นม

วิธีเรียกน้ำนมแม่กลับคืน

วิธี “เรียกน้ำนมแม่กลับคืน” หลังจากหยุดไปนาน

by

วิธี “เรียกน้ำนมแม่กลับคืน” หลังจากหยุดไปนาน บางทีคุณอาจเริ่มต้นการให้นมอย่างยากลำบาก คุณเลยตัดสินใจที่จะหยุดให้นมก่อน แต่คุณกำลังคิดใหม่ คุณอยากจะกลับมา “ให้นมลูกอีกครั้ง” และต้องการรู้ว่าทำยังไงสต็อกน้ำนมถึงจะกลับมาและเริ่มต้นให้นมลูกได้อย่างราบรื่นอีกครั้ง หรือบางทีคุณและลูกน้อยของคุณถูกแยกจากกันเนื่องจากปัญหาทางการแพทย์ ทำให้คุณไม่สามารถให้นมลูกได้ทัน และคุณต้องการลองทำมันด้วยตัวเองอีกครั้ง อาจเป็นได้ว่าลูกน้อยของคุณหย่านมไปเมื่อหลายเดือนก่อน แต่ตอนนี้ดูเหมือนสนใจที่จะกินนมอีก คุณเลยต้องการทราบว่ามันคุ้มค่าหรือเปล่า ข่าวดีก็คือ มันเป็นไปได้ค่ะ ปัจจัยที่เพิ่มความสำเร็จในการเรียกน้ำนมแม่กลับคืน ในขณะที่คุณจะเริ่มต้นเรียกน้ำนมแม่ให้กลับคืนมา สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าทุกคนมีความแตกต่างกันและตอบสนองต่อความพยายามในการเรียกน้ำนมแม่ด้วยระดับความสำเร็จที่ต่างกัน ผู้หญิงบางคนจะสามารถนำน้ำนมกลับมาเต็มได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ บางคนอาจใช้เวลานานขึ้นเล็กน้อย และบางคนก็ไม่สามารถดึงน้ำนมกลับมาได้เต็มที่ นมแม่ทุกออนซ์มีค่า…

ก่อนกิน Non-dairy milk

นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนจะให้ Non-dairy milk กับลูก

by

นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนจะให้ Non-dairy milk กับลูก บางคนอาจจะชอบดื่มนมวัว แต่สำหรับผู้ใหญ่หลายคนการดื่มนมวัวก็ไม่น่าอภิรมย์เท่าไรนัก หากคุณไปซูเปอร์มาร์เก็ต คุณจะพบว่าตลาดของ Non-dairy milk หรือนมทางเลือกได้ระเบิดขึ้นแล้ว ราวกับว่าเราสามารถนำทุกอย่างมาทำเป็นนมได้ แต่นมจำพวกนี้อาจไม่ได้ผลิตออกมาเพื่อรองรับโภชนาการที่เด็กวัยหัดเดินต้องการ นี่คือทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับมัน รวมถึงประเภทของนมที่แนะนำและไม่แนะนำ และวิธีเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง ทำไมนมถึงได้รับการแนะนำสำหรับเด็กวัยหัดเดิน เป็นไปได้ว่าคุณเองโตมาโดยได้รับแต่นมวัวเท่านั้น สมัยก่อนกุมารแพทย์สนับแนะนำนมสำหรับกระดูกของเด็กที่กำลังเติบโต ด้วยแคลเซียมที่พบในนม ซึ่งแพทย์แนะนำให้ใช้ทางเลือกอื่นหากคุณแพ้นมเท่านั้น แต่ตอนนี้มีตัวเลือกมากมายโดยไม่จำเป็นว่าต้องเกี่ยวกับอาการแพ้ และกุมารแพทย์ของคุณอาจรู้สึกกับมันแตกต่างไปจากนมวัว…

การเก็บนมแม่ให้ถูก

Do’s & Don’ts สำหรับ “การเก็บนมแม่”

by

Do’s & Don’ts สำหรับ “การเก็บนมแม่” “การเก็บนมแม่” อาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความสับสนให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ หากคุณกำลังให้นมลูกและต้องกลับไปทำงานหรือต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้น คุณอาจต้องพิจารณาใช้เครื่องปั๊มนม และเมื่อคุณเริ่มปั๊มนม สิ่งสำคัญคือต้องรู้วิธีเก็บน้ำนมที่ปั๊มออกอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามคำแนะนำที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ในการเลือกภาชนะบรรจุ การแช่แข็งน้ำนมแม่ การละลายนมแม่ และอื่น ๆ ควรใช้ภาชนะชนิดใดในการจัดเก็บนมแม่ ? ก่อนที่จะจัดการน้ำนมแม่ ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นเก็บนมที่ปั๊มออกมาไว้ในภาชนะแก้วเกรดอาหารแบบมีฝาปิดที่สะอาดหรือภาชนะพลาสติกแข็งที่ไม่ได้ผลิตด้วยสารเคมี Bisphenol A (BPA)…

