Site icon Motherhood.co.th Blog

การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เริ่มได้เมื่อไหร่ ?

เรียนรู้การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ

หากลูกคุณเป็นเด็กข้ามเพศ สักวันหนึ่งเขาอาจต้องการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ

การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ เริ่มได้เมื่อไหร่ ?

“การใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ” เป็นไปเพื่อแก้ไขภาวะ Gender dysphoria ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลประสบกับความรู้สึกไม่สบายหรือความทุกข์เนื่องจากความไม่ตรงกันระหว่างเพศที่ถูกกำหนดให้ตั้งแต่แรกเกิดและอัตลักษณ์ทางเพศในปัจจุบัน ภาวะเช่นนี้อาจเกิดได้ในเด็กและวัยรุ่นข้ามเพศ จึงทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับภาวะนี้ การใช้ฮอร์โมนบำบัดและยายับยั้งการเจริญพันธุ์สามารถเริ่มทำได้เมื่อใด เพราะการตัดสินใจรับการรักษานี้เป็นขั้นตอนที่ใหญ่ บทความนี้ระบุถึงหลักฐานปัจจุบันบางประการเกี่ยวกับฮอร์โมนที่ใช้บำบัดเพื่อการข้ามเพศในวัยรุ่นและเด็ก เพื่อช่วยพวกคุณในการตัดสินใจ

เด็กข้ามเพศบางคนมีภาวะ Gender dysphoria แต่บางคนก็ไม่มี

ปัญหา Gender dysphoria เป็นปัญหาใหญ่เพียงใด ?

การประมาณการเกี่ยวกับคนข้ามเพศแสดงให้เห็นว่ากรณีจากชายเป็นหญิงมีมากกว่าจากหญิงเป็นชายที่ต้องทุกข์ทรมานกับ Gender dysphoria ด้วยอัตรา 1 ต่อ 10,000 ในเพศกำหนดชายและ 1 ต่อ 27,000 ในเพศกำหนดหญิง

อัตราที่สูงขึ้นนั้นพบได้ในยุโรปตะวันตกและอเมริกา แต่ความชุกที่แน่นอนนั้นยากต่อการประมาณการเนื่องจากจำนวนเด็กและวัยรุ่นในเอเชียที่เข้าถึงบริการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณตั้งแต่ปี 2011

เด็กข้ามเพศและเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศอาจเลือกที่จะยับยั้งการเจริญพันธุ์ชั่วคราวโดยใช้ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่เรียกว่า Pubertal blockers ยาที่ส่วนใหญ่มักใช้เพื่อยับยั้งการเจริญพันธุ์เรียกว่ายาสังเคราะห์ประเภทฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิง (Gonadotropin-releasing hormone – GnRH) นี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับประโยชน์ ผลข้างเคียง และผลกระทบระยะยาว

ตัวยาจะช่วยยับยั้งการแสดงออกทางเพศตามฮอร์โมน

ยาบล็อกการเจริญพันธุ์ทำอะไรกับร่างกาย ?

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยแรกรุ่นอาจทำให้เกิดความทุกข์รุนแรงสำหรับวัยรุ่นที่อัตลักษณ์ทางเพศแตกต่างไปจากความเป็นชายหรือหญิงตามบริบทของสังคมหนึ่ง ๆ เมื่อรับประทานเป็นประจำ GnRH จะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศของร่างกาย รวมทั้งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจนในช่วงวัยแรกรุ่น

ฮอร์โมนเพศส่งผลต่อ:

ในกลุ่มที่ถูกกำหนดให้เป็นเพศชายตั้งแต่แรกเกิด GnRH จะลดการเจริญเติบโตของขนบนใบหน้าและตามร่างกาย ป้องกันเสียงที่ทุ้ม และจำกัดการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ

ในกลุ่มที่ถูกกำหนดให้เป็นเพศหญิงตั้งแต่แรกเกิด การรักษาด้วย GnRH จะจำกัดหรือหยุดการพัฒนาเต้านมและหยุดการมีประจำเดือน

ประเภทของยาบล็อกการเจริญพันธุ์

ยายับยั้งการเจริญพันธุ์มี 2 ประเภท คือ ฮิสเทรลินอะซิเตท (Histrelin acetate ) และลิวโพรไลด์อะซิเตท (Leuprolide acetate)

นานแค่ไหนกว่าจะมีผล ?

สามารถใช้ยาบล็อกการเจริญพันธุ์ได้หลายสัปดาห์ก่อนที่จะสังเกตเห็นผลกระทบใด ๆ

ยายับยั้งการเจริญพันธุ์สามารถยับยั้งภาวะเจริญพันธุ์ได้อย่างมีนัยสำคัญภายในเดือนที่หกของการรักษา

ประโยชน์ของการใช้ยาบล็อกวัยเจริญพันธุ์คืออะไร ?

Gender dysphoria คือสิ่งที่คนข้ามเพศต้องพบเจอมาตั้งแต่ยังเด็กและไม่อาจดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ในบางรายกลับจะแย่ลงไปอีก สำหรับเด็กที่มีภาวนะ การใช้ยายับยั้งการเจริญพันธุ์อาจช่วยให้

อย่างไรก็ตาม การใช้ยายับยั้งการเจริญพันธุ์เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถบรรเทา Gender dysphoria ได้

ตัวเด็กเองต้องได้รู้ข้อมูลครบถ้วนก่อนทำการตัดสินใจ

เกณฑ์การใช้ยายับยั้งการเจริญพันธุ์คืออะไร ?

