Site icon Motherhood.co.th Blog

ทำยังไงดีเมื่อ “ลูกแกล้งป่วย” ?

ทำไมลูกแกล้งป่วย

ทำอย่างไรเมื่อลูกแกล้งป่วยเพื่อโดดเรียนอยู่กับบ้าน ?

ทำยังไงดีเมื่อ “ลูกแกล้งป่วย” ?

ลูกของคุณนอนป่วยอยู่บนโซฟาที่บ้าน ทันใดนั้นคุณก็พบว่าลูกหัวเราะไปพร้อมกับรายการทีวีที่โปรดปราน คุณโดนลูกแกงเข้าแล้ว นี่ “ลูกแกล้งป่วย” เหรอ? การแกล้งป่วยเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปโรงเรียนถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมของเด็กธรรมดา ๆ จนกว่าการกระทำนี้จะเกิดขึ้นบ่อยจนกลายเป็นเรื่องปกติ หากคุณสังเกตเห็นว่าลูกของคุณต้องการหยุดอยู่บ้านบ่อยขึ้น อาจมีอะไรมากไปกว่าอาการท้องไส้ปั่นป่วนก็เป็นได้

ป่วยจริงหรือหลอก ?

“ถ้าคุณสามารถแยกแยะได้ว่าพวกเขาไม่มีไข้หรือกำลังป่วยเป็นไข้หวัด อาจเป็นเพราะพวกเขากังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหรือถูกแยกจากพ่อแม่ แม้ว่าจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม” แจ็กกี้ เมเยอร์ส ที่ปรึกษามืออาชีพในมิชิแกนตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว “มันเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับพวกเขา”

เด็กมีความวิตกกังวลเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่มักจะแสดงอาการทางจิตในลักษณะทางกายภาพ เมเยอร์สกล่าวว่าสิ่งนี้มักพบในเด็กเล็ก “เด็ก ๆ ไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่จะพูดว่า ‘วันนี้หนูรู้สึกวิตกกังวล'” เมเยอร์สแนะนำวิธีที่ดีที่สุดในการระบุสิ่งนี้คือการพูดคุยกับลูกของคุณเกี่ยวกับประสบการณ์ในโรงเรียนของพวกเขา และปรับความรู้สึกให้เป็นปกติว่าไม่เป็นไรที่จะประหม่าและกลัว พูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น และดูว่าคุณสามารถจำกัดให้เหลือสาเหตุที่เจาะจงได้หรือไม่

ความวิตกกังวลบางอย่างทำให้เด็กไม่อยากไปโรงเรียน

อะไรเป็นสาเหตุของปัญหา ?

เมเยอร์สกล่าวว่าสำหรับเด็กโต มักเป็นความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกสังคมของพวกเขา จากนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้ง การแกล้งป่วยจึงกลายเป็นกลยุทธ์ในการหลีกเลี่ยงเพื่อบรรเทาการถูกบูลลี่

“หากพวกเขาเคยชินกับการไปโรงเรียน และจู่ ๆ พวกเขาก็ไม่อยากไป อาจเป็นคนพาลหรือใครก็ตามที่มาล้อเลียนพวกเขา” เมเยอร์สกล่าว เธอขอให้พ่อแม่สนับสนุนให้เด็กบอกครูทันทีที่มีปัญหา เพราะเด็กหลายคนไม่กล้าพูดเพราะกลัวว่าจะถูกมองว่าเป็นการแต่งเรื่อง

สาเหตุที่แท้จริงอาจจะเกิดจากการถูกบูลลี่ที่โรงเรียน

ถ้าการโดดเรียนยังดำเนินต่อไป ?

คุณควรทำอย่างไรถ้าลูกของคุณยังคงแกล้งป่วยเพื่อที่จะได้หยุดเรียน ?

หลังจากพูดคุยกับลูกของคุณแล้ว เมเยอร์แนะนำให้กำหนดเวลานัดพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ซึ่งสามารถ ‘ทำให้ผู้ปกครองสบายใจได้ว่ามันเป็นเรื่องทางร่างกายไม่ใช่ทางจิตใจ’ นอกจากนี้ เด็กที่แกล้งอาจหยุดเล่นเมื่อได้ยินคำว่า ‘มส. (หมดสิทธิ์สอบ)’ ที่น่ากลัว

นอกจากนี้ ให้สื่อสารกับครูของลูกคุณบ่อย ๆ เพื่อรับทราบข้อมูลล่าสุดและข้อเสนอแนะ หากพฤติกรรมยังคงอยู่ อาจต้องมีนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยาในโรงเรียนเข้าแทรกแซง

“สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งคือการพูดคุยกับลูก ๆ ของคุณและทำให้พวกเขารู้ว่ามันโอเคที่จะรู้สึกอย่างที่พวกเขากำลังรู้สึก” เมเยอร์สกล่าว

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th