Site icon Motherhood.co.th Blog

พ่อแม่ส่งผลต่อ “สุขภาพจิตของลูก” อย่างไร

ดูแลสุขภาพจิตของลูก

พ่อแม่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของลูกได้นะ

พ่อแม่ส่งผลต่อ “สุขภาพจิตของลูก” อย่างไร

หากจะมีอะไรที่พ่อแม่ทุกคนล้วนเห็นพ้องต้องกันแล้วละก็ คงหนีไม่พ้นเรื่องสุขภาพกายและ “สุขภาพจิตของลูก” ที่จะต้องเป็นไปอย่างไร้ปัญหา มีชีวิตที่ดีและประสบความสำเร็จ แม้ว่าชีวิตของคนเราจะมาพร้อมกับความท้าทาย หลายอย่างเราก็ควบคุมมันไม่ได้ ในขณะที่บางส่วนเป็นผลมาจากการกระทำหรือประสบการณ์ที่ลูกของคุณต้องเผชิญ เราได้สำรวจว่ารูปแบบการเลี้ยงดูและสุขภาพจิตของผู้ปกครองส่งผลต่อบุตรหลานอย่างไร ข้อมูลนี้ครอบคลุมถึงวิธีที่ผู้ปกครองสามารถถ่ายทอดความผิดปกติด้านสุขภาพจิตให้กับเด็กได้ และรูปแบบพฤติกรรมและอารมณ์แบบใดที่สามารถส่งผลกระทบอย่างยั่งยืนต่อพัฒนาการของเด็ก

ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์และผลกระทบต่อเด็ก

แต่ละครั้งที่เด็กเผชิญกับความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นความวุ่นวายในครอบครัวหรือความทุกข์ทางอารมณ์ จะส่งผลกระทบต่อพวกเขาในหลากหลายด้าน มีแม้กระทั่งคำศัพท์เฉพาะสำหรับเหตุการณ์เชิงลบประเภทนี้ — ประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ (ACEs) โดยสรุปก็คือ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจที่เด็ก ๆ ต้องเผชิญ เช่น ความรุนแรงที่บ้านหรือการหย่าร้าง นี่คือภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ สถานการณ์ที่โดยทั่วไปถือว่าเข้าข่ายมีดังต่อไปนี้

เด็ก 1 ใน 3 ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีต้องรับมือกับประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในขณะที่ 14 เปอร์เซ็นต์พบว่ามีประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ 2 อย่างหรือมากกว่านั้น ประมาณหนึ่งในสี่ของทั้งหมด การหย่าร้างหรือการแยกกันอยู่มีความเกี่ยวข้องต่อประสบการณ์เหล่านั้น

ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันว่าจะมีปัญหาในอนาคต แต่จะเพิ่มความเสี่ยงในอนาคตของเด็กต่อปัญหาสุขภาพจิต การบาดเจ็บ พฤติกรรมเสี่ยง โรคติดเชื้อหรือโรคเรื้อรัง และการขาดรายได้หรือโอกาสทางการศึกษา ที่โดดเด่นที่สุด มันสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล การฆ่าตัวตาย และ Post-traumatic Stress Disorder ด้วย มากถึง 21 ล้านกรณีของภาวะซึมเศร้าที่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการป้องกันเด็กจากประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านี้

ในฐานะพ่อแม่ คุณสามารถทำส่วนของคุณได้โดยการเป็นครอบครัวที่มั่นคง เพื่อให้มั่นใจว่าลูก ๆ ของคุณเข้าใจบรรทัดฐานทางสังคม และให้ทักษะที่จำเป็นแก่พวกเขาในการรับมือกับอารมณ์ที่ยากลำบากเมื่อปรากฏขึ้น

สไตล์การเลี้ยงดูและสุขภาพจิตของลูก

ในขณะที่คุณไม่อยากจะรู้สึกผิดในข้อหาเลี้ยงลูกไม่ดีและปล่อยปละละเลยลูก ๆ ของคุณ คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการโอ๋ลูกมากเกินไปเหมือนกัน การปกป้องลูก ๆ ของคุณซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะจำกัดโอกาสของพวกเขาในการจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดและวิตกกังวล การไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องสามารถนำไปสู่โรควิตกกังวลได้

ในบางสถานการณ์ ความผกผันสามารถเกิดขึ้นได้ ลูกของคุณอาจคุ้นเคยกับการได้รับการปกป้องและรู้สึกชินกับสถานการณ์บางอย่าง พวกเขารู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นโดยทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พ่อแม่สั่งสอน ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ปกป้องลูกจากยาเสพติดและแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้เด็กอยากรู้อยากเห็นมากเกินไปและในที่สุดก็นำไปสู่การใช้สารเสพติด

