Site icon Motherhood.co.th Blog

การติดเชื้อ “หนองในเทียม” ระหว่างตั้งครรภ์

ติดหนาองในเทียมตอนท้อง

ทำไมการตรวจหาเชื้อหนองในเทียมระหว่างตั้งครรภ์ถึงจำเป็น ?

การติดเชื้อ “หนองในเทียม” ระหว่างตั้งครรภ์

“หนองในเทียม” เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถส่งต่อไปยังลูกน้อยของคุณโดยมีผลร้ายแรง เนื่องจากโดยปกติจะไม่มีอาการใด ๆ ให้เห็น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องได้รับการตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ หากคุณเข้ารับการทดสอบและพบว่าผลเป็นบวก ทั้งคุณและคู่ของคุณจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่ามันสามารถส่งผลกระทบไปยังลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างไรบ้าง

โรคหนองในเทียมคืออะไร ?

หนองในเทียมเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่สามารถรักษาได้ ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทางอวัยวะเพศ ทางปาก หรือทางทวารหนัก นอกจากนี้ ยังสามารถส่งผ่านจากผู้หญิงไปยังทารกในระหว่างการคลอดได้ด้วยเช่นกัน

หากตรวจพบและรับการรักษาเร็วลดความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ได้

โรคหนองในเทียมสามารถส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้อย่างไร ?

การรักษาอย่างทันท่วงทีอาจลดความเสี่ยงของปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ผู้หญิงที่เป็นหนองในเทียมในระหว่างตั้งครรภ์มักจะมีอัตราสูงกว่าที่จะ

การศึกษาวิจัยบางชิ้นพบความเชื่อมโยงของโรคหนองในเทียมกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการแท้งบุตร แม้ว่าการศึกษาอื่น ๆ จะยังไม่พบความเกี่ยวข้องก็ตาม

การติดเชื้อหนองในเทียมที่ไม่ได้รับการรักษายังทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ (STIs) ได้มากขึ้นหากคุณสัมผัสกับพวกมัน นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในมดลูกหลังจากที่คุณมีลูกอีกด้วย

โรคหนองในเทียมสามารถส่งผลกระทบต่อทารกหรือไม่ ?

ส่งผลกระทบไปยังทารกได้ หากคุณมีการติดเชื้อหนองในเทียมเมื่อคุณคลอดบุตร มีโอกาสที่คุณจะส่งผ่านแบคทีเรียไปยังลูกน้อยของคุณ ในความเป็นจริงทารกจำนวนมากถึงครึ่งหนึ่งที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติจากมารดาที่เป็นหนองในเทียมที่ไม่ได้รับการรักษา และแม้แต่ทารกบางรายที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะติดเชื้อ

ระหว่าง 25-50 เปอร์เซ็นต์ของทารกเหล่านี้จะเกิดการติดเชื้อที่ตา (เยื่อบุตาอักเสบ) ในช่วง 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์หลังคลอด (การใช้ยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งใส่ในดวงตาของทารกหลังคลอด เพื่อป้องกันโรคตาแดง ไม่ได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อหนองในเทียม) และร้อยละ 5-30 ของทารกที่ติดเชื้อหนองในเทียมระหว่างการคลอดจะมีอาการปอดบวมในไม่กี่สัปดาห์ถึงหลายเดือนหลังคลอด

แม้ว่าการติดเชื้อเหล่านี้อาจร้ายแรงมาก แต่ทารกที่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยยาปฏิชีวนะมักจะหายเป็นปกติดี แน่นอนว่าควรได้รับการรักษาก่อนคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยของคุณติดเชื้อตั้งแต่แรก

จะพบอาการปวดท้องหากคุณมีเชื้อ

อาการเป็นอย่างไร ?

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าในเคสของการเป็นหนองในเทียมส่วนใหญ่ (มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิง) มักไม่แสดงอาการใด ๆ หากคุณมีอาการอาการเหล่านี้ และมีแนวโน้มที่จะแสดงขึ้นในช่วงประมาณ 1-3 สัปดาห์หลังจากที่คุณได้รับการสัมผัสกับเชื้อ อาการเหล่านี้อาจรวมถึง

ผู้ชายถึง 70 เปอร์เซ็นต์ที่ติดเชื้อหนองในเทียมไม่มีอาการ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีมูกใสหรือขุ่นไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ รู้สึกเจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ รู้สึกปวดหรือมีการบวมที่ลูกอัณฑะ และการอักเสบของทวารหนัก สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณหรือคู่ของคุณมีอาการของหนองในเทียม และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณทั้งสองได้รับการทดสอบและรับการรักษาหากจำเป็น

โรคหนองในเทียมสามารถทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบได้หรือไม่ ?

