Site icon Motherhood.co.th Blog

แม่ท้องเป็นโรคหัวใจ อันตรายที่ต้องระวัง

แม่ท้องเป็นโรคหัวใจเสี่ยงอะไร

นี่คือความเสี่ยงที่แม่ท้องเป็นโรคหัวใจต้องรู้เอาไว้

แม่ท้องเป็นโรคหัวใจ อันตรายที่ต้องระวัง

ปกติการตั้งครรภ์ก็เป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว หาก “แม่ท้องเป็นโรคหัวใจ” ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอีก แม้แต่กับแม่ที่มีสุขภาพดีก็อาจได้รับผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ รวมทั้งเรียนรู้การดูแลและป้องกันตนเอง เพื่อให้ตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

การเป็นโรคหัวใจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของตัวแม่เองและทารกในครรภ์

โรคหัวใจกับการตั้งครรภ์

เมื่อตั้งครรภ์ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารก โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดจะทำงานหนักขึ้นเพื่อลำเลียงเอาออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไปให้ทารกได้อย่างเพียงพอ ความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบหัวใจที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ มีดังนี้

นอกจากนี้การคลอดก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เนื่องจากการออกแรงเบ่งคลอดนั้นส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิต ซึ่งในช่วงหลังคลอดอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าหัวใจและหลอดเลือดของคุณแม่จะกลับมาทำงานเป็นปกติ

ระดับความรุนแรงของโรคหัวใจระหว่างตั้งครรภ์

  1. ยังสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ ใจสั่น หรือเจ็บหน้าอกเนื่องมาจากหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไม่มีอาการปวดเค้นที่หัวใจ
  2. สามารถทำกิจกรรมได้เล็กน้อย รู้สึกสบายเมื่อได้พัก ถ้าทำกิจกรรมตามปกติแล้วจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ใจสั่น และเจ็บหน้าอก
  3. สามารถทำกิจกรรมได้น้อยมาก รู้สึกสบายเมื่อได้พัก ถ้าทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อยจะเริ่มเหนื่อย ใจสั่น เจ็บหน้าอก
  4. ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้เลย แม้กระทั่งเวลาพักก็จะรู้สึกเหนื่อยหอบ ในสั่น หรือเจ็บหน้าอก
แม่ท้องบางคนก็เหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปได้สักพัก

ใครมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจระหว่างตั้งครรภ์

ตามปกติแล้ว แม่ตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขณะตั้งครรภ์ได้ แต่จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

แม่ท้องเป็นโรคหัวใจมีความเสี่ยงอะไรเพิ่มบ้าง ?

แม่ตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจกำเริบเพิ่มมากขึ้น หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ โดยภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อย มีดังนี้

สามารถส่งต่ออาการหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดไปยังทารกในครรภ์ได้

ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับทารก

เพราะทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นทุกวัน จึงต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น ส่งผลให้หัวใจของคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจแล้วตั้งครรภ์ต้องพยายามสูบฉีดเลือดเพื่อไปเลี้ยงทารกในครรภ์เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจอาจลดลง และสูบฉีดเลือดไปยังทารกในครรภ์ได้ไม่มากพอ ทารกจึงมักมีอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่า และอาจคลอดออกมาตัวเล็กกว่าปกติ หรือในกรณีที่คุณแม่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ทารกที่คลอดออกมาก็อาจเสี่ยงมีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือคลอดก่อนกำหนดได้ด้วยเช่นกัน

เลือกคลอดแบบไหน หากเป็นโรคหัวใจระหว่างตั้งครรภ์

  1. ระหว่างที่เจ็บครรภ์คลอด คุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจมักมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้ง่ายจากอาการเหนื่อยอ่อนและความเจ็บปวด แพทย์จึงมักให้ยาระงับปวดกับคุณแม่ โดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้าทางไขสันหลัง และเพื่อไม่ให้คุณแม่ต้องออกแรงเบ่งมาก แพทย์ก็มักจะใช้เครื่องมือในการช่วยคลอด เช่น คีม เพื่อช่วยคีบศีรษะทารกออกมา
  2. แพทย์มักไม่แนะนำให้ผ่าคลอด เพราะจะทำให้คุณแม่เสี่ยงกับอาการหัวใจวายจากการเสียดเลือดมากในการผ่าตัดและจากการดมยาสลบได้มากกว่าคุณแม่ที่สุขภาพปกติ

การดูแลแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ

เราสามารถรับมือกับการเกิดโรคหัวใจขณะตั้งครรภ์ได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกาย หากคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอยู่ก่อนแล้ว อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษทั้งในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดอาจทำให้แม่ท้องเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้สูง

ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ซึ่งแพทย์อาจนัดมาตรวจสุขภาพบ่อยกว่าคุณแม่ที่มีสุขภาพปกติ ที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไม่มีความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

คุณแม่ควรดูแลสุขภาพตัวเองตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

สำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจและมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา การใช้ยาอาจส่งผลกระทบต่อทารกได้ ดังนั้น ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาประโยชน์และผลเสียที่จะได้รับจากการใช้ยาดังกล่าวด้วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ยา แพทย์จะให้ใช้ยาในปริมาณที่ปลอดภัยและส่งผลดีต่อการรักษามากที่สุด ซึ่งคุณแม่ต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามรับประทานมากหรือน้อยกว่าที่แพทย์กำหนด รวมทั้งห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด

ฟังคำแนะนำของแพทย์ในการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด

จะมีทางป้องกันได้อย่างไร ?

โรคหัวใจขณะตั้งครรภ์นั้น เรามีวิธีควบคุมความเสี่ยงได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคหัวใจสูงควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนตั้งครรภ์ เพื่อให้แพทย์วางแผนและให้คำแนะนำในการดูแลตนเองตั้งแต่ช่วงก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ คุณแม่ควรเตรียมพร้อมร่างกายก่อนตั้งครรภ์ด้วยการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เลิกสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th