ในขณะเดียวกัน การเลี้ยงลูกด้วยการวิพากษ์วิจารณ์และไม่สนใจความรู้สึกสามารถบั่นทอนความภาคภูมิใจในตนเองของเด็ก และนำไปสู่ความวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันกับการตัดสินลูก ๆ ของคุณด้วยภาพลักษณ์หรือคุณค่าในตนเอง เด็กมีเรื่องทางอารมณ์มากพออยู่แล้วที่จะต้องรับมือให้ได้ และการเข้มงวดเกินไปอาจส่งผลต่อพัฒนาการของพวกเขาเช่นกัน

โดยทั่วไปแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองจะอยู่ภายใต้รูปแบบการเลี้ยงดู 4 ประเภท นี่คือบทสรุปของแต่ละประเภท

ไม่มีวิธีที่ถูกหรือผิดสำหรับพ่อแม่ เนื่องจากแต่ละสถานการณ์ก็มีความท้าทายที่แตกต่างกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่แบบไหน นี่ไม่ใช่เกมจับผิด ในท้ายที่สุด สไตล์การเลี้ยงลูกไม่ได้เป็นเพียงเครื่องบ่งชี้ว่าเด็กจะออกมาเป็นอย่างไร

นักวิจัยพบว่าประวัติครอบครัวเกี่ยวกับสุขภาพจิตและประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ทำให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในระดับที่สูงขึ้น พวกเขายังพบว่าคนที่ต่อสู้กับการเผชิญปัญหา การครุ่นคิด และการตำหนิ ทั้งต่อตนเองหรือผู้ปกครอง มีแนวโน้มที่จะต้องจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตมากกว่า กล่าวอีกนัยหนึ่ง เด็กที่ไม่โทษตัวเองหรือผู้อื่นสำหรับประสบการณ์เชิงลบมีผลลัพธ์ทางสุขภาพจิตที่ดีกว่า

ผลกระทบของสุขภาพจิตของผู้ปกครองต่อพัฒนาการเด็ก

เช่นเดียวกับความเจ็บป่วยและโรคต่างๆ มากมาย ความผิดปกติด้านสุขภาพจิตมักเกิดขึ้นในครอบครัวและสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มมากขึ้นหากทั้งพ่อและแม่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิต

การศึกษาโดย American Journal of Psychiatry ติดตามเด็กที่พ่อแม่เป็นโรคซึมเศร้าในช่วง 20 ปีเพื่อวัดว่าพวกเขามีอาการอย่างไรในวัยผู้ใหญ่ พบว่าเด็กมีความเสี่ยงต่อสุขภาพจิตและความผิดปกติของการใช้สารเสพติดมากกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่เป็นโรคซึมเศร้าถึงสามเท่า

สิ่งสำคัญคือต้องรู้คือเพียงเพราะพ่อแม่มีภาวะสุขภาพจิตไม่ได้แปลว่าจะมีผลกระทบต่อลูกเสมอไป แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้ปกครองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของพวกเด็ก ๆ มากกว่า หลายคนที่มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือความผิดปกติอื่น ๆ ได้รับการรักษาและมีชีวิตที่ยืนยาว มีสุขภาพแข็งแรง และประสบความสำเร็จ

การรับมือกับภาวะซึมเศร้าในฐานะพ่อแม่อาจส่งผลกระทบโดยไม่ได้ตั้งใจถึงวิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก ตัวอย่างเช่น คุณอาจไม่แสดงออกหรือสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์ ซึ่งอาจส่งผลต่อสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก

นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของลูก ความดิ้นรนที่จะมีพลังงานเพียงพอในการออกนอกบ้านหรือไปส่งลูกสายเป็นปกติอาจเป็นอันตรายต่อสถานะของเด็ก ๆ ในโรงเรียน ในทางกลับกัน การต่อสู้ทางวิชาการอาจนำไปสู่ความรู้สึกด้านลบซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางสุขภาพจิต

สถานการณ์เหล่านี้มักสร้างความเครียดให้กับทั้งพ่อแม่และลูก และอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ นำไปสู่ปัญหาการละทิ้งหรือปัญหาเรื่องความไว้วางใจ

พูดคุยกับบุตรหลานของคุณเกี่ยวกับสุขภาพจิตอย่างตรงไปตรงมา อธิบายว่ามันคืออะไรและมีวิธีการรักษาอย่างไร ใช้คำพูดของคุณอย่างระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการตีตรา

คุณควรเปิดเผยและซื่อสัตย์กับวิธีการสื่อสารทั้งทางวาจาและอวัจนภาษา เด็กฉลาดกว่าที่เราคิด พวกเขาและสามารถรับคำแนะนำได้ อย่ารู้สึกว่าตัวเองเห็นแก่ตัวถ้าคุณต้องการจัดลำดับความสำคัญในการรับความช่วยเหลือมากกว่าการดูแลครอบครัวของคุณเอง หากไม่มีคุณในเวอร์ชั่นที่จิตใจเข้มแข็งมากพอ ครอบครัวของคุณก็จะลำบากถึงแม้กายหยาบของคุณจะอยู่กับพวกเขาตลอดก็ตาม

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th