Site icon Motherhood.co.th Blog

เทคนิคการแก้ปัญหาเด็กเลือกกิน : วิธีง่ายๆที่จะช่วยให้พ่อแม่หายปวดหัว

บาง ครอบครัว อาจโชคดีที่มีลูกที่ยอมกินทุกอย่างตั้งแต่ยังเด็ก แต่สำหรับบางครอบครัว – การทานมื้อเย็นอาจเป็นเหมือนการทำสงครามขนาดย่อม เด็กที่ เลือกกิน ส่วนใหญ่มักจะเริ่มนิสัยนี้หลังจากผ่านงานวันเกิดครั้งที่สองของตัวเองไปจนกระทั่งราว 7 ขวบหรือน้อยกว่านั้น เรามักจะเห็นพ่อแม่ใช้วิธีการบังคับให้ลูกของตัวเองกินของที่ไม่ชอบ ซึ่งยิ่งพยายามมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ลูกปฏิเสธมากเท่านั้น ทั้งพ่อแม่และลูกต่างควรที่จะประนีประนอมให้กันและกัน และไม่ใช้การบังคับฝืนใจ

ไม่จำเป็นที่เวลาทานข้าวจะต้องเป็นสนามรบสำหรับพ่อแม่เสมอไป คุณแค่ต้องเรียนรู้ที่จะควบคุม และใช้ทริค เพื่อค่อยๆทำให้เด็กที่เลือกกินค่อยๆเปลี่ยนนิสัยนั้น ดังนั้น นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่พ่อแม่จะต้องรู้ว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้ลูกของคุณเลือกกินเพื่อที่จะเอาชนะนิสัยเสียนั้น พ่อแม่พร้อมหรือยังคะ? ด้านล่างเรามีเทคนิคที่รับรองว่าจะต้องช่วยให้พ่อแม่ทุกคนหายปวดหัวกับปัญหาเจ้าตัวน้อยเลือกกินแน่นอน

อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ลูกของคุณเลือกกิน

อาหารไม่อร่อย

อย่าหลอกตัวเองว่าคุณทำอาหารอร่อย ลองให้คนอื่นวิจารณ์ตรงๆว่าฝีมือการทำอาหารของคุณเป็นอย่างไร มีรายงานการศึกษาหนึ่งระบุว่าเด็กจะมีตุ่มรับรสมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเมื่อเราโตขึ้น เราจะเริ่มเสียตุ่มเหล่านี้ไป ถ้าคุณชิมอาหารแล้วพบว่ามันเค็ม สำหรับลูกนั่นอาจเค็มกว่าที่คุณรู้สึกสองเท่า ดังนั้น พยายามทำอาหารหลายๆชนิดให้ลูกได้ลองแล้วดูว่าเขาชอบจานไหนเป็นพิเศษ ถ้าลูกไม่ยอมกินบล็อกโคลี่ดิบ คุณอาจลองทำบล็อกโคลี่ทอดหรือมีซอสพิเศษเพื่อเพิ่มรสชาติ

อาหารน่าเบื่อ

สำหรับลูก อาหารที่คุณทำอาจดูธรรมดาเกินไป คุณแม่อาจกำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันที่ลูกสามารถเเลือกได้ว่าอยากจะทานอะไร และให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการทำอาหาร ดังนั้น เมื่อถึงวันนั้น ลูกของคุณจะรู้สึกตื่นเต้นสุดๆเพราะเขาจะได้ลองเมนูใหม่ๆที่ไม่เคยทาน เวลาทำอาหาร อีกทางหนึ่งคือ พยายามเพิ่มสีสันลงไปในอาหาร และหลีกเลี่ยงการทำเมนูเดิมๆ จำไว้ว่าไม่ว่าจะยุ่งแค่ไหน ทุกคนในครอบครัวควรจะนั่งทานข้าวพร้อมกัน เพราะการที่ลูกเลือกกินอาจเพราะเขาต้องการให้คุณวุ่นกับเขาเพราะคุณเอาแต่ทำงานตลอดเวลาจนไม่มีเวลาให้เขาได้อ้อนเลย

“หนูไม่อยากกิน หนูอิ่ม”

