Site icon Motherhood.co.th Blog

“โรคตาในผู้สูงอายุ” ที่พบบ่อย ไม่ควรปล่อยปละละเลย

5 โรคตาในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุควรระวังโรคตาอะไรบ้าง กับ 5 โรคตาในผู้สูงอายุที่ควรรู้

“โรคตาในผู้สูงอายุ” ที่พบบ่อย ไม่ควรปล่อยปละละเลย

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หลายท่านมักมีปัญหาเรื่องตาเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผู้สูงอายุควรระวังโรคตาอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังมาฝากกัน จะได้ไม่ปล่อยปละละเลยจนสายเกินแก้ไขได้

5 โรคตาที่ผู้สูงอายุต้องระวัง

1. ต้อกระจก

พบได้บ่อยที่สุดและเป็นทุกคนเมื่อมีอายุผู้ป่วยต้อกระจกจะมีตามัวลง เห็นภาพซ้อน ตาสู้แสงไม่ได้อาจเริ่มจากต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ ต่อมามัวลงมาก ปรับแว่นอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น อาจมองเห็นภาพเป็นสีเหลือง บางคนอาจมองเห็นแสงกระจายในที่สว่างจ้า และพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นต้อกระจกได้เร็วขึ้น ยากินและหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น

2. โรคจอประสาทตาเสื่อม

เกิดจากภาวะเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดที่อยู่ส่วนกลางของจอตา ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง โดยที่บริเวณรอบข้างยังเห็นได้เป็นปกติ เกิดจากปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะสูงวัย แสง UV การสูบบุหรี่ และความดันโลหิตสูง ในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการ ต่อมาเมื่อจอตาเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ และสูญเสียการมองเห็นตรงกลางภาพโดยไม่มีอาการปวด

3. ต้อหิน

เมื่อเข้าสู่วัย 40 ปี ควรเริ่มพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงต้อหิน เพราะถือว่าเป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะภาวะเริ่มแรกจะไม่แสดงอาการใดๆ และอาการที่ทำให้เราสังเกตได้ว่าเราเป็นต้อหินภาวะเร่งด่วน คือการมองเห็นจำกัดวงแคบลง จากด้านข้างเข้ามาตรงกลางเรื่อยๆ มีอาการปวดตามาก หรือเริ่มเห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ และมีอาการตาแดงร่วมด้วย ถือเป็นภาวะเร่งด่วนมากต้องมาพบจักษุแพทย์ทันที

4. ภาวะโรคเบาหวานขึ้นตา

อาการในระยะแรกมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ตรวจตาอาจพบจุดเลือดออกที่จอตา หากมีอาการตามัวแสดงว่าเบาหวานขึ้นจอตาเป็นมากแล้ว ซึ่งเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกายรวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เลือดและสารต่าง ๆ รั่วซึมออกมา เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ประกอบกับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต ภาวะซีด ฉะนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรต้องตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

5. ผู้สูงอายุเกิดภาวะสายตายาว

มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากความสามารถและช่วงในการเพ่งปรับสายตาลดลง เนื่องจากเลนส์แก้วตาแข็งตัวขึ้น และการทำงานของกล้ามเนื้อตาลดลง ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยจะมองหรืออ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระยะใกล้ ๆ ไม่ชัดเจน ต้องถือหนังสือห่าง ๆ ทำงานระยะใกล้ ๆ ไม่ได้ แต่มองไกลได้ปกติบางคนอาจมีตาพร่า หรืออาการปวดตา สามารถรักษาด้วยการใช้แว่นสายตา หรือการผ่าตัดทำเลสิกนั่นเอง

6. โรคตาแห้ง

ทำให้รู้สึกไม่สบายตา มีอาการระคายเคือง หรือแสบตา ซึ่งอาจเกิดตาแห้งได้จากหลากหลายสถานการณ์ เช่น เมื่อโดยสารเครื่องบิน อยู่ในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ ระหว่างขับขี่จักรยานยนต์ หรือหลังจากการมองจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จึงทำให้น้ำตาไม่เพียงพอในการหล่อเลี้ยงหรือการหล่อลื่นดวงตา

อย่างไรก็ดี เราสามารถตรวจดวงตาของเราได้ด้วยการเข้าพบแพทย์เป็นประจำทุกปี หรือถ้าจะให้ดีไปกว่านั้นควรทำประกันสุขภาพ นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ยังเป็นหลักประกันให้กับชีวิต และครอบครัวของตัวเองได้อีกด้วย และยังจะช่วยคุณได้ในเมื่อยามเจ็บป่วย สนใจเปรียบเทียบประกันสุขภาพได้ที่ Rabbit finance ช่องทางออนไลน์ที่สามารถจะทำให้คุณได้ประกันสุขภาพที่โดนใจ