Site icon Motherhood.co.th Blog

ทำไมถึง “นอนไม่หลับตอนท้อง” ?

ปัญหานอนไม่หลับตอนท้อง

ไม่ใช่เรื่องแปลกหากคุณจะนอนไม่หลับในช่วงตั้งครรภ์

ทำไมถึง “นอนไม่หลับตอนท้อง” ?

ว่าที่คุณแม่หลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเธอถึง “นอนไม่หลับตอนท้อง” และสิ่งนี้จะส่งผลต่อทารกหรือไม่ คุณแม่ส่วนมากต้องเผชิญกับปัญหาการนอนหลับ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนแรก ส่วนใหญ่กลัวว่าจะส่งผลกับสุขภาพของทารก ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติและเป็นที่ยอมรับได้ บทความนี้จะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาการนอนไม่หลับระหว่างตั้งครรภ์และให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหานี้

ทำไมมันเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ?

อย่างที่เราทราบกันดีว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่ บางคนเป็นในเรื่องของจิตวิทยา ในขณะที่คนอื่นเป็นเรื่องทางสรีรวิทยาและชีวเคมี อาการนอนไม่หลับเริ่มเกิดขึ้นอย่างมากในช่วงไตรมาสแรก เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างมากที่มาพร้อมกับการตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ โดยถึงจุดสูงสุดและลดลงอย่างรวดเร็วหลังคลอด สิ่งนี้ทำให้เกิดความผิดปกติของการนอนหลับ อย่างไรก็ตาม คุณควรทำใจให้สบายและจำไว้ว่ามันเป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่งและกำลังจะจางหายไป

ความคาดหวัง ความกังวล ที่มีต่อลูกน้อย ล้วนส่งผลให้คุณนอนไม่หลับ

ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับนั้นเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาล้วน ๆ คุณแม่มักนึกถึงทารกและสิ่งที่พวกเธอสามารถทำได้เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่น แน่นอนว่าสิ่งนี้นำไปสู่ปัญหาทางจิตใจ มักมีความคิดที่ว่า ‘จะเกิดอะไรขึ้น ?’ ความวิตกกังวลหรือความหดหู่ใจที่เกิดจากการถามคำถามมากมายมักจะขัดขวางไม่ให้ผู้คนมองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างที่มันเป็น แต่โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่เราต้องจำไว้คืออาการนอนไม่หลับไม่ส่งผลต่อทารก แต่ส่งผลต่อมารดา

ขั้นตอนในการเอาชนะอาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ สรีรวิทยา และชีวเคมี

มี 2 เหตุผลหลักที่อยู่เบื้องหลังการนอนไม่หลับที่กล่าวถึงไปแล้วในย่อหน้าข้างบน สิ่งแรกซึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องจัดการด้วยความอดทนและผ่านการเยียวยาทางด้านจิตใจ แน่นอนว่ามีเส้นทางที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้คุณสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยาของคุณได้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือการหยุดพักหากคุณทำงาน ท่องเที่ยว ฝึกโยคะ การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ทำให้ทุกสิ่งที่กระจัดกระจายอยู่หมุนกลับไปในทิศทางเดียวกันและทำให้เกิดการบรรเทาทางจิตใจ เป็นผลให้มันสะท้อนให้เห็นในด้านสรีรวิทยาและชีวเคมีในแบบคู่ขนาน

นิสัยทั่วไปที่ทำให้นอนไม่หลับระหว่างตั้งครรภ์

เหตุผลทางสรีรวิทยา ชีวเคมี และจิตใจที่อยู่เบื้องหลังการนอนไม่หลับของสตรีมีครรภ์ปรากฏให้เห็นอย่างไม่ยากนัก และถ้ามันชัดเจนเพียงพอก็จะมีวิธีแก้ปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดจากนิสัยเป็นสิ่งที่จิตสำนึกของเราละเลย อย่างไรก็ตาม เราสามารถเอาชนะพวกมันได้ง่ายในเวลาอันสั้น เป็นการดีกว่าที่เราจะรู้ว่าอาการเหล่านั้นเป็นเช่นไร อันที่จริงมีมากมาย แต่จะเน้นอาการที่สำคัญและพบได้ทั่วไป นิสัยที่ทำให้นอนไม่หลับเหนือสิ่งอื่นใดคือความหิวและอาหารรสเผ็ด ผู้มีครรภ์ควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพซึ่งจะส่งผลดีต่อทารกในครรภ์เช่นกัน ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สำคัญสำหรับตัวเองและทารก

หากคุณเล่นเน็ตจนดึกดื่น ปัญหาการนอนไม่หลับก็ยิ่งฝังลึก

นิสัยอีกอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงคือการนอนคนละเวลากันในแต่ละคืน เมื่อคุณนอนหลับในแต่ละคืนในเวลาที่ต่างกัน คุณทำให้สมองสับสนว่าชัทดาวน์กี่โมง ปัญหานี้เกิดจากการนอนดูทีวีจนดึก เล่นเน็ต คุยกับเพื่อน และอีกหลายอย่างที่ทำให้นอนไม่หลับในช่วงเวลาหนึ่ง ผู้มีครรภ์ต้องกำหนดเวลาเข้านอน นอกจากนี้ห้องนอนควรเป็นที่ที่เย็นและมืดเพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลายและอยู่ห่างจากสิ่งที่จะมารบกวนการนอนของคุณ

บางครั้งสิ่งที่เราต้องเอาชนะปัญหาคือต้องเข้าใจมันอย่างถี่ถ้วน เราไม่ต้องตื่นตระหนกหากเราประสบปัญหาและมัวแต่แยกตัวอยู่ในมุม สื่อสารปัญหาของคุณ แบ่งปันกับคนรอบข้าง และเผชิญหน้ากับมันอย่างกล้าหาญ ด้วยความหวังและความกล้าหาญเพียงเล็กน้อย ทุกสิ่งสามารถเอาชนะได้

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th