ได้ ก่อนและหลังการตั้งครรภ์ หนองในเทียมสามารถเดินทางขึ้นจากปากมดลูกเพื่อไปติดเชื้อในมดลูกหรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (PID) ได้ ในความเป็นจริงแล้ว ผู้หญิงมากถึง 15 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อหนองในเทียมและไม่ได้รับการรักษาจะจบลงด้วย PID พบว่าเป็นไปได้ที่จะได้รับ PID ในระหว่างตั้งครรภ์ แต่มักไม่ค่อยเกิดขึ้น

อาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบได้แก่

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจส่งผลให้ท่อนำไข่ของคุณเสียหายถาวร และนำไปสู่อาการปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรังและภาวะมีบุตรยาก รวมทั้งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการตั้งครรภ์นอกมดลูกหากคุณตั้งครรภ์

นอกจากนี้คุณต้องแน่ใจว่าได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์อื่นด้วย

จะได้รับการตรวจคัดกรองหนองในเทียมระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ ?

โดยส่วนมากเป็นเช่นนั้น เนื่องจากการตรวจหาและรักษาหนองในเทียมในระหว่างตั้งครรภ์มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อย และเนื่องจากการติดเชื้อมักเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการ แพทย์จึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองหนองในเทียมเมื่อเข้ารับการตรวจครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก

ในการตรวจหาหนองในเทียมแพทย์ของคุณจะเก็บตัวอย่างจากทั้งช่องคลอดหรือปากมดลูก หรือตัวอย่างปัสสาวะที่ควรเป็นปัสสาวะที่ทิ้งระยะจากการปัสสาวะครั้งล่าสุด 1-2 ชั่วโมง ไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิเคราะห์ โดยปกติ การวินิจฉัยโรคจะเสร็จสิ้นภายใน 1 วัน และจะทราบผลหลังการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งประมาณ 7-10 วัน 

หากการทดสอบหนองในเทียมของคุณเป็นบวก และคุณไม่ได้รับการทดสอบสำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ในเวลาเดียวกัน แพทย์ของคุณจะดำเนินการตรวจในตอนนี้เสียเลย

หากคุณอายุต่ำกว่า 25 ปีหรือมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อหนองในเทียม (คุณหรือคู่ของคุณมีคู่นอนใหม่หรือมีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน) แพทย์ของคุณาจทำการทดสอบซ้ำในช่วงไตรมาสที่สาม เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ติดเชื้อขณะที่คุณเตรียมคลอด นอกจากนี้คุณจะได้รับการทดสอบอีกครั้งหากคุณเคยติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์อื่นในระหว่างตั้งครรภ์ หรือหากคุณหรือคู่ของคุณมีอาการของหนองในเทียม

รักษาโรคหนองในเทียมอย่างไรในระหว่างตั้งครรภ์ ?

คุณจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยในการตั้งครรภ์ แพทย์ของคุณอาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะที่คุณรับประทานในขนาดเดียว หรือครั้งเดียวสำหรับระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ (อย่าลืมกินยาให้ตรงตามที่กำหนด) โดยส่วนใหญ่แล้ว การรักษา 1 รอบจะรักษาการติดเชื้อได้

คู่ของคุณควรได้รับการรักษาไปพร้อม ๆ กัน และคุณทั้งคู่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าการรักษาจะแล้วเสร็จไปอีก 1 สัปดาห์ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ติดเชื้อซ้ำ ซึ่งแพทย์แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการทดสอบอีกครั้งในช่วง 3-4 สัปดาห์ หลังจากเสร็จสิ้นการรักษา เพื่อให้แน่ใจว่าการติดเชื้อหายไป

ถึงอย่างไรก็ควรป้องกันไว้ดีกว่า

จะหลีกเลี่ยงการเป็นหนองในเทียมระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างไร ?

มีเซ็กส์เฉพาะกับคู่นอนระยะยาวที่มีเซ็กส์กับคุณเท่านั้น มิฉะนั้น ให้ใช้ถุงยางอนามัยในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และใช้แผ่นยางอนามัย (Dental dam) สำหรับการทำออรัลเซ็กส์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นหนองในเทียมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

หากเป็นไปได้ว่าคุณเคยสัมผัสกับเชื้อหนองในเทียม (หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ) ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือคุณมีอาการใด ๆ ให้บอกแพทย์ของคุณทันที เพื่อให้คุณได้รับการตรวจและรักษาหากจำเป็น

การตรวจหาโรคหนองในเทียมเป็นหนึ่งในการตรวจจำนวนมากที่คุณจะได้รับระหว่างตั้งครรภ์ นี่คือภาพรวมของการตรวจที่คุณจะพบได้ในแต่ละไตรมาสของคุณ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th