ในการเริ่มใช้ตัวบล็อกการเจริญพันธุ์ เด็กต้อง:

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ พ่อแม่หรือผู้ดูแลหรือผู้ปกครองอื่น ๆ ต้องยินยอมให้การรักษาและสนับสนุนวัยรุ่นผ่านกระบวนการบำบัดรักษา

การเปลี่ยนแปลงจะถาวรหรือไม่ ?

การใช้ GnRH จะหยุดการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยให้เวลาในการพิจารณาว่าอัตลักษณ์ทางเพศของเด็กจะคงอยู่นานหรือไม่ นอกจากนี้ยังให้เวลาเด็ก ๆ และครอบครัวได้คิดหรือวางแผนสำหรับประเด็นทางด้านจิตใจ การแพทย์ พัฒนาการ สังคม และกฎหมายในอนาคต

หากเด็กวัยรุ่นตัดสินใจที่จะหยุดใช้ GnRH ภาวะเจริญพันธุ์ตามวัยจะกลับมา

กรอบเวลาการรักษาโดยทั่วไปคืออะไร ?

สำหรับเด็กส่วนใหญ่ วัยแรกรุ่นจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 10-11 ปี แม้ว่าบางครั้งวัยแรกรุ่นจะเริ่มเร็วกว่านี้ ผลของยายับยั้งการเจริญพันธุ์ขึ้นอยู่กับเวลาที่เด็กเริ่มใช้ยา โดยสามารถเริ่มต้นได้ในช่วงเริ่มต้นของวัยแรกรุ่นเพื่อชะลอลักษณะทางเพศรอง ในระยะหลังของวัยแรกรุ่น การรักษาสามารถใช้เพื่อหยุดการมีประจำเดือนหรือการแข็งตัวของอวัยวะเพศ หรือเพื่อป้องกันการพัฒนาลักษณะทางเพศรองที่ไม่ต้องการ

แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่ใช้ยากัน 2-3 ปี เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน หลังจากระงับวัยเจริญพันธุ์ได้ 2-3 ปี ลูกของคุณอาจตัดสินใจหยุดการบำบัดด้วยการบล็อกวัยเจริญพันธุ์หรือทำรักษาด้วยฮอร์โมนอื่น ๆ

ยับยั้งการเจริญพันธุ์ไว้ก่อน เพื่อให้เวลาเด็กได้ตัดสินใจในการข้ามเพศอย่างชัดเจน

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้คืออะไร ?

สิ่งสำคัญสำหรับบุตรหลานของคุณคือต้องรักษาตามกำหนดเวลาด้วยการนัดหมายทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ติดต่อแพทย์หากคุณพบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ทำให้คุณหรือลูกของคุณกังวล

ผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของการรักษาด้วย GnRH ได้แก่

การใช้ GnRH อาจส่งผลระยะยาวต่อ

เด็กอาจได้รับการตรวจสอบความสูงทุก 3 เดือน ความหนาแน่นของกระดูกยังได้รับการตรวจสอบเป็นระยะ หากการเติบโตของกระดูกหรือความหนาแน่นเป็นปัญหา แพทย์อาจสั่งยาอื่น และหยุดการรักษาด้วย GnRH

เด็กอาจได้รับการตรวจสอบความสูงทุกสามเดือน ความหนาแน่นของกระดูกยังได้รับการตรวจสอบเป็นระยะ หากการเติบโตของกระดูกหรือความหนาแน่นเป็นปัญหา ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของบุตรของท่านอาจสั่งยาอื่น หยุดการรักษาด้วย GnRH หรือแนะนำเวลาที่ดีที่สุดเพื่อเริ่มการบำบัดด้วยฮอร์โมน

หากเด็กที่มีอวัยวะเพศชายเริ่มใช้ GnRH ในช่วงต้นของวัยแรกรุ่น พวกเขาอาจไม่พัฒนาอวัยวะเพศชายและผิวหนังถุงอัณฑะเพียงพอสำหรับขั้นตอนการผ่าตัดอวัยวะเพศเพื่อเปลี่ยนเพศ เช่น การทำช่องคลอดจากอวัยวะเพศชาย อย่างไรก็ตามมีเทคนิคทางเลือกอื่นอยู่

นอกจากนี้ การชะลอวัยเจริญพันธุ์ให้ช้ากว่าเพื่อน ๆ อาจเป็นเรื่องที่เครียดได้ ลูกของคุณอาจรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองลดลง

ต่อยอดด้วยการใช้ฮอร์โมนเพื่อแสดงลักษณะทางเพศอย่างชัดเจนในอนาคต

จำเป็นต้องมีการรักษาอะไรอีกบ้าง ?

การประเมินและการให้คำปรึกษาโดยจิตแพทย์สามารถช่วยคุณและลูกของคุณในขณะที่คุณก้าวผ่านกระบวนการตัดสินใจและให้การสนับสนุนในระหว่างการรักษา

หลังจากช่วงระยะเวลาของการปรับตัวเข้ากับการยับยั้งการเจริญพันธุ์แล้ว วัยรุ่นอาจทำงานร่วมกับทีมดูแลของพวกเขาเพื่อเพิ่มการรักษาแบบฮอร์โมน สิ่งนี้ทำเพื่อพัฒนาลักษณะทางเพศรองของเพศชายหรือเพศหญิง ช่วยให้จิตใจและร่างกายมีลักษณะและทำหน้าที่ตรงกับเพศที่ลูกของคุณนิยามตัวเอง โปรดทราบว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างไม่สามารถย้อนกลับได้หรือจะต้องผ่าตัดเพื่อให้ได้ผลย้อนกลับ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th