น้ำนมแม่ลดลง

4 ปัจจัยที่สามารถลดปริมาณ “น้ำนมแม่”

by

4 ปัจจัยที่สามารถลดปริมาณ “น้ำนมแม่” ปัญหาการปนเปื้อนและขาดแคลนนมผงในหลายประเทศทำให้ผู้คนเพิ่มการให้ความสำคัญกับการเลี้ยงลูกด้วย “น้ำนมแม่” มากขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการและประหยัดสำหรับหลายครอบครัว แต่การเปลี่ยนไปใช้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหรือเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณนั้นไม่ง่ายเหมือนการสับสวิตช์ ปริมาณน้ำนมแม่ที่สามารถผลิตได้หลังคลอดบุตรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ สำหรับแม่บางคนเรื่องนี้ดูเหมือนจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของพวกเธอ แต่บางคนสามารถจัดการได้ด้วยการวางแผนเพิ่มเติมและการสนับสนุนจากเพื่อนและครอบครัว สิ่งที่สามารถลดปริมาณน้ำนมแม่ 1. รู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล ความเครียดเป็นตัวการอันดับหนึ่งในการทำลายการผลิตนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ระหว่างการอดนอนและการปรับตารางเวลาของทารก ระดับฮอร์โมนบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เช่น คอร์ติซอล สามารถลดปริมาณน้ำนมของคุณได้อย่างมาก แม่บางคนเปลี่ยนจากการมีน้ำนมเพียงพอไปจนถึงไม่มีเลยเพราะความเครียด…

มายาคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

14 มายาคติเกี่ยวกับ “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่”

by

14 มายาคติเกี่ยวกับ “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” เชื่อว่าคุณแม่แทบทุกคนทราบกันดีแล้วว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” เป็นสิ่งจำเป็น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการให้นมลูกอยู่ในสังคมไม่น้อย ทำให้คุณแม่มือใหม่บางคนรู้สึกกังวลหรือบางครั้งก็มากจนกลายเป็นความรู้สึกผิด วันนี้ Motherhood จะนำเอามายาคติเกี่ยวกับการให้นมลูกมาตีแผ่ให้เห็นข้อเท็จจริงกันค่ะ 1. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องง่าย ทารกเกิดมาพร้อมกับปฏิกิริยาในการค้นหาเต้านมของแม่ อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายคนต้องการความช่วยเหลือในทางปฏิบัติในการวางตำแหน่งทารกในการให้นมลูก และต้องแน่ใจว่าลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องใช้เวลาและการฝึกฝนสำหรับทั้งแม่และลูก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังต้องใช้เวลามาก ดังนั้น คุณแม่จึงต้องการพื้นที่และการสนับสนุนทั้งที่บ้านและที่ทำงาน 2. เป็นเรื่องปกติที่การให้นมลูกจะเจ็บ –…

ติ่งเนื้อรอบหัวนมตอนท้อง

เมื่อคุณมี “ติ่งเนื้อรอบหัวนม” ระหว่างตั้งครรภ์

by

เมื่อคุณมี “ติ่งเนื้อรอบหัวนม” ระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อพูดถึงหัวนมในระหว่างการตั้งครรภ์ ก็เหมือนกับในเวลาปกติที่เรามักพบติ่งเนื้อขึ้นตามร่างกาย อย่างใบหน้าหรือลำคอ แต่การมี “ติ่งเนื้อรอบหัวนม” อาจจะสร้างความประหลาดใจหรือความรู้สึกไม่อยากที่จะยอมรับ เพราะมันเป็นเรื่องที่ทั้งน่าอายและน่ารำคาญเอามาก ๆ โชคดีที่มันไม่เป็นอันตราย เป็นการพัฒนาอย่างหนึ่งบนผิวหนังเทานั้น แล้วมันเกิดขึ้นอย่างนั้นได้อย่างไร? คุณมีติ่งเนื้อที่ดูแย่มากบนหัวนมของคุณได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบให้คุณค่ะ ฉันมีติ่งเนื้อรอบหัวนมระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างไร ? ติ่งเนื้อบนผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อที่เกาะติดกับร่างกาย ปกติจะมากันเป็นกลุ่ม ติ่งเนื้อบนหัวนมจะเป็นที่ไม่พอใจอย่างมาก และจะมีร่องรอยของผิวหนังบนหน้าอกรวมทั้งเต้านมและหัวนมด้วย แต่จะไม่เจ็บอะไรถ้ามันไม่ยื่นมากจนเกินไป มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้คุณรู้สึกรำคาญ…

