ลูกชอบตีตัวเอง กัดตัวเอง พ่อแม่ทำไงดี ?
สำหรับคุณที่กำลังมีลูกวัยเตาะแตะ หาก “ลูกชอบตีตัวเอง” โดยเจตนา ไม่แปลกอะไรเลยที่คุณจะกังวลค่ะ สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ถามตัวเองให้ดีว่าอะไรอยู่เบื้องหลังการลงโทษตัวเองเหล่านี้ของลูก ลูกของคุณเปลี่ยนความโกรธที่เขารู้สึกที่มีต่อคุณหรือผู้ใหญ่คนอื่นในชีวิตให้กับตัวเอง เพราะเขาไม่รู้ว่าจะแสดงออกด้วยวิธีอื่นอย่างไรหรือเปล่า ?
อาจเป็นไปได้ว่าเขาหงุดหงิดกับใครบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง ที่ทำให้เขาเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวตามปกติแต่ไม่ได้ให้การปลดปล่อยอย่างเพียงพอหรือเปล่า ? เขาจึงเกิดความรู้สึกผิดที่โกรธ จนเขาคิดว่าต้องลงโทษตัวเองด้วยอารมณ์นี้หรือไม่ ? เป็นไปได้ไหมที่ใครบางคนอาจกำลังลงโทษเขาด้วยวิธีนี้ ? ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ตบตัวเองอาจเพราะเขาถูกตีมาก่อน และเด็กที่กัดตัวเองอาจทำลงไปเพื่อเป็นการลงโทษตัวเองที่ไปกัดเด็กคนอื่น แต่คุณอย่าเพิ่งด่วนสรุปอะไร แต่จำสิ่งนี้ไว้เมื่อคุณพูดคุยกับผู้ดูแลและญาติของเด็กเกี่ยวกับพฤติกรรมของเขา
หากคุณต้องการทราบคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหา ให้คิดให้รอบคอบว่าการลงโทษตนเองของเด็กเริ่มต้นเมื่อใด และมีอะไรเกิดขึ้นบ้างกับลูกของคุณในช่วงเวลานั้น บางทีคุณอาจสังเกตเห็นมันครั้งแรกเมื่อพ่อของเขาเดินทางไปทำธุรกิจ หรือบางทีอาจปรากฏขึ้นครั้งแรกในสัปดาห์ที่เขาย้ายจากพื้นที่อบอุ่นสบาย ๆ ของห้องเด็กทารกในสถานรับเลี้ยงเด็กไปยังห้องเด็กวัยหัดเดินที่อึกทึกกว่า และต้องอยู่ห่างจากผู้ดูแลที่ไว้ใจได้และคุ้นเคยของเขา หากคุณสามารถระบุเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน คุณอาจจะสามารถกำจัดรูปแบบพฤติกรรมที่ก่อกวนนี้ได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าคุณจะไม่สามารถตำหนิการกัดหรือตีตัวเองของลูกวัยเตาะแตะได้ก็ตาม คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะทำให้เขามีโอกาสน้อยลงที่จะนำอารมณ์ด้านลบไปลงกับตัวเอง ดังนั้น จงให้ความสนใจกับเขาแบบตัวต่อตัวอย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้เขารู้สึกดีกับตัวเอง และเล่นเกมที่มีเสียงดังและเคลื่อนไหวร่างกายร่วมกันเพื่อช่วยให้เขาเผาผลาญความโกรธขึ้งที่อาจปะทุอยู่ภายใน
ในระหว่างนี้ สิ่งสำคัญคือต้องหยุดลูกวัยหัดเดินของคุณเมื่อเขาทำร้ายตัวเอง รอยฟกช้ำและรอยกัดไม่ดีต่อร่างกายของเขาแน่นอน แต่ที่สำคัญกว่านั้น พฤติกรรมนี้ไม่เป็นผลดีต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเขา ขัดจังหวะการกัดหรือตีโดยค่อย ๆ อุ้มลูกของคุณหรือนั่งและค่อย ๆ รวบเขาไว้บนตักของคุณ จากนั้นบอกเขาว่าคุณจะไม่ปล่อยให้เขากัดและตีตัวเอง เพราะคุณรักเขาและเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องดูแลเขา แม้ว่าคำพูดของคุณส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าหัวเขาเท่าไรนัก เขาจะเข้าใจประเด็นของคุณ และนี่เป็นหลักฐานแสดงความรักและความห่วงใยที่เขาอาจกำลังมองหา
โชคดีที่พฤติกรรมสุดโต่งในเด็กวัยนี้มักจบลงทันทีที่เริ่ม แต่ถ้าลูกวัยเตาะแตะของคุณยังคงตั้งใจทำร้ายตัวเองหลังจากผ่านไปกว่า 1 สัปดาห์ ให้ปรึกษากับแพทย์ของเขา แต่อย่าปล่อยให้หมอหรือใครก็ตามปัดประเด็นนี้ตกไป “ไม่ต้องกังวลไป เด็ก ๆ จำนวนก็ทำกันแบบนี้” อาจเป็นความจริงอย่างที่เขาว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรสำรวจทางเลือกต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือแม้แต่การเล่นบำบัดเพื่อช่วยให้ลูกของคุณจัดการกับอารมณ์ของเขาได้ดีขึ้น
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th