Site icon Motherhood.co.th Blog

คนไทยใช้ชุดตรวจ “Rapid antigen test” ได้เองแล้ว

Rapid antigen test ในไทย

ถึงเวลาที่คนไทยจะหาซื้อ Rapid antigen test มาตรวจเองได้เสียที

คนไทยใช้ชุดตรวจ “Rapid antigen test” ได้เองแล้ว

หลังจากที่ชาวไทยรอคอยกันมานาน ให้ทางรัฐอนุมัติให้มีการจำหน่ายชุดตรวจ “Rapid antigen test” หรือชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็ว เสียที เพื่อที่ประชาชนจะได้ซื้อหามาตรวจเองได้โดยไม่ต้องจองคิวตรวจกับโรงพยาบาลหรือตามศูนย์ตรวจที่มีไม่เพียงพอ ล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศให้ประชาชนใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็วด้วยตนเองได้แล้ว

กระทรวงสาธารณสุขให้ประชาชนใช้ชุดตรวจ Rapid antigen ได้ด้วยตนเองแล้ว

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Self-test Kits) พ.ศ. 2564 ลงนามโดย อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 โดยมีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

ให้มีการเข้าถึงการตรวจคัดกรองที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรคโควิด) ด้วยตนเอง อันจะทำให้ประชาชนได้รับทราบถึงสถานการณ์ติดเชื้อก่อโรคโควิดของตนเองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก นำไปสู่กระบวนการตรวจวินิจฉัย ยืนยัน รักษา และป้องกันที่เหมาะสมโดยเร็ว ป้องกันการถ่ายทอดเชื้อให้บุคคลอื่น และลดการติดเชื้อก่อโรคโควิดรายใหม่ รวมถึงได้รับบริการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่สำคัญและนำไปสู่การควบคุมการระบาดของเชื้อก่อโรคโควิดได้ โดยประกาศนี้ให้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ทั้งนี้ ให้ชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรคโควิด) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Test Self-test Kits) เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขายเฉพาะแก่สถานพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1. ให้ขายได้เฉพาะแก่

2. ให้ผู้ผลิต หรือผู้น้าเข้า จัดท้ารายงานประจำปีเกี่ยวกับการขายเฉพาะชุดตรวจและน้้ายาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test kits) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ให้ผู้ผลิตหรือผู้น้าเข้าสามารถขายให้แก่ผู้ขายเพื่อน้าไปขายให้กับสถานที่หรือช่องทางตาม (1) ได้ โดยผู้ผลิตหรือผู้น้าเข้าจะต้องควบคุมให้ผู้ขายด้าเนินการขายให้เฉพาะแก่สถานที่หรือช่องทางตาม (1) เท่านั้น และสถานที่หรือช่องทางตาม (1) สามารถขายให้กับประชาชนทั่วไปได

เป็นการตรวจหาโปรตีนซึ่งปรากฏอยู่ในร่างกายผู้ที่ติดเชื้อ

การตรวจด้วย Rapid antigen test ทำกันอย่างไร ?

ชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็วเป็นการตรวจชนิดหนึ่งของ Lateral flow test (LFT) ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยอุปกรณ์ทดสอบอย่างง่ายและรวดเร็ว คล้ายกับชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองที่สามารถใช้ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ศูนย์ตรวจในชุมชน สำหรับชุดชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็วเป็นการตรวจหาโปรตีนซึ่งปรากฏอยู่ในร่างกายผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แนะนำวิธีการใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็วไว้ดังนี้

  • ใช้ไม้สวอบป้ายเก็บตัวอย่างเชื้อจากโพรงจมูกหรือลำคอ
  • จุ่มไม้สวอบลงในหลอดที่มีน้ำยาสกัด หมุนและบีบอย่างน้อย 5 รอบ นำไม้สวอบออก แล้วปิดด้วยจุกฝาหลอดหยอด
  • หยอดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด
  • รอผลหลังจากหยดน้ำยาตามช่วงเวลาที่ชุดตรวจกำหนดไว้ โดยมาก 15-30 นาที (ห้ามอ่านผลก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนดไว้)

