Site icon Motherhood.co.th Blog

ทำไงดี ? “ลูกชอบดึงผมตัวเอง”

ช่วยด้วยลูกชอบดึงผมตัวเอง

ทำยังไงดี! ลูกชอบดึงผมตัวเอง

ทำไงดี ? “ลูกชอบดึงผมตัวเอง”

หากคุณสังเกตเห็นว่าลูกวัยเตาะแตะของคุณดึงผม ขนตา หรือคิ้วของเขาเอง สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ … ไม่ต้องทำอะไรเลย ใช่ค่ะ แม้ “ลูกชอบดึงผมตัวเอง” เพียงแค่คุณหมั่นสังเกตเขาสักหนึ่งหรือสองสัปดาห์ เพื่อดูว่าเขาดึงผมเมื่อไหร่และที่ไหน และพฤติกรรมนี้ก็จะค่อย ๆ หายไปเอง

แต่ถ้าคุณรู้สึกว่ามันเป็นการยากสำหรับคุณที่จะเฝ้าดูอยู่เฉย ๆ โดยไม่ได้ทำอะไรกับเรื่องนี้เลย ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับพ่อแม่ส่วนมากมันก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไมมันยากสำหรับคุณ หรือถ้าการดึงผมของลูกยังคงเกิดขึ้นนานกว่า 2 สัปดาห์ หรือเริ่มเห็นว่ามีรอยแหว่งของผมที่ไม่มีทีท่าว่าผมจะงอกขึ้นมาใหม่ในเร็ว ๆ นี้ มันก็เป็นความคิดที่ดีที่คุณจะไปปรึกษาแพทย์

หากรอยแหว่งจากการดึงผมชัดเจน ก็ได้เวลาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

เป็นไปได้มากที่ลูกวัยเตาะแตะของคุณจะเป็นโรคดึงผมตนเอง (Trichotillomania) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่จะชอบดึงผมของตัวเองออก ในเด็กเล็ก การดึงผมมักจะเกิดขึ้นและหายไปได้เอง ในเด็กบางคนจะหายไปโดยสิ้นเชิง และในเด็กบางคนอาการก็จะค่อย ๆ หายไปตามกาลเวลา แต่สำหรับบางคน มันจะกลายเป็นการต่อสู้ตลอดชีวิตของเขา

โรคดึงผมตนเองคืออะไร ?

โรคดึงผม หรือโรคทิโชทิโลมาเนีย (Trichotillomania) คือ โรคที่ไม่สามารถควบคุมความต้องการดึงผมที่พุ่งขึ้นมาจากภายในได้ ซึ่งพบได้ตั้งแต่เด็กวัยเตาะแตะ วัยเรียน ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ หากกระทำขณะที่รู้ตัวอาจจะเกิดจากความรู้สึกไม่สบายหนังศีรษะ คัน หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรยุกยิก ๆ บนนั้น รวมไปถึงรู้สึกว่าเส้นผมไม่ตรง ไม่เรียบทำให้อยากดึงออก หลังจากดึงผมออกแล้วจะรู้สึกสบายใจ รู้สึกโล่งขึ้น ขณะที่การดึงผมโดยไม่รู้ตัว มักจะเกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมอื่น ๆ อยู่ เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ นั่งทำงาน เป็นการกระทำแบบเผลอที่ทำลงไปแบบไม่รู้ตัวและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งการดึงผมทั้งสองแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นในคน ๆ เดียวกันได้

จะรับมืออย่างไร ?

การดึงผมของลูกวัยเตาะแตะจะเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ หรือเป็นปัญหาระยะยาวนั้น เราไม่อาจบอกได้ในตอนแรก แต่ไม่ว่าด้วยวิธีใด คุณควรเรียนรู้วิธีควบคุมพฤติกรรมของลูกให้พ้นจากการดึงผมตัว วิธีนี้ได้ผลเป็นพิเศษในเด็กเล็ก ดังนั้น ยิ่งคุณเริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น

ปัญหาการดึงผมอาจสะท้อนถึงปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน

โรคดึงผมตนเองมักถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นรูปแบบของโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ยา OCD มักใช้ไม่ได้กับโรคนี้ และเด็กที่เป็นโรคนี้มักจะรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ในบางครั้งการดึงผมก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของภาวะวิตกกังวลประเภทย้ำคิดย้ำทำได้จริง การที่เด็กทำพฤติกรรมใดก็ตามกับร่างกาย แล้วส่งผลให้เจ็บป่วย อาจเป็นสัญญาณที่เด็กแสดงออกมาเพราะเขาสะสมเอาความเครียดไว้ในจิตใจก็เป็นได้ บางครั้งเมื่อเด็กรู้สึกเครียดและสับสน เขาไม่รู้จะจัดการกับอารมณ์นั้นอย่างไร จึงแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ทำแล้วเขารู้สึกสบายใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำร้ายร่างกายของเขาเองไปโดยไม่รู้ตัว

ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำการบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรมบางประเภท อาจเป็นการผสมผสานของการปิดกั้นความสามารถของเด็กวัยหัดเดินในการดึงผมของเขาออกมา (โดยปกติจะทำโดยการสวมถุงมือหรือถุงเท้าที่มือ หรือโดยการเย็บข้อมือของเสื้อเชิ้ตแขนยาวหรือชุดนอนเข้าด้วยกัน) และให้ของอย่างอื่นแก่เขาเพื่อให้ได้รับสิ่งกระตุ้นทางประสาทสัมผัสที่เขาต้องการ อาจเป็นตุ๊กตาสัตว์ที่มีพื้นผิวสวยงาม ผ้าซาติน หวีผม หรือแปรงสีฟัน

ความสนใจเชิงลบต่อพฤติกรรม เช่น การจับนิ้วของเด็กวัยหัดเดินเมื่อคุณเห็นว่าเขาเริ่มดึงผม การพูดว่า ‘อย่านะ’ หรือแสดงความโกรธ นั้นไม่ได้ผล ลูกวัยเตาะแตะของคุณจะไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงทำปฏิกิริยาแบบนี้ การโกนศีรษะให้เด็กมักจะได้ผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น เว้นแต่คุณจะใช้ร่วมกับสิ่งของทดแทนที่ตอบสนองความต้องการทางประสาทสัมผัสของลูกคุณ การให้เหตุผลกับลูกวัยเตาะแตะ อบย่งเช่น ‘หนูไม่อยากหัวล้านใช่ไหม’ ยังใช้งานไม่ได้ผล เด็กวัยหัดเดินไม่สามารถคิดไกลได้ขนาดนั้น

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th