Site icon Motherhood.co.th Blog

10 กันยายน “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก”

10 กันยาวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก

เรียนรู้ถึงสัญญาณอันตราย ที่จะนำไปสู่การฆ่าตัวตายของเด็กและวัยรุ่น

10 กันยายน “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก”

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้วันที่ 10 กันยายนของทุก ๆ ปี เป็น “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก” หรือ ‘World Suicide Prevention Day’ เพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันการฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองในคนอายุ 10-24 ปี เราจะเห็นได้ว่าแม้แต่เด็กและวัยรุ่นเองก็เผชิญกับปัญหานี้ไม่แพ้ผู้ใหญ่ ดังนั้น การที่พ่อแม่รับรู้ถึงสัญญาณเตือนที่ละเอียดอ่อนก็จะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันได้

เมื่อเด็กมีความคิดจะฆ่าตัวตาย

ความเข้าใจผิดประการหนึ่งเกี่ยวกับการพูดคุยกันถึงเรื่องการฆ่าตัวตายคือ การพูดถึงเรื่องนี้ทำให้เด็กและวัยรุ่นคิดเกี่ยวกับมัน ความจริงก็คือพ่อแม่ไม่มีทางรู้แน่ชัดว่าเด็กมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือไม่ หากพวกเขากลัวเกินกว่าจะตั้งคำถามถึงมัน พฤติกรรมฆ่าตัวตายในเด็กนั้นซับซ้อน มันอาจจะเป็นความหุนหันพลันแล่นและเกี่ยวข้องกับความรู้สึกสับสน เศร้า หรือโกรธ

สิ่งที่เป็นเหมือนสัญญาณอันตรายที่ผู้คนควรมองหาอาจเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในเด็กเล็ก ในขณะที่ผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวอาจพูดทำนองว่า “ให้ฉันไปจากพวกคุณเสียดีกว่า” ในเด็กอาจพูดว่า “ไม่มีใครสนใจว่าหนูอยู่ที่นี่”

การศึกษาเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายและความคิดฆ่าตัวตายในเด็กวัยเรียนประถมมีจำกัดและมีแนวโน้มว่าจะมีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ทำให้ยากต่อการเชื่อมโยงความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างตัวกระตุ้นเฉพาะและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics ได้เปรียบเทียบลักษณะและปัจจัยกระตุ้นการฆ่าตัวตายระหว่างเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา (อายุ 5-11 ปี) กับวัยรุ่นตอนต้น (อายุ 12-14 ปี)

ผลการศึกษาพบว่าเด็กที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมักประสบปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง (เมื่อเทียบกับปัญหาความสัมพันธ์กับแฟนของวัยรุ่น) ทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต ในขณะที่วัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่า

พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และคนใกล้ชิด ต้องไม่ละเลยสัญญาณเตือน

สัญญาณเตือนที่ละเอียดอ่อนในเด็ก

แม้ว่าสัญญาณเตือนในเด็กอาจดูละเอียดอ่อนมาก แต่การเรียนรู้ถึงสัญญาณอันตรายที่อาจเกิดขึ้นก็มีบทบาทสำคัญในการเข้าแทรกแซงปัญหา

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพื้นฐาน

เชื่อในกึ๋นของคุณ หากคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ขอให้โน้ตไว้ได้เลย แม้ว่าพฤติกรรมฆ่าตัวตายมักเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้า คุณอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ในลูกของคุณ

การเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียน

เป็นเรื่องปกติอย่างยิ่งที่เด็ก ๆ จะประสบกับความขึ้น ๆ ลง ๆ ในระหว่างกระบวนการเรียนรู้ แต่รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงเชิงลบอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือ ควรจดบันทึกสิ่งต่อไปนี้

เด็กบางคนก็ค้นหาวิธีที่จะทำให้ตัวเองตายได้จริง ๆ

หมกมุ่นอยู่กับความตาย

เป็นเรื่องปกติที่เด็กๆ จะนึกถึงความตายในบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาต้องเผชิญกับความสูญเสียหรือได้ยินเกี่ยวกับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมจากข่าว การหมกมุ่นอยู่กับความตาย การค้นคว้าหาหนทางที่จะตาย และ/หรือพูดถึงความตายของตนเองอาจเป็นสัญญาณอันตราย ระวังสัญญาณเตือนต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับความคิดเกี่ยวกับความตาย