การอ่านผลตรวจ

  • ผลบวก หรือติดเชื้อ จะมีแถบปรากฏขึ้นทั้งสองแถบคือ แทบทดสอบ (T) และแถบควบคุม (C)
  • ผลลบ หรือไม่ติดเชื้อ จะปรากฏเฉพาะแถบควบคุม (C)
  • ผลใช้งานไม่ได้ จะไม่มีแถบควบคุม (C) ปรากฏขึ้น มีแค่แถบทดสอบ (T)

ข้อดีและข้อเสียมีอย่างไรบ้าง ?

การตรวจแบบ LFT นั้นใช้งานง่ายและทราบผลรวดเร็ว โดยสามารถแสดงผลตรวจภายในเวลาประมาณ 30 นาที เหมาะสำหรับให้คนทั่วไปใช้งาน โดยมักใช้เพื่อคัดกรองเชื้อไวรัสเบื้องต้นสำหรับผู้ต้องสงสัยจะติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการป่วย เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รู้ตัวและเข้าสู่กระบวนการกักตัว จะได้ป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

แม้ว่าการตรวจแบบ LFT จะได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอในการใช้ตรวจประชากรจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ แต่การตรวจวิธีนี้ไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคโควิดที่มีปริมาณน้อยได้ ซึ่งหมายถึง หากคุณเพิ่งจะติดเชื้อหรืออยู่ในระยะฟักตัวของโรค หรือหากคุณเพิ่งจะหายจากโรค การตรวจก็อาจไม่แสดงผลเป็นบวก

ตรวจแล้วทำอย่างไรต่อ ?

เมื่อตรวจแล้วผลเป็นลบก็ไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ แต่เชื้ออาจจะน้อยและตรวจไม่เจอ ดังนั้น หากได้ผลเป็นลบก็ยังต้องกลับไปกักตัว และรอติดตามมาตรวจภายหลัง หากได้ผลเป็นบวก เนื่องจากอาจเป็นผลบวกลวง ก็ต้องมีการตรวจซ้ำด้วย PCR อีกที โดยควรเข้ารับการตรวจภายใน 24 ชั่วโมง และกักตัวเป็นเวลา 10 วัน เพราะถือว่ามีความเสี่ยงมาก แต่หากผลเป็นบวกก็จะนำเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป

หากตรวจ LFT แล้วได้ผลบวก ก็ยังต้องตรวจยืนยันซ้ำด้วย PCR อีกครั้ง

การตรวจแบบ LFT ต่างกับ PCR อย่างไร ?

การตรวจ PCR ย่อมาจาก Polymerase chain reaction หรือปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส ถือเป็นวิธีการตรวจ COVID-19 ที่แม่นยำที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยตรวจจับกรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ (RNA) ของเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นโมเลกุลลักษณะเดียวกับดีเอ็นเอ ในขณะที่การตรวจแบบ LFT จะตรวจจับโปรตีนซึ่งปรากฏอยู่ในร่างกายผู้ที่ติดเชื้อ

การตรวจ PCR ต้องทำในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตรวจหา RNA ที่มีปริมาณน้อยมาก และมักได้ผลออกมาภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งผู้แสดงอาการจะต้องเข้ารับการตรวจยืนยันด้วยวิธี PCR เพราะการตรวจแบบแสดงผลเร็ว LFT มักใช้ตรวจคัดกรองผู้สงสัยติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ

ในไทยมีตัวเลือกอะไรให้ซื้อมาใช้ ?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยรายชื่อชุดตรวจสำหรับ COVID-19 ประเภท Rapid test แบบตรวจหา Antigen รูปแบบการใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น (Professional use only) ที่โด้รับการอนุญาตให้ผลิต/นำเข้า จาก อย. โดยมีทั้งสิ้น 24 บริษัท

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th