Site icon Motherhood.co.th Blog

อาการของคนท้อง เช็คทุกระยะ สัปดาห์ต่อสัปดาห์

ลิสท์อาการของคนท้อง

ในแต่ละสัปดาห์ แม่ท้องจะมีอาการอย่างไรบ้าง คุณต้องรู้

อาการของคนท้อง เช็คทุกระยะ สัปดาห์ต่อสัปดาห์

สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก Motherhood อยากให้คุณตรวจสอบระยะเวลาของการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งดูรายการ “อาการของคนท้อง” นี้ ที่เราจัดรายละเอียดให้เห็นกันแบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์ เพราะร่างกายของคุณจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายตลอดการตั้งครรภ์ ตั้งแต่อาการเจ็บตึงที่เต้านมในไตรมาสแรก จนไปถึงอาการปวดหลังในช่วงไตรมาสที่สาม เตรียมตัวของคุณให้พร้อมด้วยลิสท์อาการระหว่างตั้งครรภ์ของเราทุกสัปดาห์ เพื่อที่คุณจะได้ทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในขณะที่เจ้าตัวน้อยโตขึ้นทุกวัน ไปติดตามกันได้เลยค่ะ

สัปดาห์ที่ 1

ในทางเทคนิคแล้วอาจเรียกได้ว่าคุณยังไม่ได้ตั้งครรภ์ เนื่องจากแพทย์จะคำนวณวันครบกำหนดคลอดจากวันแรกที่ประจำเดือนมา ในการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดของคุณ ในช่วงนี้คุณจะพบกับอาการที่คล้ายกับช่วงมีประจำเดือนทั่วไป เช่น เลือดออก ปวดหน่วงที่ท้องน้อย เจ็บตึงเต้านม หรืออารมณ์แปรปรวน

สัปดาห์ที่ 2

การตกไข่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองนี้ รังไข่ของคุณจะปล่อยไข่ที่ครบสมบูรณ์ ซึ่งมันเดินทางไปยังท่อนำไข่ เพื่อรอการปฏิสนธิกับสเปิร์ม อาการที่เกิดจากการตกไข่รวมถึง อาการปวดท้องจากไข่ตก เจ็บตึงที่เต้านม มีมูกที่มีลักษณะคล้ายไข่ขาว และอุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มขึ้น

สัปดาห์ที่ 3

ในช่วงสัปดาห์ที่สาม ไข่ที่ปฏิสนธิจะฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุมดลูก ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดหน่วงที่ท้องเบา ๆ หรือมีเลือกออกมาเป็นจุด ที่เรียกกันว่า เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) รีบโทรหาแพทย์หากคุณมีเลือดออกหนักหรือมีอาการปวดรุนแรง สิ่งนี้อาจบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ตัวอ่อนฝังอยู่นอกมดลูก (มักอยู่ในท่อนำไข่)

สัปดาห์ที่ 4

การทดสอบการตั้งครรภ์ได้ผลเป็นบวก ความเจ็บตึงที่เต้านมซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์อาจทำให้ชุดชั้นในของคุณรู้สึกอึดอัดเป็นพิเศษ ในเวลานี้ ผู้หญิงบางคนจะมีความรู้สึกที่ไวขึ้นต่อกลิ่นหรือรสชาติ มีอาการอ่อนเพลีย ท้องผูก ท้องอืด และอารมณ์แปรปรวน แต่ไม่ต้องกังวลหากคุณไม่มีอาการเหล่านี้เลย อาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ กว่าที่อาการจะแสดง

สัปดาห์ที่ 5

การแปรปรวนของฮอร์โมนทำให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 5 อารมณ์ของคุณจะเปลี่ยนจากความสุขเป็นเศร้า เป็นโกรธโดยไม่มีเหตุผล อาการตั้งครรภ์ระยะแรกอื่น ๆ เช่น ความอ่อนล้าและความอ่อนตัวของเต้านมอาจยังคงอยู่เช่นกัน

เริ่มมีอาการแพ้ท้องในสัปดาห์ที่หกของการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 6

สำหรับผู้หญิงบางคนสัปดาห์ที่ 6 นำหนึ่งในอาการที่น่ากลัวที่สุดมาให้ นั่นก็คือการแพ้ท้อง ความไวต่อกลิ่นที่เพิ่มสูงขึ้นของคุณสามารถทำให้อาการแย่ลง และนำไปสู่ความอยากอาหารบางอย่างมาก ๆ หรือเกลียดมันไปเลย อาการแพ้ท้องอาจติดอยู่จนกระทั่งไตรมาสที่สอง ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะหาวิธีรับมือ ผู้หญิงบางคนรู้สึกดีขึ้นด้วยการกินอาหารมื้อเล็กลง กินขิงช่วยย่อย หรือหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่กระตุ้นอาการ

สัปดาห์ที่ 7

ปัสสาวะบ่อยเป็นอาการตั้งครรภ์ระยะแรก มันเกิดจากปัจจัยบางประการ เช่น ฮอร์โมนการตั้งครรภ์เอชซีจี มดลูกที่กำลังเติบโตของคุณบีบอัดกระเพาะปัสสาวะ และไตของคุณก็ทำงานหนักเป็นพิเศษเพื่อกำจัดของเสีย

สัปดาห์ที่ 8

ตอนนี้อาการตั้งครรภ์ของคุณอาจปรากฏขึ้นอย่างเต็มที่ คลื่นไส้ เจ็บตึงที่เต้านม ความเหนื่อยล้า ปัสสาวะบ่อย อารมณ์แปรปรวน ท้องอืด ฯลฯ อาการผิดปกติอีกอย่างหนึ่งคือน้ำลายที่มากเป็นพิเศษในปากของคุณ ผู้หญิงบางคนยังประสบกับอาการปวดหัวจากการกระชากของฮอร์โมนคล้ายกับอาการถอนคาเฟอีน ความเครียด และการขาดน้ำ

สัปดาห์ที่ 9

คุณรู้ไหมว่าการตั้งครรภ์มีส่วนต่อระบบย่อยอาหารของคุณ ผู้หญิงหลายคนต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการท้องผูกและก๊าซส่วนเกิน นอกเหนือไปจากอาการคลื่นไส้ที่มาพร้อมกับแพ้ท้อง แต่ไม่ต้องกังวล เพราะอาการทางเดินอาหารเหล่านี้จะผ่านไปหลังจากไตรมาสแรก

สัปดาห์ที่ 10

คุณดูเปล่งปลั่งขึ้นหรือเปล่า? ผู้หญิงบางคนจะเปล่งปลั่งขึ้นในไตรมาสแรก ในขณะที่บางคนประสบกับสิวจากฮอร์โมน คุณจะสังเกตเห็นหน้าอกและหน้าท้องของคุณเริ่มใหญ่ขึ้นในแต่ละสัปดาห์

สัปดาห์ที่ 11

การที่ลูกน้อยของคุณโตขึ้น อาจทำให้เกิดอาการปวดและเป็นตะคริวบริเวณท้อง อาการปวดรอบนี้สามารถรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยหรืออาจเจ็บปวดอย่างรุนแรง นอกจากนั้น คุณอาจพบตกขาวในชุดชั้นในของคุณ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณกำลังพยายามกำจัดแบคทีเรีย

สัปดาห์ที่ 12

คุณรู้หรือไม่ว่าปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ในระหว่างตั้งครรภ์ ผลข้างเคียงหนึ่งคือหลอดเลือดดำจะมองเห็นได้บนผิวหนัง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในผู้หญิงผิวขาว

สัปดาห์ที่ 13

เมื่อคุณใกล้สิ้นสุดไตรมาสแรก อาการตั้งครรภ์ระยะแรกจะลดลง คุณอาจสังเกตเห็นว่าคุณรู้สึกเวียนหัวตลอดทั้งวัน คุณต้องขอบคุณการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่ช่วยลดการไหลเวียนของเลือดและลดความดันโลหิตต้นเหตุของอาการเวียนศีรษะ

สัปดาห์ที่ 14

เข้าสู่ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์อย่างเป็นทางการ ผู้หญิงหลายคนมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น พลังงานที่เพิ่มขึ้น และแรงขับทางเพศที่สูงขึ้น ใช้ประโยชน์จาก “พลังงานที่ดี” เหล่านี้ในการเริ่มออกกำลังกายในรูปแบบที่เหมาะสม หรือการจัดบ้านและช็อปปิ้งเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่

สัปดาห์ที่ 15

ไตรมาสที่สองมาพร้อมกับอาการแปลก ๆ คุณอาจพบอาการคัดจมูก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเลือดในเยื่อบุผิวในช่องจมูก มีอาการปวดขา และเหงือกที่บอบบาง ในขณะที่ฮอร์โมนผ่อนคลายลง ทำให้เอ็นของคุณคลายตัว ซึ่งคุณอาจรู้สึกงุ่มง่ามป็นพิเศษในระยะนี้ของการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 16

ประมาณ 90% ของหญิงตั้งครรภ์จะเกิดผิวคล้ำรอบหัวนม ต้นขาด้านใน รักแร้ และสะดือ บางครั้งความคล้ำนี้ก็ขยายไปถึงแก้มและจมูก โดยเฉพาะถ้าคุณมีผิวคล้ำ

สัปดาห์ที่ 17

อาการปวดหลังเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณอาจรู้สึกหลงลืมมากกว่าปกติดังเช่นที่ผู้หญิงหลายคนประสบ นอกจากนี้คุณแม่หลายคนเริ่มรู้สึกว่าลูกเตะได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 16-25 ดังนั้นจงระวังตัวให้ดี!

สัปดาห์ที่ 18

ถึงตอนนี้ท้องของคุณดูเหมือนตั้งครรภ์อย่างไม่ต้องสงสัย และหน้าอกของคุณก็ขยายตัวขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก และคาดว่าน้ำหนักจะอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งวันคลอด รอยแตกเล็กน้อยอาจปรากฏให้เห็นในขณะที่คุณค่อย ๆ น้ำหนักขึ้น

สัปดาห์ที่ 19

ในช่วงไตรมาสที่สองผู้หญิงบางคนอาจมีอาการเสียด ท้องเนื่องจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ผ่อนคลายกล้ามเนื้อของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ลองกินอาหารมื้อเล็ก ๆ ตั้งตัวตรงหลังกินเสร็จ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นกรด มันเลี่ยน หรือเผ็ด อาการท้องผูกอาจเกิดขึ้นได้เช่นกันเมื่อทารกกดทับลำไส้ของคุณ

เริ่มมีอาการเท้าบวมให้เห็นเมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 20

สัปดาห์ที่ 20

โดยตอนนี้ ลูกตัวน้อยของคุณอาจจะเริ่มเตะถีบ การเตะรู้สึกเหมือนกระพือปีกอยู่ในท้องของคุณ อาการที่พบบ่อยในช่วงนี้คือปวดขา บวมที่เท้าและมือ ตาแห้ง เส้นเลือดขอด และมีปัญหาในการนอนหลับ

สัปดาห์ที่ 21

แม้ว่าคุณอาจมีอาการปวดเอ็นเป็นระยะ แต่มันก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อทารกโตขึ้น คุณจะรู้สึกถึงความปวดที่คมชัดในสะโพก ขาหนีบ และหน้าท้อง ขณะที่มันยืดตัวเพื่อรองรับมดลูกของคุณ มดลูกที่กำลังเติบโตอาจสร้างแรงกดต่อปอดของคุณ ทำให้หายใจไม่สะดวก

สัปดาห์ที่ 22

แม้ว่าคุณจะน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่คุณอาจดูดีขึ้นกว่าเดิม การตั้งครรภ์มักทำให้ผมหนาและเงางาม และเล็บที่ยาวเร็วเนื่องจากร่างกายของคุณสะสมสารอาหารเพิ่มเติม แต่คุณอาจมีผิวที่แห้งและระคายเคืองผิวหนังที่ท้อง เนื่องจากมีการยืดและขยายอย่างต่อเนื่อง

สัปดาห์ที่ 23

หน้าท้องที่กำลังเติบโตของคุณสามารถเปลี่ยนให้สะดือยื่นออกมา แต่คุณสามารถมั่นใจได้ว่ามันจะกลับมาเป็นปกติหลังคลอด ในช่วงเวลานี้คุณอาจยังคงมีอาการปวดขา ปวดหลัง ท้องผูก ปวดศีรษะ รอยแตกลาย และอาการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองอื่น ๆ

สัปดาห์ที่ 24

ในขณะที่ผู้หญิงบางคนอาจยังมีแรงขับทางเพศสูง ผู้หญิงอีกกลุ่มอาจรู้สึกว่าความต้องการลดลง พวกเธอเจ็บและเหนื่อยล้าที่จะทำสิ่งใด ๆ อาการตั้งครรภ์อื่น ๆ  รวมถึงการรู้สึกเสียวซ่าที่มือ เลือดออกตามไรฟัน เช่นเดียวกับการนอนกรน ที่เกิดจากเยื่อบุผิวในช่องจมูกขยายและการเพิ่มน้ำหนักระหว่างการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 25

มือและนิ้วของคุณรู้สึกชาหรือไม่? คุณอาจกำลังทุกข์ทรมานจากโรคกลุ่มอาการประสาทมือชา (CTS) ซึ่งเกิดจากอาการบวมและการกักเก็บของเหลว ความรู้สึกชานี้จะหายไปหลังจากที่คุณคลอด นระหว่างนี้ให้หลีกเลี่ยงการนอนทับมือ และลองสะบัดข้อมือของคุณตลอดช่วงวัน

สัปดาห์ที่ 26

การนอนหลับอาจไม่สะดวกนักในขณะที่คุณใกล้ไตรมาสที่สาม ไม่ว่าจะเป็นเพราะความวิตกกังวล ปวดขา หรือปัสสาวะบ่อย คุณอาจรู้สึกคันบริเวณมือและเท้า  อาการคันที่ไม่รุนแรงมักไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไร และสามารถรักษาได้ด้วยยาแก้แพ้ ยาขี้ผึ้ง หรือโลชั่น แต่อาการคันที่รุนแรงอาจส่งสัญญาณโรคตับที่เรียกว่า น้ำดีคั่งในตับ (Cholestasis of pregnancy) ซึ่งต้องการการดูแลทางการแพทย์

สัปดาห์ที่ 27

ราวกับว่าอาการปวดหลังและปวดขายังไม่สาแก่ใจพอ ผู้หญิงบางคนอาจเป็นโรคริดสีดวงทวารในช่วงไตรมาสที่สอง หลอดเลือดดำที่คันและบวมเหล่านี้จะปรากฏขึ้นในทวารหนักเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้น บางรายอาจแย่ลงจากอาการท้องผูก

สัปดาห์ที่ 28

ยินดีต้อนรับสู่ไตรมาสที่สาม เมื่อใกล้ถึงกำหนด คุณจะเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้าและอึดอัด อาการปวดเมื่อยเป็นเรื่องธรรมดา และผู้หญิงบางคนจะมีอาการปวดของกระดูกหัวเหน่าในช่วงตั้งครรภ์ (Symphysis pubis dysfunction – SPD) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเอ็นรอบกระดูกหัวหน่าวนุ่มลง

สัปดาห์ที่ 29

เมื่อร่างกายเตรียมน้ำนมแม่ คุณอาจสังเกตว่ามีน้ำนมเหลืองที่รั่วออกมาจากเต้านม ของเหลวนี้ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับน้ำนมแม่ และช่วยให้ลูกน้อยของคุณปรับตัวเข้ากับชีวิตนอกมดลูก

รอยแตกเริ่มจะเข้มขึ้น จึงต้องทาครีมป้องกัน

สัปดาห์ที่ 30

อาการคัน บวม ปวดเมื่อย และจุกเสียด ยังไม่ลดน้อยลง รอยแตกลายของคุณก็อาจจะเด่นชัดขึ้นเช่นกัน ลายเส้นสีแดงหรือสีชมพูเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด แต่จะจางหายไปอย่างมากหลังการคลอด

สัปดาห์ที่ 31

คุณอาจจะตื่นเต้นที่อาการของไตรมาสที่สามจะได้ผ่านพ้นไปเสียที แต่ของบางคนก็ยังคงอยู่ ตัวอย่างเช่นทรวงอกของคุณจะเจ็บคัดขณะที่เตรียมนมแม่ คุณจะต้องฉี่บ่อยครั้งเนื่องจากหัวลูกน้อยกดทับอยู่กับกระเพาะปัสสาวะของคุณ และคุณจะรู้สึกเหนื่อยมากแม้จะใช้ความพยายามในการทำอะไรเพียงเล็กน้อย เหลือเวลาอีกไม่กี่สัปดาห์เท่านั้นเอง

สัปดาห์ที่ 32

หลังจาก 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ร่างกายของคุณอาจสร้างการวิธีการฝึกขึ้นมา ที่เรียกว่าการเจ็บครรภ์หลอก (Braxton Hicks) มันคือการแข็งตัวเป็นระยะ ๆ หรือการกระชับของมดลูก และพวกมันจะมาบ่อยขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินไป โดยปกติการหดตัวจะอยู่ระหว่าง 30 วินาทีถึง 2 นาที และจะหยุดลงหากคุณเปลี่ยนตำแหน่ง โทรหาแพทย์หากคุณมีอาการเกร็งตัวที่แรงขึ้นและบ่อยขึ้น คุณอาจจะคลอดก่อนกำหนด

สัปดาห์ที่ 33

ลูกของคุณใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และเขายังคงกดตัวลงกับอวัยวะภายในของคุณ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะรั่ว หายใจถี่ จุกเสียด และความรู้สึกไม่สบายตัวแบบทั่วไป

สัปดาห์ที่ 34

คุณมีเวลาอีกเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่จะทนต่ออาการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลัง ท้องผูก การรั่วไหลของน้ำนม ริดสีดวงทวาร ตาพร่ามัว เหนื่อยล้า ปวดหัวบวม หรือจุกเสียด คุณจะรู้สึกเหมือนเด็กกำลังเตะอยู่ในท้องของคุณอยู่บ่อย ๆ

สัปดาห์ที่ 35

ใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว คุณจะสังเกตเห็นการเจ็บครรภ์หลอกมากกว่าปกติ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณรู้วิธีแยกแยะอาการปวดเหล่านี้กับการปวดท้องคลอดจริง น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของคุณอาจเริ่มหยุดนิ่งในช่วงสัปดาห์ที่ 35 และการนอนไม่หลับก็มีผลอย่างเต็มที่

สัปดาห์ที่ 36

ลูกน้อยของคุณกำลังเดินทางมา ประมาณ 2-4 สัปดาห์ก่อนคลอด ลูกจะเริ่มหย่อนตัวลงมาในอุ้งเชิงกราน วิธีนี้จะช่วยลดแรงกดดันต่ออวัยวะภายในของคุณช่วยให้คุณหายใจได้ง่ายขึ้น

สัปดาห์ที่ 37

ตำแหน่งใหม่ของลูกน้อยอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายในอุ้งเชิงกรานและความดันในช่องท้อง คุณอาจสังเกตเห็นรอยเลือดเล็กน้อยหลังจากมีเพศสัมพันธ์ แต่คุณไม่ต้องกังวล เพราะมันอาจเป็นผลมาจากปากมดลูกที่บอบบางและขยายใหญ่ของคุณ แต่ควรโทรหาแพทย์หากคุณมีเลือดออกหนัก เนื่องจากสิ่งนี้อาจบ่งบอกถึงปัญหาของรก

ความไม่สบายตัวจะเพิ่มขึ้น เพราะลูกปรับตำแหน่งใหม่ที่ต่ำลง

สัปดาห์ที่ 38

ประมาณสัปดาห์ที่ 37 หรือ 38 ก้อนเนื้อเยื่อที่ถูกปิดกั้นปากมดลูกของคุณเพื่อปกป้องเด็กจากเชื้อโรค จะถูกปล่อยออกมาประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่จะคลอดและมันก็จะออกมาเป็นสีชมพูหนาหรือมีเลือดปน

สัปดาห์ที่ 39

หากน้ำแตกคุณจะสังเกตเห็นความเปียกที่ขาของคุณ สัญญาณเริ่มแรกของการคลอดอื่น ๆ ได้แก่ การหดตัวตามปกติ ความดันในอุ้งเชิงกราน อาการปวดหลังที่น่าเบื่อ และความรู้สึกกระสับกระส่าย การคลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเป็นชั่วโมง แพทย์หลายคนแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเมื่อมีการหดตัวทุก ๆ 5 นาที และมีอาการนานครั้งละ 1 นาที โดยที่อาการเช่นนี้ดำเนินต่อไปอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง

สัปดาห์ที่ 40

คุณจะยังคงพบกับอาการตั้งครรภ์ เช่น นอนไม่หลับ อาการบวม ปัสสาวะบ่อย และความอึดอัดบริเวณอุ้งเชิงกราน จนถึงกำหนดคลอด หากคุณมีกำหนดการต้องผ่าคลอด มันก็จะมีขึ้นภายในไม่กี่วันหรือในสัปดาห์ถัดไป

สัปดาห์ที่ 41

ทารกที่ค้างอยู่เกินกำหนดอาจนำไปสู่ความวิตกกังวลและความกระสับกระส่าย แต่จงรอไปก่อนและคอยดูสัญญาณของการคลอดให้ดี ลูกน้อยของคุณจะออกมาในไม่ช้า

เวลาที่ลูกน้อยจะลืมตาดูโลกมาถึงแล้ว

สัปดาห์ที่ 42

ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่เกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากวันครบกำหนดคลอด แต่ถ้าแพทย์มีความกังวลเขาอาจแนะนำให้ใช้การเร่งคลอด

และทั้งหมดนี้คือรายละเอียดของอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับคุณได้ในแต่ละสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ คุณต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง หากมีอะไรผิดปกติก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและลูกน้อยค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th