ผู้ปกครองควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อมีลูกหลาน “LGBTQ+”
จะเห็นได้ว่าสังคมไทยในยุคนี้เริ่มเปิดรับความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการแสดงความคิดเห็น การแต่งตัว การเปิดรับสื่อต่างประเทศ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีการส่งผ่านทางสื่อออนไลน์ รวมทั้งการยอมรับความหลากหลายทางเพศ เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตอีกด้วย จะเห็นได้ว่ามีหลาย ๆ คนเริ่มกล้าเปิดเผยที่ตนเองเป็น LGBTQ มากขึ้น และได้รับการยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้นอีกด้วย
เรื่องของ LGBTQ+ ความหลากหลายทางเพศที่ควรรู้
L – Lesbian คือกลุ่มหญิงรักหญิง
G – Gay คือกลุ่มชายรักชาย
B – Bisexual คือกลุ่มที่ชอบทั้งเพศชายและหญิง
T – Transgender คือกลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นหญิง หรือจากเพศหญิงเป็นชาย คนกลุ่มนี้จะรับรู้ว่าตนเองมีเพศสภาวะที่ไม่สอดคล้องกับเพศสรีระ ตามรูปแบบของสังคม
Q – Queer คือกลุ่มคนที่ไม่ได้จำกัดในเรื่องของเพศและความรัก ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและความชอบส่วนบุคคล
ซึ่ง LGBTQ+ นั้น เป็นเหมือนรสนิยมส่วนบุคคลชนิดหนึ่งของคนเรา และไม่ได้บ่งบอกถึงความผิดปกติทางสุขภาพหรือทางร่างกายใด ๆ เพราะคนเราสามารถชื่นชอบอะไรที่แตกต่างกันได้ เช่นเดียวกับอาหารที่แต่ละคนชอบกิน ที่ไม่ได้เป็นเมนูเดียวกัน แต่ก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ ไม่ได้เป็นความผิดปกติของใครเลย
ผู้ปกครองปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อมีลูกหลาน LGBTQ+
แม้จะบอกว่ามีคนให้การยอมรับเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่อาจยังไม่ได้เปิดใจกับเรื่องของ LGBTQ มากนัก ขอบอกเลยว่าเรื่องแบบนี้ ต้องเริ่มต้นจากครอบครัว หากครอบครัวให้การยอมรับและสนับสนุน เด็ก ๆ ที่เป็น LGBTQ ก็จะสามารถเติบโตไปพร้อมกับทัศนคติที่ดี และเป็นบุคลากรคนสำคัญอีกคนหนึ่งที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนกระบวนการต่าง ๆ ในสังคม
เมื่อพบว่าลูกหลานเป็น LGBTQ สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำ ไม่ใช่การพยายามหาสาเหตุและแก้ปัญหา เพราะการเป็น LQBTQ ไม่ใช่ปัญหา สิ่งที่ควรทำคือการทำความเข้าใจในตัวของลูก ยอมรับพฤติกรรมและความรู้สึกส่วนตัวของลูก การที่ครอบครัวเข้าใจและเปิดใจจะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความภาคภูมิใจในตนเอง และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างสบายใจ
- ไม่เปรียบเทียบ
ผู้ปกครองต้องไม่เปรียบเทียบลูกหลานของตนเองกับเด็ก ๆ คนอื่น เพราะนั่นจะเป็นการลดทอนความมั่นใจและความนับถือในตัวเองของเขาลง สร้างความรู้สึกกดดันเมื่อต้องอยู่ร่วมกับครอบครัว และส่งผลให้ลูกหลานไม่กล้าที่จะพูดคุยเปิดใจหรือเปิดเผยตัวตนมากนักเมื่อต้องอยู่กับครอบครัว บางคนอาจพยายามหลีกเลี่ยงการพบปะครอบครัวไปเลยเพราะความอึดอัดใจ
- สื่อสารกันบ่อย ๆ
พยายามหากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ เพื่อให้ได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันให้มากขึ้น สื่อสารกันบ่อย ๆ อาจเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติในเชิงบวก หรือเรื่องทั่วไปที่เจอในชีวิตประจำวัน เปิดใจรับฟัง และช่วยแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกหลานได้
- สนับสนุน
ไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องเรียน แต่ให้ลองสังเกตความชอบ งานอดิเรกของลูกหลาน ว่าเขามีความสนใจในด้านไหน ให้ชื่นชมและสนับสนุน แต่อย่าชื่นชมจนเกินจริง
- อย่าควบคุมจนเกินไป
ไม่แปลกที่ผู้ปกครองจะรู้สึกเป็นห่วงลูกหลาน กลัวว่าจะไปเจอกับผู้ไม่ประสงค์ดี เมื่อไม่ได้อยู่ในสายตาของคนในครอบครัวตลอดเวลา แต่ก็ควรให้โอกาสเขาได้ลองเรียนรู้การใช้ชีวิต ได้มีประสบการณ์ที่หลากหลายดูบ้าง อย่าคิดจะควบคุมเด็กเอาไว้ตลอดเพียงเพราะเป็นห่วง เพราะในอนาคตเขาก็ต้องออกไปใช้ชีวิตในโลกกว้างแบบที่ไม่มีผู้ปกครอง การฝึกให้เด็กได้ลองผิดลองถูก โดยมีผู้ปกครองคอยดูแลอยู่ห่าง ๆ และให้ความช่วยเหลือตามที่จำเป็น จะช่วยให้เด็กเติบโตทางความคิดได้ดีกว่า และมีทักษะการใช้ชีวิตมากขึ้นด้วย
- ไม่เลือกปฏิบัติ
ไม่เลือกปฏิบัติทั้งต่อตัวเด็กเองและคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน หรือมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรก็ตาม โดยอาจเริ่มต้นจากการที่คิดว่า อยากให้คนอื่นปฏิบัติกับเราแบบไหน เราก็ปฏิบัติแบบนั้น เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับลูกหลาน พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่าเรามีการเปิดใจรับความแตกต่างของคน
- อบรมเรื่องสุขภาวะอนามัย
ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานเพศใดก็ตาม ควรได้รับการอบรมเรื่องวิธีการดูแลสุขอนามัยของตนเองตั้งแต่ยังอายุน้อย เพื่อที่จะสามารถดูแลตนเองได้ดีเมื่อเติบโตขึ้น เมื่อมีสุขอนามัยที่ดีก็จะส่งผลให้สุขภาพดีตามไปด้วย หากต้องการความดูแลด้านสุขภาพเพิ่มเติม ลองใช้บริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ เพื่อเลือกดูความคุ้มครองสุขภาพแบบที่ดีและถูกใจ เหมือนมีเพื่อนคู่ใจคอยช่วยดูแลเรื่องสุขภาพ นอกจากคนในครอบครัว
และนี่คือแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปกครองที่มีลูกหลาน LGBTQ ที่ Rabbit Finance นำมาแบ่งปันกันในวันนี้ หากมีเคล็ดลับใด ๆ เพิ่มเติม ก็สามารถแชร์กันมาได้เลย
อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th