คำอ้างยอดฮิตของเด็กทุกยุค แต่อย่ากังวลไป! เรามีวิธีจัดการ ไม่หิวใช่ไหม? ลองให้ลูกทานอาหารที่พวกเขาไม่ชอบก่อน ก่อนที่จะให้เขาทานของที่ชอบ ตั้งข้อกำหนดว่า ถ้าลูกอยากทานของโปรด ลูกจะต้องยอมกินของที่ไม่ชอบก่อน วิธีนี้เหมาะกับสถานการณ์แบบนี้สุดๆ

พยายามให้ลูกทานอาหาร ถึงแม้เขาจะเลือกกินก็ตาม

เริ่มจากปริมาณน้อยๆ

ลองให้ลูกทานอาหารชนิดใหม่ๆในปริมาณน้อยก่อนเพื่อให้เขารู้สึกคุ้นชิน เด็กจะกล้าทานอาหารมากขึ้นถ้าเขาได้ลองก่อนในปริมาณน้อยๆ หลังจากที่เขาทานแล้ว ให้รางวัลเขาด้วยการให้เขาได้ทานอาหารที่ชอบ วันต่อๆหลังจากนั้น ค่อยๆลดปริมาณอาหารที่เขาชอบลง และเพิ่มปริมาณอาหารชนิดใหม่ ไม่นานหรอก เขาก็จะติดใจไปเอง

อย่าเปลี่ยนอาหารบ่อยเกินไป

อย่าพยายามเปลี่ยนเมนูบ่อยเกินไป การจะคุ้นชินกับอะไรจำเป็นต้องใช้เวลาซักพัก ดังนั้น จงอดทนและให้ลูกได้ทานอาหารเดิมๆ (โดยเฉพาะผักต่างๆ) ถ้าต้องการให้ลูกลองอะไรใหม่ๆ ลองให้เขาแทนเป็นอาหารว่างแทน

ลดจำนวนอาหารทานเล่นลง

คุณอาจจะได้ยินลูกชอบพูดว่าเขาไม่หิว คุณอาจจะคิดว่าเขาโกหก แต่นั่นเป็นเรื่องจริง – ส่วนใหญ่นะ ถ้าคุณให้ลูกทานขนมหรือของว่างได้ตลอดเวลา นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาอิ่มจนไม่อยากทานอาหารเที่ยงหรือมื้ออื่นๆ ดังนั้น ลดปริมาณขนมที่ลูกทานลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนมื้อเย็น

ลดสิ่งรบกวน

นี่เป็นเรื่องปกติสำหรับทุกครอบครัวในปัจจุบันไปแล้ว หลายครอบครัวมักจะมีทีวีในห้องอาหาร – ปิดทีวีและสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจซะ นั่นรวมถึงมือถือด้วย การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกโฟกัสไปที่การทานอาหารเพียงอย่างเดียว อย่าปล่อยให้ลูกดูโฆษณาจำนวนมากระหว่างทานอาหารเพราะนั่นยิ่งจะทำให้เขาเลือกกินแต่อาหารหวานๆที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อย่ากังวลไป การเลือกกินมักจะหายไปเองเมื่อเด็กอายุ 8 หรือ 9 ขวบ พยายามใส่ความครีเอทีฟลงไปเวลาทำอาหารเพื่อให้ทุกคนสามารถเอนจอยด้วยกันได้ ถ้าคุณทำอาหารเฉพาะให้กับลูกคนเดียว เขาจะรู้สึกว่าตัวเองถูกบังคับให้กินของที่ไม่ชอบ ดังนั้น จงเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกโดยการให้ทุกคนทานอาหารแบบเดียวกัน จำไว้ว่านิสัยช่างเลือกไม่สามารถแก้ได้ภายในข้ามคืน จงอดทน ถ้าคุณกังวลว่านิสัยนี้อาจส่งผลต่อการเติบโตของลูก ลองปรึกษากับหมอรับรองว่าช่วยได้แน่นอน

***

ทุกสิ่งที่เลือกสรรสำหรับเจ้าตัวน้อย: Motherhood.co.th

หลากหลายเรื่องราวและเคล็ดลับในการเลี้ยงลูก: Story.Motherhood