เลือกนมสำหรับเด็ก

เรื่องของ “นมสำหรับเด็ก” ที่พ่อแม่ต้องรู้

by

เรื่องของ “นมสำหรับเด็ก” ที่พ่อแม่ต้องรู้ “นมสำหรับเด็ก” เป็นอีกแหล่งธาตุอาหารสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจนะคะ เนื่องในวันนี้เป็นวันดื่มนมโลก Motherhood จึงนำเอาสาระดี ๆ เกี่ยวกับการดื่มนมของเด็ก ๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมกันค่ะ เพื่อสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงของลูกรัก เด็กเล็ก / เด็กวัยหัดเดินควรดื่มนมมากแค่ไหน ? เมื่อลูกน้อยของคุณอายุครบ 12 เดือน คุณจะสามารถเพิ่มนมวัวหรือนมทดแทนในอาหารของพวกเขาได้ หากคุณต้องการให้นมลูกต่อไป คุณก็ทำได้เช่นกัน แต่ลูกของคุณจะต้องการนมน้อยลงเมื่อเริ่มเพลิดเพลินกับอาหารอื่น…

ทารกแรกคลอดกินมากแค่ไหน

“ทารกแรกคลอด” ต้องกินมากน้อยแค่ไหน ?

by

“ทารกแรกคลอด” ต้องกินมากน้อยแค่ไหน ? การดูแล “ทารกแรกคลอด” ตัวน้อยของคุณอาจเป็นงานที่น่ากลัวในช่วงสองสามสัปดาห์แรก ไม่ว่าคุณจะให้นมด้วยตัวเองหรือนมชง ตารางการให้นมสำหรับทารกแรกเกิดที่ Motherhood นำมาฝากนี้สามารถใช้เป็นแนวทางได้ค่ะ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่มันไม่ได้มีคู่มือในการให้นมหรือดูแลทารกแรกเกิดที่เหมาะสมกับเด็กทารกทุกคนหรือทุกบ้าน ปริมาณการให้อาหารกับทารกแรกเกิดที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามน้ำหนักตัว ความอยากอาหาร และอายุของทารก นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าคุณให้นมด้วยตัวเองหรือให้นมผง ปรึกษาแพทย์ของคุณหรือที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตรเสมอ หากคุณไม่แน่ใจว่าควรให้อาหารทารกแรกเกิดบ่อยเพียงใด หรือดูหลักเกณฑ์ทั่วไปเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้น ทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ควรกินมากแค่ไหน ? ทารกของคุณอาจจะไม่หิวมากเกินนักในช่วงสองสามวันแรกของชีวิต และอาจจะกินนมเพียงแค่ครึ่งออนซ์เท่านั้นต่อครั้ง ปริมาณจะเพิ่มขึ้นเป็น…

นมจากเต้า VS นมผง

เรื่องน่ารู้ของเหล่าคุณแม่ กับคุณประโยชน์ที่ต่างกันของ “นมจากเต้า VS นมผง”

by

เรื่องน่ารู้ของเหล่าคุณแม่ กับคุณประโยชน์ที่ต่างกันของ “นมจากเต้า VS นมผง” เป็นเรื่องที่รู้กันมานานในกลุ่มคนที่กำลังสร้างครอบครัวและเหล่าคุณแม่ ถึงเรื่องของการให้นมลูก ตั้งแต่ในวัยแรกเกิดจนเป็นทารก ว่าการให้นมในรูปแบบใดที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกน้อยมากที่สุด รวมทั้งความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการให้ลูกกินนมแม่ จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง วันนี้ rabbit finance จะขอนำมาแบ่งปันให้ฟังกัน น้ำนมจากอกแม่ กับความเชื่อที่ผิด คุณแม่มือใหม่และไม่ใหม่หลาย ๆ ท่าน อาจมีความเชื่อผิด ๆ…

ยาปฏิชีวนะกับการให้นม

ยาปฏิชีวนะ กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

by

ยาปฏิชีวนะ กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่ในช่วงให้นมลูกนั้นแม่ก็ป่วยได้ในบางครั้ง และมันไม่สนุกเลยที่เป็นแบบนั้น แม้ว่า “ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่จำเป็นสำหรับการบรรเทาความเจ็บป่วยหรือสภาวะทางการแพทย์บางอย่าง แต่การติดเชื้อที่หู ไซนัสอักเสบ การทำฟัน หรือโรคเต้านมอักเสบ ก็ยังคงต้องพึ่งพามันอยู่ หากคุณได้รับยาปฏิชีวนะในช่วงให้นมลูก คุณอาจกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของมัน ยาจะผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่หรือไม่ ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่ หากยาปฏิชีวนะที่คุณได้รับการจ่ายยามานั้นไม่ปลอดภัย คุณยังจะมีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่านี้หรือไม่ คำถามทั้งหมดนี้สามารถสร้างความเครียดให้คนเป็นแม่ได้มากมาย ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ค่ะ Motherhood อยากให้คุณอ่านบทความนี้ต่อ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามคาใจของคุณ…