูดคุยกับแพทย์ของคุณหากพวกเขากำลังสั่งยาปฏิชีวนะ ?

หากคุณได้รับยาปฏิชีวนะ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ของทารกก่อน สิ่งที่คุณอาจต้องการถาม ได้แก่

หากคุณได้รับแจ้งว่ายาปฏิชีวนะนั้นไม่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณ อย่ากังวล คุณยังคงมีทางเลือกอื่น

หากคุณรู้สึกกังวลว่ากุมารแพทย์หรือแพทย์ของคุณไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง คุณสามารถติดต่อแพทย์รายอื่นเพื่อขอความเห็นที่สองได้ เพราะไม่ใช่แพทย์ทุกรายที่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น อย่าลังเลที่จะค้นหาแพทย์ที่มีความรู้ในเรื่องนี้เพิ่มเติม

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณต้องรับประทานยาที่ไม่ปลอดภัยสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ?

หากสุดท้ายแล้วคุณต้องกินยาที่ไม่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณ พยายามอย่ากังวลมากเกินไป บางครั้งการทานยาปฏิชีวนะที่มีข้อห้ามในการให้นมก็มีความสำคัญต่อสุขภาพของคุณเอง และคุณไม่ควรรู้สึกผิดที่ต้องทำเช่นนั้น ลูกน้อยของคุณต้องการแม่ที่แข็งแรงมากกว่าสิ่งอื่นใด ดังนั้น คุณควรทำในสิ่งที่คุณต้องทำเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

หากคุณไม่สามารถให้นมลูกขณะทานยาปฏิชีวนะได้ ให้ปั๊มนมและเทนมทิ้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาปริมาณน้ำนมของคุณ และให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณได้รับสารอาหารจากวิธีอื่นในขณะที่คุณรอปั๊มนมครั้งต่อไป คุณควรจะสามารถให้นมแม่ได้อีกครั้งเมื่อร่างกายของคุณขับเอายาปฏิชีวนะออกไปแล้ว

คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาและการให้นมได้ที่ไหน ?

หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โปรดติดต่อที่ปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งอาจให้คำปรึกษาคุณเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดชนิดหนึ่งได้ พวกเขายังสามารถแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการตัดสินใจของคุณได้เช่นกัน

หากจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะก็อย่ากังวลจนเครียด

ข้อพึงระวัง

มันเป็นเรื่องยากที่จะเผชิญกับความเจ็บป่วยหรือสภาวะทางการแพทย์ใด ๆ ที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และการต้องคอยกังวลว่ายาปฏิชีวนะที่คุณได้รับการจ่ายมานั้นปลอดภัยพอคุณที่จะรับประทานในฐานะแม่ที่ให้นมหรือไม่อาจเพิ่มความเครียดให้กับคุณ

ยาปฏิชีวนะที่คุณได้รับการสั่งจ่ายนั้นมีแนวโน้มที่ดีค่อยข้างปลอดภัย เด็ก ๆ เองก็อาขได้รับยาปฏิชีวนะบ่อยในวัยเด็ก ดังนั้น จึงควรทราบไว้ว่ายาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ปลอดภัยสำหรับคนหนุ่มสาวรวมถึงทารก นอกจากนี้ หากคุณได้รับยาปฏิชีวนะที่ห้ามใช้ในการเลี้ยงลูกด้วยนม คุณมักจะมีทางเลือกอื่นอยู่เสมอ

บางครั้งการขอทางเลือกอื่นและการขอคำแนะนำจากแพทย์อาจรู้สึกเหมือนเป็นการสนทนาที่ยากลำบาก การปั๊มนมและการทิ้งมันไปเป็นทางเลือกหนึ่ง และสามารถใช้งานได้ดีเมื่อจำเป็น แต่มันก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าทำไมคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลายคนจึงไม่ชอบทางเลือกนี้ และอย่ากลัวที่จะค้นหาข้อมูลและหลักฐานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งการใช้ยาและแสวงหาความเห็นที่สองจากแพทย์ท่านอื่นเมื่อจำเป็น

ที่ปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการปรึกษาเพื่อนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถช่วยให้คุณเข้าใจถึงสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ และช่วยให้คุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นคุณและลูกน้อยของคุณจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีแน่นอนค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th