พิจารณาข้อความฆ่าตัวตายทั้งหมดอย่างจริงจัง โดยค้นหาการประเมินสำหรับบุตรหลานของคุณ

ความรู้สึกสิ้นหวัง

เด็กที่มีความคิดฆ่าตัวตายอาจสื่อถึงความรู้สึกสิ้นหวังในอนาคต พวกเขายังอาจกล่าวถ้อยคำที่สื่อเกี่ยวกับการหมดหนทาง คำพูดเหล่านี้บ่งบอกว่าเด็กรู้สึกราวกับว่าไม่มีอะไรจะทำได้เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับพวกเขา และไม่มีใครสามารถช่วยได้

พินัยกรรมแบบเด็ก ๆ

เด็กบางคนจะให้สิ่งของที่พวกเขาชื่นชอบหรือบอกพ่อแม่ พี่น้อง หรือเพื่อนฝูงที่ควรได้รับของชิ้นโปรด ในขณะที่การพูดถึงการแบ่งทรัพย์สินอาจดูเหมือนเป็นการล้อเล่นสำหรับพ่อแม่ แต่ก็สามารถส่งสัญญาณถึงความคิดที่จะฆ่าตัวตายเมื่อรวมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอื่น ๆ

การเขียนหรือวาดภาพเกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย

เด็กๆ มักมีปัญหาในการพูดสื่อสารถึงอารมณ์ที่รุนแรง แต่พวกเขามักจะเขียนหรือวาดเกี่ยวกับอารมณ์นั้น บทกวี เรื่องราว หรืองานศิลปะที่แสดงถึงการฆ่าตัวตายหรืองานเขียนและภาพวาดเกี่ยวกับความตายบ่อยครั้งควรได้รับการประเมิน

งานศิลปะของเด็กบางทีก็สะท้อนถึงความเศร้าที่มีอยู่ข้างใน

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่สำคัญ

เด็ก ๆ จะประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เมื่อพวกเขาเติบโตและเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียด แต่การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่สำคัญส่งสัญญาณว่ามีปัญหา คุณรู้จักลูกของคุณดีที่สุด หากจู่ ๆ ลูกของคุณเปลี่ยนจากความสงบและค่อนข้างมีความสุขไปเป็นก้าวร้าว มีภาวะถอนตัวอย่างเต็มที่ หรือวิตกกังวลอย่างมาก สิ่งสำคัญคือต้องขอความช่วยเหลือ

นอกจากสัญญาณเตือนว่าเด็กอาจมีความคิดฆ่าตัวตายแล้ว ยังมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถยกระดับความเสี่ยงได้

สัญญาณของความคิดหรือพฤติกรรมฆ่าตัวตายควรได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง ผู้ปกครองควรถามคำถามเฉพาะเกี่ยวกับความคิดฆ่าตัวตายว่า “หนูกำลังคิดที่จะทำร้ายหรือฆ่าตัวตายอยู่หรือเปล่า” พ่อแม่ควรพูดอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าโดยถามคำถาม เช่น “ช่วงนี้หนูรู้สึกหดหู่หรือเศร้ามากไหม” คำถามเหล่านี้แสดงว่าคุณเข้าใจและห่วงใยบุตรหลานของคุณ การแสดงความเห็นอกเห็นใจในยามที่เกิดวิกฤตทางอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ

การสนับสนุนที่ถูกต้องจากพ่อแม่จะช่วยให้เด็กรับมือกับปัญหาชีวิตได้ดีขึ้น

ไม่ว่าลูกของคุณจะตอบคำถามเหล่านี้อย่างไร จำเป็นต้องขอการประเมินโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจิตที่มีใบอนุญาตซึ่งเชี่ยวชาญในการทำงานกับเด็ก หากคุณไม่แน่ใจว่าจะขอความช่วยเหลือจากที่ใด ให้เข้าพบกับกุมารแพทย์ของบุตรหลานทันที และระบุว่าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพจิตของบุตรหลานและพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

ด้วยการสนับสนุนที่เหมาะสม เด็ก ๆ สามารถทำงานผ่านความรู้สึกและสิ่งกระตุ้นที่ส่งผลให้เกิดการคิดฆ่าตัวตาย และเรียนรู้ทักษะการเผชิญปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับสถานการณ์ชีวิตที่ยากลำบาก

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th