Site icon Motherhood.co.th Blog

อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตที่ใคร ๆ ก็เคยเป็น

โรคอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตที่หลีกเลี่ยงได้ไม่ยาก

อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตที่ใคร ๆ ก็เคยเป็น

หนึ่งในอาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่ไม่ว่าจะวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ต้องเคยเผชิญกันก็คือ “อาหารเป็นพิษ” หลาย ๆ คนหาสาเหตุไม่พบว่าตัวเองไปรับประทานอะไรผิดสำแดงมา ถึงได้เกิดอาการ บางคนแน่ใจว่าตนเองรักษาสุขอนามัยในการรับประทานอาหารเป็นอย่างดี แต่ทำไมฉันถึงเป็นอาหารเป็นพิษได้ แล้วแบบนี้จะแน่ใจได้อย่างไรว่าวันข้างหน้าจะไม่เป็นขึ้นมาอีก วันนี้ Motherhood จะพาคุณ ๆ มาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ เพื่อให้รู้สาเหตุและป้องกันตัวเองได้

อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)

เป็นภาวะที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือปวดท้อง ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักไม่ร้ายแรง แต่หากเกิดอาการรุนแรงขึ้นก็อาจทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่จนเป็นอันตรายได้ อาการอาหารเป็นพิษเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา ที่เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เราจึงควรมีความระมัดระวังในการรับประทานอาหารอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะนี้

ภาวะนี้เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อน

อาการของอาหารเป็นพิษ

ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของเชื้อที่ร่างกายได้รับเข้าไป โดยอาจมีอาการหลังรับประทานอาหารไม่กี่ชั่วโมง หรือมีอาการนานเป็นสัปดาห์หากได้รับเชื้อรุนแรง อาการป่วยของผู้ที่ประสบภาวะอาหารเป็นพิษ มีดังนี้

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที และไม่ควรซื้อยามารับประทานเองอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้

บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากพบว่ามีอาการบ่งชี้ของภาวะอาหารเป็นพิษ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแออย่างผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือผู้ติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลิ้นหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต

สาเหตุของอาหารเป็นพิษ

สาเหตุส่วนมากของภาวะอาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ซึ่งเชื้อที่มักเป็นสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ คือ

นอกจากนี้ ภาวะอาหารเป็นพิษในผู้ป่วยบางรายก็อาจเกิดจากสารพิษที่สร้างขึ้นโดยเชื้อโรค พืชที่มีพิษ หรือสารเคมี เช่น สารตะกั่ว ยาฆ่าแมลง เห็ดพิษ สารหนู หรือสารปรอท

ผงน้ำตาลเกลือแร่ไม่เหมือนกับเกลือแร่ที่ดื่มหลังออกกำลังกาย

การรักษาอาหารเป็นพิษ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นได้ด้วยการดูแลตัวเองที่บ้าน โดยปฎิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

ยิ่งกับเด็กเล็ก ต้องดูแลเรื่องความสะอาดในการกินอย่างดี

วิธีป้องกันอาหารเป็นพิษ

  1. ดื่มน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุก
  2. รับประทานอาหารที่สด สะอาด ปรุงสุกใหม่ ๆ
  3. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานหรือประกอบอาหาร
  4. อย่าเสี่ยงรับประทานอาหารเก่าที่อยู่ในตู้เย็นมานานเกินควร
  5. ไม่ละลายอาหารสดแช่แข็งด้วยการแช่น้ำหรือตั้งทิ้งไว้ เพราะจะเป็นการเพิ่มปริมาณของเชื้อโรคจากอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ ทางที่ดีควรนำมาละลายด้วยไมโครเวฟ
  6. เก็บรักษาอาหารประเภทที่บูดหรือเสียง่ายให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม มีความเย็นทั่วถึง เช่น แกงกะทิ อาหารทะเล อาหารสด

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th