3 ไตรมาส

ทันทีที่การตั้งครรภ์เริ่มขึ้้น ว่าที่คุณแม่รวมทั้งคุณพ่อก็ต้องตามลุ้นทุกฝีก้าว ทั้ง “3 ไตรมาส” ที่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์แม่ มีอะไรที่ว่าที่คุณแม่ต้องเผชิญมากมาย และเราจะอยู่เคียงข้างคุณในช่วงเวลานี้เอง

ทารกในครรภ์มีกล้ามเนื้อประหลาด

“ทารกในครรภ์” กับพัฒนาการแสนประหลาดที่เพิ่งค้นพบ

by

“ทารกในครรภ์” กับพัฒนาการแสนประหลาดที่เพิ่งค้นพบ การวิจัยใหม่ตัวหนึ่งที่เพิ่งถูกเปิดเผยในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่า ตัวอ่อน “ทารกในครรภ์” ของมนุษย์มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อชุดพิเศษหลายส่วนตามแขนและขา ซึ่งจะหายไปตามเวลาที่พวกเขาเกิด และกล้ามเนื้อเหล่านี้บางส่วนถูกพบเห็นได้ครั้งสุดท้ายในบรรพบุรุษผู้ใหญ่ของพวกเราเมื่อ 250 ล้านปีก่อน อ้างอิงจากผู้เขียนงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Development โดยทีมนักชีววิทยาประจำมหาวิทยาลัยฮาวเวิร์ด (Howard University) ของสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่าเราไม่สามารถติดตามการก่อตัวของชิ้นส่วนร่างกายชั่วคราวเหล่านี้ในมนุษย์ด้วยรายละเอียดที่ดีสักเท่าไรนัก แต่ด้วยการใช้เทคนิคการถ่ายภาพสามมิติขั้นสูง ผู้เขียนกล่าวว่าพวกมันสามารถให้ภาพที่ชัดเจนที่สุดของการเติบโตของแขนขาของเราในช่วงต้น และยังพออีกว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแปลก ยกตัวอย่างเช่น ในมือและเท้าของตัวอ่อนในครรภ์ที่มีอายุเจ็ดสัปดาห์ พวกเขาสามารถมองหากล้ามเนื้อได้…

คุณแม่ควรตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม สำคัญอย่างไร

by

“ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม” สำคัญอย่างไร คุณแม่หลายท่านอาจจะเตรียมตัวมาอย่างดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ทั้งหาข้อมูลและพบแพทย์ แต่บางท่านอาจจะตกหล่นที่จะเข้ารับการ “ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม” ไปได้ ทั้งที่จริงแล้วการตรวจคัดกรองเพื่อหาความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้นจำเป็นมาก เพื่อที่จะได้รู้ว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงที่จะมีกลุ่มอาการดาวน์หรือไม่ รวมทั้งความผิดปกติในแง่อื่นๆ แต่การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้เลยค่ะ ทำความรู้จักกับกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) กลุ่มอาการดาวน์เป็นโรคที่เกิดขึ้นเพราะความผิดปกติที่โครโมโซม และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะปัญญาอ่อน เด็กในกลุ่มอาการดาวน์จะมี 47 โครโมโซม ต่างกับคนปกติที่มีแค่ 46 โครโมโซม ซึ่งมีโครโมโซมเกินมา…

ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก

ตั้งครรภ์นอกมดลูก จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นหรือไม่

by

ตั้งครรภ์นอกมดลูก จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นหรือไม่ อีกหนึ่งความกังวลของคุณแม่ท้องอ่อนย่อมหนีไม่พ้นการ “ตั้งครรภ์นอกมดลูก” ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถึงกระนั้นคุณแม่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าอาการเป็นอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองมีความเสี่ยงหรือไม่ และมีวิธีทางที่จะป้องกันได้บ้าง มาติดตามกันในบทความนี้เลยค่ะ ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) เป็นภาวะที่ไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มแล้วกลายเป็นตัวอ่อนแต่ไปฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่หรือปีกมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะเกิดเนื้อเยื่อเจริญเติบโตและสร้างความเสียหายแก่ท่อนำไข่ และทำให้มารดาเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม่ท้องควรสังเกตสัญญาณสำคัญของการท้องนอกมดลูก เพื่อไปพบแพทย์ให้ทันเวลา อาการของท้องนอกมดลูก ในช่วงแรกของการท้องนอกมดลูกจะยังไม่มีอาการสำคัญที่ปรากฏ หรืออาจมีอาการที่คล้ายสัญญาณการตั้งครรภ์ทั่วไป ได้แก่ ประจำเดือนขาด…

