Site icon Motherhood.co.th Blog

วิธี “เรียกน้ำนมแม่กลับคืน” หลังจากหยุดไปนาน

วิธีเรียกน้ำนมแม่กลับคืน

จะทำยังไงหากหยุดให้นมไปแล้วอยากกลับมาให้นมลูกอีกครั้ง ?

วิธี “เรียกน้ำนมแม่กลับคืน” หลังจากหยุดไปนาน

บางทีคุณอาจเริ่มต้นการให้นมอย่างยากลำบาก คุณเลยตัดสินใจที่จะหยุดให้นมก่อน แต่คุณกำลังคิดใหม่ คุณอยากจะกลับมา “ให้นมลูกอีกครั้ง” และต้องการรู้ว่าทำยังไงสต็อกน้ำนมถึงจะกลับมาและเริ่มต้นให้นมลูกได้อย่างราบรื่นอีกครั้ง หรือบางทีคุณและลูกน้อยของคุณถูกแยกจากกันเนื่องจากปัญหาทางการแพทย์ ทำให้คุณไม่สามารถให้นมลูกได้ทัน และคุณต้องการลองทำมันด้วยตัวเองอีกครั้ง อาจเป็นได้ว่าลูกน้อยของคุณหย่านมไปเมื่อหลายเดือนก่อน แต่ตอนนี้ดูเหมือนสนใจที่จะกินนมอีก คุณเลยต้องการทราบว่ามันคุ้มค่าหรือเปล่า ข่าวดีก็คือ มันเป็นไปได้ค่ะ

ปัจจัยที่เพิ่มความสำเร็จในการเรียกน้ำนมแม่กลับคืน

ในขณะที่คุณจะเริ่มต้นเรียกน้ำนมแม่ให้กลับคืนมา สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าทุกคนมีความแตกต่างกันและตอบสนองต่อความพยายามในการเรียกน้ำนมแม่ด้วยระดับความสำเร็จที่ต่างกัน

ผู้หญิงบางคนจะสามารถนำน้ำนมกลับมาเต็มได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ บางคนอาจใช้เวลานานขึ้นเล็กน้อย และบางคนก็ไม่สามารถดึงน้ำนมกลับมาได้เต็มที่ นมแม่ทุกออนซ์มีค่า แต่การสร้างความสงบสุขกับสิ่งที่คุณมีมีความสำคัญเมื่อคุณพยายามปรับการเรียกน้ำนมใหม่

หมายความว่ามีปัจจัยบางอย่างที่จะกำหนดว่าคุณจะประสบความสำเร็จเพียงใดในการเรียกน้ำนมกลับคืน

การเรียกน้ำนมกลับมาให้เวลานานเท่าไหร่ ?

ย้ำอีกครั้งว่าการตอบสนองต่อความพยายามในการเรียกน้ำนมนั้นต่างกันไป อย่างไรก็ตาม คุณสามารถคาดหวังผลลัพธ์เบื้องต้นบางอย่างได้ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากพยายาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าระยะเวลาที่ใช้ในการให้นมลูกนั้นเท่ากับระยะเวลาที่คุณหย่านมจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากหลักฐานงานวิจัยที่มีอยู่ การเรียกน้ำนมกลับคืนแบบสมบูรณ์ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนสำหรับคนส่วนใหญ่

เคล็ดลับในการกระตุ้นให้น้ำนมกลับคืนมา

ปริมาณน้ำนมแม่จะอ่อนตัวลงในช่วงเวลาที่คุณให้นมลูก และคุณอาจสังเกตเห็นว่าต้องใช้เวลาสักระยะกว่าที่ ‘โรงงานผลิตนม’ ทั้งหมดจะต้องปิดกิจการ แม้ว่าคุณจะหย่านมแล้วก็ตาม คุณอาจยังสามารถปั๊มน้ำนมได้เล็กน้อย แม้ว่าจะผ่านไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนแล้วนับตั้งแต่ที่คุณให้นมลูกหรือปั๊มนมครั้งล่าสุด

ขอให้มีความเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการที่ราบรื่น ยืดหยุ่น และไหลลื่น และหากคุณเคยให้นมแม่ก่อนหน้านี้ มันอาจจะง่ายกว่าที่คุณคิดเพื่อให้ทุกอย่างกลับมาดำเนินตามปกติอีกครั้ง

การกระตุ้นเต้านม ไม่ว่านมจะออกมาในตอนแรกหรือไม่ก็ตาม จะบอกร่างกายให้ผลิตน้ำนมมากขึ้น ในการกระตุ้นให้มีปริมาณน้ำนมเต็มที่ คุณจะต้องตั้งเป้าให้นมเองหรือปั๊มนม 8-12 ครั้งต่อวัน หรือทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง รวมทั้งอย่างน้อยคืนละครั้ง ในตอนแรกคุณจะเห็นแค่ไม่กี่หยดหรือน้ำนมไม่มาก หากคุณให้นมลูกหรือปั๊มนมต่อไป คุณควรเริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์หรือประมาณนั้น

หากลูกน้อยจะกลับมากินนมแม่อีก

หากลูกน้อยไม่สนใจจะกินนมแม่หรือกินน้อยลง

นอกจากการให้นมหรือการปั๊มนมแล้ว คุณอาจต้องการพิจารณาเพิ่มอาหารเรียกน้ำนมด้วย ตัวเลือกยอดนิยม ได้แก่ คุกกี้ข้าวโอ๊ตบด หรือสมุนไพรเช่น เทียนข้าวเปลือก หัวปลี คุณอาจลองดื่มชาที่ทำจากสมุนไพรเหล่านี้

คุณควรหยุดความพยายามเมื่อใด ?

การเรียกน้ำนมกลับมาเป็นงานหนักและมาพร้อมกับความท้าทายมากมาย ในขณะที่คุณก้าวไปข้างหน้า ให้ชั่งน้ำหนักความสำเร็จที่อาจเกิดขึ้นกับความผาสุกทางร่างกายและจิตใจของคุณเอง

หากเวลาผ่านไปหนึ่งเดือนและคุณได้ทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อนำสต็อกน้ำนมของคุณกลับมาโดยไม่ประสบความสำเร็จ อาจถึงเวลาที่คุณต้องอนุญาตให้ตัวเองหยุดพยายาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณพบว่าความพยายามของคุณทำให้คุณรู้สึกหนักใจหรือเครียด

จำไว้ว่าปริมาณน้ำนมแม่ที่คุณผลิตให้ลูกน้อยของคุณมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้น ให้มองว่าความพยายามในการให้น้ำนมแม่ของคุณประสบความสำเร็จ แม้ว่าคุณจะไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เต็มที่สำหรับลูกน้อยของคุณ ทำสิ่งที่เหมาะกับคุณและพยายามอย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคุณแม่คนอื่น

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th