Site icon Motherhood.co.th Blog

“แลมบ์ดา” เชื้อโควิดกลายพันธุ์ใหม่ อันตรายกว่าเดลต้า ระบาดเกินกว่า 30 ประเทศ

สายพันธุ์แลมบ์ดา

มาแล้ว ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แลมบ์ดา น่ากลัวไม่แพ้เดลต้าเลยทีเดียว

“แลมบ์ดา” เชื้อโควิดกลายพันธุ์ใหม่ อันตรายกว่าเดลต้า ระบาดเกินกว่า 30 ประเทศ

ขณะนี้ทั่วโลกต่างกำลังให้ความสนใจกับเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่เรียกว่าสายพันธุ์ “แลมบ์ดา” (C.37) ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศเปรูช่วงปลายปีที่แล้ว ไวรัสชนิดใหม่นี้ถูกตรวจพบระบาดแล้วใน 30 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา ซึ่งล่าสุดพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวแล้วในสหราชอาณาจักร และที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ

เชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา

โคโรนาไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดา หรือ C.37  เริ่มพบระบาดครั้งแรกในเปรูตั้งแต่ช่วงปลายปี 2653 พาโบล สึคายามะ แพทย์ด้านจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล แห่งมหาวิทยาลัยคาเยตาโน เฮเรเดีย ในกรุงลิมา เปิดเผยว่าไวรัสสายพันธุ์นี้ได้รับการบันทึกข้อมูลครั้งแรกในเดือนธันวาคม ซึ่งในตอนนั้นพบผู้ติดเชื้อแค่เพียง 1 คน จากการตรวจสอบตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อ 200 คน

สายพันธุ์แลมบ์ดาถูกค้นพบที่เปรูเมื่อปลายปีที่แล้ว

จนกระทั่งในเดือนมีนาคม อัตราการระบาดของไวรัสสายพันธุ์นี้เพิ่มเป็นราว 50% โดยข้อมูลจากองค์การสุขภาพของภาคพื้นอเมริกา (PAHO) ระบุว่า เกือบ 82% ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดในเปรูนั้นเป็นไวรัสโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา นอกจากนี้ ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลีพบว่าการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์นี้คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ เช่นเดียวกับในเอกวาดอร์และอาร์เจนตินาที่กำลังมีการระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสสายพันธุ์นี้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุถึงความสำคัญของตัวแปรเชื้อแลมบ์ดาไว้ในรายงานซึ่งเผยแพร่เมื่อ 15 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า “พันธุ์แลมบ์ดามีความเกี่ยวข้องกับอัตราการแพร่เชื้อในชุมชนอย่างมีนัยยะสำคัญของหลายประเทศ โดยความถี่ของการพบเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป พร้อมกับการกรณีการติดเชื้อจากสายพันธุ์ดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น”

“แลมบ์ดามีลักษณะการกลายพันธุ์ในหลายส่วน โดยเฉพาะลักษณะของฟีโนไทป์ที่มีลักษณะรูปร่าง การพัฒนา คุณสมบัติทางสรีรวิทยา และคุณสมทางเคมีที่เปลี่ยนไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลให้ไวรัสมีการแพร่กระจายที่เพิ่มขึ้น หรือมีความต้านทางต่อแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดาที่จำกัด ว่าผลกระทบของการกลายพันธุ์เหล่านี้จะเป็นอย่างไร มันส่งผลกระทบหรือมีนัยยะสำคัญในเชิงระบาดวิทยาอย่างไร จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจถึงวิธีควบคุมการแพร่กระจาย และวิธีที่วัคซีนจะต้านทานตัวแปรดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น

จนถึงขณะนี้องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสถานะของแลมบ์ดาอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่าจับจา โดยขณะนี้อนามัยโลกยังเชื่อว่าสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นภัยคุกคามน้อยกว่าสายพันธุ์ที่น่ากังวลทั้ง 4 คืออัลฟ่า เบตา แกมมา และเดลตา ที่ตรวจพบในสหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ บราซิล และอินเดีย ตามลำดับ สำหรับสายพันธุ์แลมบ์ดานั้นยังต้องได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดต่อไป

อังกฤษจัดให้แลมบ์ดาอันตรายกว่าเดลตา

ล่าสุด (7 ก.ค.) กระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษเปิดเผยว่า ได้จัดให้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์แลมบ์ดามีอันตรายมากกว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตา ซึ่งมีการตรวจพบแล้วในกว่า 30 ประเทศ ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

อังกฤษยกให้แลมบ์ดาน่ากลัวว่าเดลต้าแล้วในขณะนี้

กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษระบุว่า ไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดาตรวจพบครั้งแรกในเปรู ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดสูงที่สุดในโลก โดยขณะนี้มีรายงานผู้ป่วยโควิดจากสายพันธุ์แลมบ์ดาแล้วถึง 6 รายในประเทศ ส่งผลให้บรรดานักวิจัยแสดงความกังวลว่าสายพันธุ์แลมบ์ดามีความเสี่ยงจะแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตาที่หลายประเทศกำลังกังวล

มาเลเซียก็เริ่มเตือนเรื่องแลมบ์ดา

คำเตือนของสาธารณสุขมาเลเซียก็สอดคล้องกับข้อมูลจากสาธารณสุขอังกฤษที่เตือนเช่นกันว่า เชื้อโควิดแลมบ์ดานั้นอันตรายกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าหรือสายพันธุ์อินเดีย จากการประเมินศักยภาพของสายพันธุ์แลมบ์ด้า พบว่าจะสร้างปัญหาด้านสาธารณสุขให้กับหลายประเทศในเอเชียในเวลานี้

ก็หวังว่าไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดานี้จะยังไม่ถูกแพร่เข้ามาในประเทศไทยนะคะ ลำพังวัคซีนที่มี ๆ กันอยู่ก็ทำพวกเราหวาดหวั่นกันจะแย่แล้วว่าจะป้องกันโคโรนาไวรัสได้ครบทุกสายพันธุ์หรือเปล่า ยังไงแล้วก็ขอให้ทุกคนป้องกันตัวเองให้มากเข้าไว้ค่ะ ทั้งการใส่หน้ากากอนามัน ทั้งการพกสเปรย์แอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือ รวมทั้งหมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังจับสิ่งของที่ต้องใช้ร่วมกัน

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th