Site icon Motherhood.co.th Blog

โรคลิ้นหัวใจรั่ว อีกโรคที่ทารกแรกเกิดเป็นกันมาก

โรคลิ้นหัวใจรั่วในทารก

รู้หรือไม่ว่าในเด็กทารกแรกเกิดทุก ๆ 100 คน จะมี 1 คน ที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด

โรคลิ้นหัวใจรั่ว อีกโรคที่ทารกแรกเกิดเป็นกันมาก

เชื่อไหมคะว่าเด็กทารกแรกเกิดทุก ๆ 100 คน จะมี 1 คน ที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ซึ่งชนิดที่พบได้มากก็คือ “โรคลิ้นหัวใจรั่ว” ไม่ว่าจะเป็นผนังกั้นระหว่างห้องหัวใจด้านบนหรือด้านล่างรั่ว อาการนี้สามารถเป็นมาแต่กำเนิดหรือตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ แล้วเราจะทราบหรือจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง มาติดตามบทความด้วยกันค่ะ

บางครั้งโรคก็ไม่แสดงอาการให้เห็นในตอนยังเป็นทารก

สาเหตุหลักของโรคลิ้นหัวใจรั่ว

การวินิจฉัย

การตรวจหาโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ให้ผลแม่นยำและเป็นมาตรฐานจะทำการตรวจโดยการใช้คลื่นเสียงสะท้อนหรือเครื่องอัลตราซาวด์ การตรวจชนิดนี้เรียกว่า เอคโค่ (Echocardiogram) เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนเป็นภาพหัวใจ เพื่อตรวจดูอย่างละเอียดเป็นพิเศษภายในหัวใจและหลอดเลือด โดยกุมารแพทย์ด้านโรคหัวใจเด็ก วิธีนี้เป็นการใช้คลื่นเสียงเหมือนการทำอัลตราซาวด์ ซึ่งสามารถที่จะบอกรายละเอียดของความผิดปกติภายในหัวใจและเส้นเลือดใหญ่บริเวณใกล้หัวใจได้ นับว่าเป็นวิธีการตรวจที่ทำได้รวดเร็วและแม่นยำ โดยไม่มีข้อเสียหรือความเสี่ยงใด ๆ

โดยส่วนใหญ่การตรวจแบบใช้เครื่องอัลตราซาวด์จะกินเวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น เราก็สามารถรู้ผลการตรวจได้ว่าลิ้นหัวใจมีความผิดปกติหรือไม่และสภาพการทำงานของมันเป็นอย่างไร เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจเมื่อมีการหายใจเข้าออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจเมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นบ้างหรือไม่ ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม ว่าจะรักษาด้วยวิธีการใดถึงจะเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่

การรักษานั้นแพทย์จะประเมินจากอาการ ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป

การรักษา

แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าใจว่าสมควรที่จะผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุดหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการพิจารณาจะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค แพทย์จะผ่าตัดให้เฉพาะในรายที่ลิ้นหัวใจชำรุดมากเท่านั้น หากชำรุดเพียงเล็กน้อย เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจส่วนล่างรั่ว (Ventricular Septal Defect : VSD) ที่รอยรั่วขนาดไม่ใหญ่รัก รอยรั่วนั้นก็อาจจะปิดได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น แพทย์จึงมักจะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและเฝ้าติดตามอาการไปเรื่อย ๆ ก่อน ซึ่งการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจสำหรับผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการผ่าตัดซ่อมแซมซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายและการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th