Site icon Motherhood.co.th Blog

Baby Led Weaning สิ่งใหม่ที่พ่อแม่ควรรู้

BLW - Baby-Led Weaning

เทคนิคใหม่ที่หัดให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง

Baby Led Weaning สิ่งใหม่ที่พ่อแม่ควรรู้

คำว่า “Baby Led Weaning” กำลังเป็นสิ่งที่แพร่หลายอยู่ในคอมมูนิตี้ของพ่อแม่บ้านเราตอนนี้ มันใจความสำคัญของมันคือการให้ลูกหยิบอาหารกินเอง เพื่อเตรียมตัวจะเข้าช่วงหย่านม ที่จะต้องเริ่มกินอาหารเหลวเหมือนที่เคยเป็นมา แต่พ่อแม่ยุคใหม่กลับเห็นว่าควรฝึกหัดให้ลูกน้อยหยิบอาหารกินเองไปเลยโดยไม่ต้องให้คุณพ่อคุณแม่คอยป้อนอาหารเหลวอีกต่อไป Motherhood เชื่อว่าเทคนิคนี้อาจจะยังใหม่อยู่สำหรับคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่าน วันนี้เลยนำรายละเอียดมาฝากกัน ว่าการกินแบบนี้คืออะไร ถ้าให้ลูกใช้เทคนิคนี้จะมีข้อดีข้อเสียยังไง และมีอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ยังต้องเตรียมอีกบ้าง ติดตามกันได้เลยนะคะ

เริ่มจากผักและผลไม้เนื้อนิ่มที่หั่นตามแนวยาวให้เขาจับง่าย

Baby-Led Weaning (BLW) คืออะไร

การกินแบบ BLW เป็นวิธีที่ให้ทารกหยิบอาหารกินเองด้วยมือ ทำให้เด็กรู้จักอาหารที่เป็นของแข็ง แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะใช้ช้อนคอยป้อนอาหารเหลวหรืออาหารบดให้เขาเหมือนสมัยก่อน ทารกจะได้รับการส่งเสริมให้หยิบจับอาหารนุ่ม ๆ เคี้ยวง่าย เข้าปากด้วยตัวเอง โดยที่ไม่มีคุณพ่อคุณแม่คอยให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใด ซึ่งจุดประสงค์ของการให้ทารกหยิบอาหารกินเองนั้น ก็เพื่อให้เขาสามารถกินอาหารเองได้โดยปราศจากการความคุมของพ่อแม่ เขาสามารถหยิบอาหารมาเล่น สัมผัส มาดม และลองชิมอาหารแบบทั่วไปที่สมาชิกคนอื่นในครอบครัวก็กินกันตามปกติ เช่น เนื้อสัตว์หั่นเป็นแท่ง ผักเนื้อนิ่มหั่นเป็นแท่ง กล้วย หรือ ขนมปังกรอบแบบแท่ง ซึ่งทารกวัยหกเดือนก็สามารถตัดสินใจเองได้ว่าเขาควรกินหรือไม่กินอะไร

ประโยชน์ของ BLW

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะยังสงสัยว่าการให้ลูกหยิบอาหารกินเองได้จะมีประโยชน์อะไร บางคนกลับจะมองว่าเป็นเรื่องเลอะเทอะเสียด้วยซ้ำ เพราะลูกอาจจะสำรวจอาหารอย่างเพลิดเพลินจนทำเลอะเทอะให้ต้องทำความสะอาดกันยุ่งยากก็เป็นได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ที่บุกเบิกวิธีการกินเช่นนี้มาก่อนได้ให้ความเห็นว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์ต่อลูกมาก ทำให้ลูกอยากกินอาหารด้วยตัวเอง ไม่เลือกกิน สามารถกินอาหารตรงหน้าได้ทุกอย่างไม่ว่าอาหารนั้นจะมีรูปร่างหรือเนื้อสัมผัสแบบใดก็ตาม ทำให้เขาสามารถกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้น ลูกจะกินผักและผลไม้ได้มากขึ้นด้วย และเมื่อเด็กสามารถกินอาหารนุ่มๆส่วนมากได้แล้ว ลูกก็จะสามารถนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับสมาชิกในครอบครัวได้

นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยพัฒนาการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กที่มือด้วย เพราะจะต้องมีการทำงานประสานกันระหว่างมือและสายตาของเด็ก ความสามารถในการหยิบจับสิ่งของก็จะพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วกว่าเนื่องจากเขาต้องหยิบจับอาหารมากินเอง

นำผักไปต้มให้นิ่มและหั่นตามทางยาว จะช่วยให้ลูกหยิบจับเข้าปากได้ง่าย

วิธีเริ่มให้ลูกหยิบอาหารกินเอง

คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เขาเริ่มหยิบอาหารกินเองได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยที่เขาต้องสามารถนั่งเก้าอี้สูงของเด็กได้เองเสียกาย และเริ่มจากอาหารง่ายๆที่มีคุณค่าโภชนาการเหมาะสมตามวัย เช่น ผักต้มสุกชิ้นเล็กๆ หรือผักอื่นๆที่สามารถหั่นเป็นชิ้นในลักษณะที่ลูกจับได้ถนัดมือ หรือจะเป็นชิ้นเนื้อติดกระดูกที่ลูกสามารถจับถือขึ้นมาดูดเนื้อได้เอง ซึ่งในช่วงแรกนี้อาจจะแค่เล่นกับอาหาร ดมกลิ่น หรือแค่มองดู จากนั้นเขาถึงจะเริ่มเลียอาหารเหล่านี้ ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน ลูกก็จะเริ่มกินอาหารแบบเดียวกับที่คนในครอบครัวกินได้โดยการหยิบมากินเอง ขอแค่เป็นอาหารที่ไม่เผ็ด ไม่มีรสจัดเกินไป หรือมีเนื้อหยาบจนเขาเคี้ยวไม่ไหว

