Site icon Motherhood.co.th Blog

พ่อแม่ต้องระวัง “สายตาสั้นเทียม” ในเด็ก

ลูกเป็นสายตาสั้นเทียม

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกสายตาสั้นเทียมหรือสายตาสั้นจริง ?

พ่อแม่ต้องระวัง “สายตาสั้นเทียม” ในเด็ก

หากลูกวัยต่ำกว่า 12 ปีของคุณมีภาวะ “สายตาสั้นเทียม” แต่คุณไม่ทราบ คุณกลับพาเขาไปตัดแว่นเพราะคิดว่าเขาสายตาสั้นทั่ว ๆ ไป อาการที่เกิดขึ้นกลับไม่ได้รับทางแก้ที่ถูกต้อง นานเข้าก็ก่อให้เกิดปัญหาสายตาสั้นจริงได้ในที่สุด แต่เราจะแยกแยะได้อย่างไรละ ว่าลูกเราสายตาสั้นจริงหรือเปล่า หรือมีภาวะสายตาสั้นเทียมกันแน่ บทความนี้จะมีคำตอบให้คุณค่ะ

ทำความรู้จักภาวะสายตาสั้นเทียม

สายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia) เกิดจากการหดตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ในลูกตาเพื่อให้เลนส์ตาโป่งออก ทำให้สภาพตาขณะนั้นเหมือนเป็นคนสายตาสั้น เราจึงมองเห็นของที่อยู่ใกล้ชัดขึ้น แต่พอเราเลิกมองระยะใกล้ กล้ามเนื้อพวกนี้ก็จะคลายตัวโดยอัตโนมัติ ทำให้เราเห็นของที่อยู่ไกลชัดขึ้น ไม่ใช่ต้นเหตุของสายตาสั้นจริง ๆ

การตัดแว่นสายตาสั้นทั้งที่ไม่ได้ตาสั้นจริงนั้นไม่เป็นผลดี

โดยปกติกล้ามเนื้อส่วนนี้จะหดและคลายตัวสลับกันไปมาอยู่ตลอด แต่หากเราใช้สายตาเพ่งดูจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์นานเกินไป ก็จะทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ในตาหดตัวเกือบตลอดเวลาทำให้มีอาการเสมือนอยู่ในสภาพสายตาสั้น มองไม่ชัด แต่เมื่อใส่แว่นสายตาสั้น ก็จะมองชัดขึ้น หากพาไปวัดค่าสายตา ก็จะออกมาเป็นค่าที่สั้นจริง ๆ แต่ไม่ใช่ค่าสายตาสั้นที่ถาวร

สายตาสั้นเทียมเพราะสมาร์ทโฟนจริงหรือ ?

สายตาสั้นเทียมมักเกิดขึ้นในเด็กอายุประมาณ 6 ปีขึ้นไป และพบน้อยลงในวัยรุ่น ส่วนในผู้ใหญ่ก็จะไม่มี เพราะกลไกการเพ่งของสายตาในเด็กจะมีแรงกำลังมาก จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น เช่น คนอายุ 40 ปีจะไม่มีกำลังการเพ่งดีเท่าเด็ก

อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่มักมีการใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์อย่างเต็มรูปแบบ หากมีการใช้งานเป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสายตาสั้นเทียมในเด็กได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีอาการ ?

อาการของสายตาสั้นเทียมและสายตาสั้นจริงมีส่วนที่เหมือนกันตรงที่มองไกลไม่ชัดทั้งคู่ แต่สำหรับอาการสายตาสั้นเทียมจะมีอาการที่สังเกตได้  ดังนี้

การใช้สายตามากในที่แสงน้อยก็ส่งผลได้เช่นกัน
ใส่แว่นสายตาสั้น แต่ตาไม่สั้นจริง มีผลเสียมั้ย ?

หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่าลูกสายตาสั้น ทั้งที่จริงลูกมีอาการสายตาสั้นเทียม แล้วรีบพาลูกไปตัดแว่นสายตาสั้น อาจทำให้สายตาของลูกคุ้นชินกับการเพ่งตลอดเวลา เมื่อลูกถอดแว่นจะทำให้มองเบลอจนไม่สามารถถอดแว่นได้ กลายเป็นเด็กติดแว่น ซึ่งอาจทำให้สายตาของลูกสั้นจริง ๆ ได้

การรักษาสายตาสั้นเทียม

1. หากเกิดจากการใช้สายตามากเกินไป

2. สายตาสั้นเทียมเกิดจากมีโรค ให้รักษาที่ตัวโรค เช่น โรคม่านตาอักเสบ อุบัติเหตุที่ก้านสมอง

พาลูกไปพบจักษุแพทย์ก่อนได้เลยโดยไม่ต้องรอให้มีปัญหา
การป้องกัน
  1. ใช้สูตร 20 : 20 : 20 เพื่อลดการเพ่งสายตาลง คือใช้งานแบบเพ่ง 20 นาที จากนั้นมองไกล 20 ฟุต นาน 20 วินาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อในดวงตาผ่อนคลาย
  2. อย่าให้ลูกเล่นเกม อ่านหนังสือ หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในที่มืด เพราะทำให้ต้องใช้สายตาหนักขึ้น
  3. ใช้แว่นที่มีกำลังตามค่าสายตาจริง ไม่ต้องใช้เเว่นที่มีค่าสายตามากกว่าที่วัดได้ โดยค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนเท่ากับค่าสายตาจริง
  4. กำหนดเวลาในการเล่นเกมหรือใช้หน้าจออย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ลูกใช้สายตามากเกินไปจนต้องเกร็งกล้ามเนื้อตา และหมั่นหากิจกรรมกลางแจ้งอื่น ๆ ให้ลูกทำแทน
  5. ควรพาเด็ก ๆ ไปตรวจสายตากับจักษุเเพทย์ เพื่อที่จะได้ตรวจสอบระบบประสาทตาและสายตาโดยรวมอย่างเเม่นยำ โดยเริ่มพาไปตรวจเมื่ออายุ 3-5 ปี แม้จะไม่มีอาการผิดปกติมาก่อนก็ตาม

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th