ดูความยาวทารกในครรภ์

ความยาวทารกในครรภ์ เราคาดคะเนได้หรือไม่

by

ความยาวทารกในครรภ์ เราคาดคะเนได้หรือไม่ เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ คุณแม่คงอยากจะรู้ว่าเจ้าตัวน้อยในท้องมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร แข็งแรงหรือไม่ ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ เราสามารถรู้ถึง “ความยาวทารกในครรภ์” ได้ เพื่อนำข้อมูลนี้ไปคำนวณวันครบกำหนดคลอด วันนี้ Motherhood จะมาเตรียมตัวคุณแม่ให้พร้อมในการไปทำอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูทารกน้อยกันนะคะ มีศัพท์เฉพาะอะไรบ้างที่ต้องรู้ การทำอัลตราซาวด์มีรายละเอียดและขั้นตอนอย่างไร ตรวจเพื่อดูอะไรในครรภ์เราบ้าง ติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ การตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวด์ การตรวจครรภ์ด้วยอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งการตรวจวิธีนี้มีความปลอดภัยสูง และสามารถทำได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ ในปัจจุบันพัฒนาการของเครื่องอัลตราซาวด์ก้าวหน้าเป็นอันมาก จากเดิมที่เป็นระบบ…

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

แบบไหนคือความเสี่ยงต่อ “ครรภ์เป็นพิษ”

by

แบบไหนคือความเสี่ยงต่อ “ครรภ์เป็นพิษ” ในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจจะต้องเผชิญกับภาวะที่ชวนให้กังวลใจ โดยเฉพาะ “ครรภ์เป็นพิษ” ที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ทั่วโลก แต่เราจะสามารถเลี่ยงความเสี่ยงนี้ได้อย่างไร และหากมันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ ทางออกมีอะไรบ้าง ติดตามได้ในบทความตอนนี้เลยค่ะ อะไรคือภาวะครรภ์เป็นพิษ? ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) คือ ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่เป็นอันตราย เพราะทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีภาวะโปรตีนหรือไข่ขาวปะปนอยู่ในปัสสาวะ ไตทำงานผิดปกติ หรือมีอาการอื่นๆ โดยภาวะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์มากกว่า 20…

ไวรัสตับอักเสบในเด็ก

ไวรัสตับอักเสบ อีกโรคติดต่อที่คนมักละเลย

by

ไวรัสตับอักเสบ อีกโรคติดต่อที่คนมักละเลย เรื่องของสุขภาพพลานามัยเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกคนในครอบครัว ไม่จำกัดเฉพาะลูกน้อยเท่านั้น อีกโรคหนึ่งที่คนไทยไม่ค่อยระวังในการติดต่อแพร่เชื้อคือ “ไวรัสตับอักเสบ” มันเป็นโรคที่ติดต่อและแพร่เชื้อกันง่าย ผ่านการใช้ภาชนะหรือแก้วน้ำร่วมกัน หากเชื้อโรคแพร่ไปยังเด็กเล็กก็เป็นความยุ่งยากตามมา ตัวเลข 400 ล้าน คือจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสตับอักเสบทั่วโลก แต่ข่าวดีก็คือโรคตับอักเสบบางรูปแบบสามารถรักษาให้หายขาดได้และส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ วันนี้ Motherhood จะมาบอกคุณเกี่ยวกับสาเหตุและทางเลือกในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบในเด็ก ติดตามกันต่อไปว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้เจ้าตัวเล็กติดเชื้อได้อย่างไร ไวรัสตับอักเสบคืออะไร? ไวรัสตับอักเสบเป็นการอักเสบของเซลล์ตับ มันอาจเริ่มติดเชื้ออย่างรุนแรงในเด็กเล็ก และอีก 90% พบในทารกที่อายุน้อยกว่าหกเดือน…

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องระวังอย่างไร

by

“เบาหวานขณะตั้งครรภ์” คุณแม่ต้องระวังอย่างไร คงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก หากคุณแม่ท่านไหนต้องเผชิญกับโรค “เบาหวานขณะตั้งครรภ์” (Gestational Diabetes) เพราะมันมีผลกระทบที่ใหญ่มากต่อลูกน้อยในครรภ์และตัวคุณแม่เอง สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่มีความเสี่ยง ก็อาจจะอยากทราบว่าจะป้องกันได้อย่างไร และมีอาหารประเภทไหนที่จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง มาติดตามไปพร้อมกันนะคะ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออะไร โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งร่างกายจะมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ และมันจะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ รวมทั้งเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายมากได้ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้ มักจะถูกวินิฉัยกันในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28…