Site icon Motherhood.co.th Blog

จัดท่านอนอย่างไร ? ป้องกัน “ลูกหัวแบน”

กลัวลูกหัวแบน

ลูกเราจะหัวแบน หัวจะไม่ทุยสวย เพราะนอนหงายมากไปจริงเหรอ ?

จัดท่านอนอย่างไร ? ป้องกัน “ลูกหัวแบน”

คุณพ่อคุณแม่มักจะกังวลเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของลูกที่ดูไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หลายคนก็กังวลเรื่องศีรษะของลูกว่า “ลูกหัวแบน” หัวไม่ทุยได้รูปสวย เพราะเกิดมาจากความเชื่อว่าการให้เด็กทารกนอนหงายจะเกิดการกดทับที่ศีรษะด้านหลัง แล้วหัวของลูกจะไม่ทุยสวย ครั้นจะแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกนอนคว่ำ ก็กลัวว่าจะเกิดภาวะหลับไม่ตื่นหรือเปล่า วันนี้ Motherhood เลยจะมาพูดถึงประเด็นหัวทุย-หัวแบนให้เคลียร์ใจกันค่ะ

ทำไมลูกถึงหัวแบน หัวไม่ทุยสวย ?

การที่ศีรษะของทารกไม่ทุยหรือมีรูปร่างเบี้ยว เป็นหนึ่งในความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

1. แบบตั้งแต่แรกคลอด

แบบนี้จะเห็นได้ว่าศีรษะของทารกจะดูผิดปกติ ผิดรูป ตั้งแต่แรกคลอดเลย เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้เองตั้งแต่แรกเกิดหรือช่วงหลังคลอดหมาด ๆ

สาเหตุ: เป็นเพราะเกิดการกดทับของมดลูกไปยังกะโหลกท้ายทอยของทารกเป็นเวลานาน ส่วนมากเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่มีครรภ์แฝด หรือมีสาเหตุจากอุปกรณ์ช่วยคลอด เช่น คีมหรือเครื่องสูญญากาศ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากกะโหลกศีรษะเด็กนั้นยังไม่แข็ง เมื่อมีแรงกดไปบริเวณกะโหลกก็จะบุ๋มลงไปเหมือนลูกปิงปองบุบ

2. แบบเกิดขึ้นหลังคลอด

แบบนี้จะพบว่าเมื่อแรกคลอด ศีรษะของทารกจะยังดูปกติดีทุกประการ แต่ต่อมาจะเริ่มพบความผิดปกติหรือความเบี้ยว

สาเหตุ: เกิดจากการที่ทารกนอนอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ และมักจะเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง ถ้านอนด้านนั้นนานมากเกินไป หากนอนหงายเป็นเวลานานก็จะพบว่าทารกมีท้ายทอยที่แบนราบนั่นเอง

การเปลี่ยนท่านอน เปลี่ยนตำแหน่งการนอน สามารถช่วยได้

ป้องกันไม่ให้ลูกหัวแบนได้ไหม ?

ส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์เสมอไป แม้โดยใช้ตำแหน่งการนอนหลับที่จะอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง ทารกบางคนก็จะยังคงมีส่วนแบนราบที่ด้านหลังศีรษะ

วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกน้อยของคุณหัวแบนคือการเปลี่ยนตำแหน่งที่วางเขาลงในเปลในแต่ละวัน เนื่องจากลูกน้อยของคุณชอบดูอะไรที่น่าสนใจ เขาอาจหันศีรษะไปมองที่ห้องมากกว่าที่จะหันไปทางผนังเมื่อนอนอยู่ในเปล ด้วยวิธีนี้เขาจะยังสามารถเห็นพ่อแม่เดินไปมาได้เสมอ

นี่คือวิธีเปลี่ยนตำแหน่งศีรษะของทารกในขณะที่ยังให้ ‘มุมมอง’ เหมือนเดิมจากเปลของเขา

คุณยังสามารถลองวางโมบายล์ไว้ที่ด้านข้างของเปลโดยหันเข้าหาห้องเพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยของคุณมองไปทางนั้น

หมอนปรับท่านอนก็เป็นตัวช่วยในการปรับท่านอนที่ดี

จะทำอะไรได้อีกบ้างเป็นการป้องกัน ?

ทารกควรได้รับการจัดสรรเวลาสำหรับการนอนคว่ำในแต่ละวัน ในช่วงที่เขาตื่นนอนเป็นเวลา 10-15 นาทีต่อครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถวางลูกน้อยของคุณให้คว่ำด้วยท้องของเขา การทำเช่นนี้ไม่เพียงช่วยป้องกันการเกิดจุดแบนบนศีรษะเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกายโดยรวมของลูกน้อยด้วย

อุปกรณ์อย่างเป้อุ้มเด็กหรือหมอนปรับท่านอนก็ช่วยแก้ปัญหานี้ได้พอสมควร รวมทั้งอย่าปล่อยให้ทารกนอนในคาร์ซีทหรือรถเข็นเด็กนานเกินไปด้วย ไม่เฉพาะแต่การนอนบนเตียงหรือนอนในเปลเมื่ออยู่ที่บ้านเท่านั้น

หากลองปรับการนอนเองแล้วยังไม่ได้ผล แพทย์จะสั่งอุปกรณ์เสริมให้ใส่

ควรปรึกษาแพทย์เมื่อใด ?

หากจุดแบนบนศีรษะยังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ให้รีบปรึกษาแพทย์ การรักษาจะได้ผลดีที่สุดหากพาทารกมาพบแพทย์ในช่วงอายุ 4-12 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่กะโหลกศีรษะยังมีความอ่อน ในรายที่รักษาไม่ได้ผล แพทย์อาจสั่งให้ใส่หมวกลักษณะคล้ายหมวกกันน็อก (Skull molding helmet) และอาจตัดสินใจให้มีการผ่าตัด แต่ก็มักเป็นทางเลือกสุดท้ายแล้วจริง ๆ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th