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องไม่ป้อนอาหารเหลวแก่เขาเด็ดขาด ไม่ต้องคอยยืนเชียร์หรือกระตุ้นให้เขากินด้วย ปล่อยให้เขาเรียนรู้กับอาหารชิ้นในจานไปด้วยตัวเอง พร้อมกับที่คุณพ่อคุณแม่ดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการกำหนดเวลาในการกินให้แน่นอน และใช้เวลากับแต่ละมื้อเพียง 15-45 นาที

อย่างไรก็ตามในช่วงนี้การให้นมแก่ลูกก็ยังควรดำเนินต่อไป เพราะนมแม่ก็ยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับเด็กอยู่ จนกว่าเขาจะมีอายุ 10-12 เดือน

เส้นพาสต้าแบบสั้นมีขนาดที่เหมาะสำหรับเด็กในการหยิบและถือกิน

อาหารแนะนำสำหรับให้ลูกหยิบกินเอง

สิ่งที่ไม่ควรทำสำหรับ BLW

เพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกด้วยเนื้อสัตว์ที่ไม่เหนียวและผักใบเขียว

จัดการอย่างไรกับความเลอะเทอะ เมื่อลูกน้อยสำรวจอาหาร

ในช่วงแรก ๆ ที่ลูกหยิบอาหารกินเองนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะพบว่าเขาหยิบอาหารมาสำรวจหรือเล่นเสียมากกว่า หรืออาจจะหกลงพื้นจนเลอะเทอะ ความจริงแล้วการให้อาหารเสริมแก่ลูกไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็จะมีความเลอะเทอะร่วมด้วยเสมอ การให้ทารกหยิบอาหารกินเองอาจจะเพิ่มความเลอะเทอะมากกว่านั้นเพียงเล็กน้อย แต่มันจะช่วยให้ลูกรับรู้ถึงเนื้อสัมผัมของอาหารและได้สำรวจอาหารอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับการเล่นของเล่นหรือระบายสี สิ่งเหล่านี้เป็นการฝึกฝนเขาและเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สำคัญ หากคุณกังวลก็เพียงแค่ผูกผ้ากันเปื้อนให้เขาก็พอ

ส่วนเรื่องการขาดสารอาหารหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอเพราะลูกยังไม่ได้กินจริงจังในช่วงแรกหลังจากให้เขาหยิบอาหารกินเอง อันนี้คุณพ่อคุณแม่เพียงให้เวลาเขาปรับตัวนิดหน่อย ความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นไปตามเวลา การกินของเขาก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยแน่นอน เพราะในช่วงนี้เขายังดื่มนมอยู่ จึงไม่ต้องกังวลว่าเขาจะขาดสารอาหารที่จำเป็น หากกังวลในเรื่องการได้รับพลังงาน ก็สามารถเลือกอาหารที่มีแคลอรี่สูงก็ได้ และควรอุดมด้วยธาตุเหล็ก โปรตีน สังกะสี และไขมันชนิดดี

หากคุณพ่อคุณแม่กังวลเรื่องอาหารติดคอจนหายใจไม่ออก ก็ต้องคอยดูแลเขาอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เขาเล่นอาหารมากจนเกินควร และต้องแน่ใจว่าอาหารทุกชนิดที่เลือกมาให้เขากินจะต้องถูกหั่นตามยาวเสมอ อย่าหั่นแบบเต๋าหรือแบบอื่นที่เป็นชิ้นเล็กเด็ดขาด

กรณีใดบ้างที่ไม่ควรให้ทารกหยิบอาหารกินเอง

เด็กที่จะหัดกินอาหารเองด้วยมือควรจะนั่งได้เองบน high chair

เมื่อลูกน้อยสามารถหยิบอาหารกินเองได้อย่างมั่นใจ และได้ลองอาหารหลากหลายชนิดจนมั่นใจว่าไม่ได้แพ้อาหารชนิดไหนเป็นพิเศษแล้ว เมื่อนั้นเขาก็พร้อมที่จะกินอาหารหลากหลายแบบเดียวกับที่เสิร์ฟบนโต๊ะแก่สมาชิกในครอบครัวแล้ว แค่ตักและตัดอาหารเหล่านั้นมาในขนาดและปริมาณที่เหมาะสมสำหรับลูก และต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นนุ่มมากพอ ไม่มีรสเผ็ด หรือใส่เกลือมากเกินไป เพราะร่างกายของทารกยังจัดการกับโซเดียมได้ไม่ค่อยดีนัก

นอกจากนี้การเพิ่มธาตุเหล็กในอาหารให้ลูกก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยให้เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว เพื่อที่เขาจะได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอและใช้ในการพัฒนาสมอง

หวังว่าคุณพ่อคุณแม่จะหมดความกังวลกับการทดลองเทคนิค BLW แล้วนะคะ สามารถให้ลูกหัดกินอาหารโดยการหยิบเข้าปากเองได้ แค่เลือกอาหารที่มีโภชนาการเหมาะสม หั่นให้เขาหยิบง่ายและกินง่าย รวมทั้งคอยดูแลเขาระหว่างการกิน เพียงเท่านี้เขาก็จะสามารถเรียนรู้อาหารใหม่ๆและกินได้หลากหลายขึ้นเองค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th