สุขภาพ & การแพทย์

พบกับความรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นกับเจ้าตัวน้อยของคุณได้ใน “สุขภาพ & การแพทย์” นอกจากนี้ยังมีความรู้ในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ ความรู้อัดแน่นในด้านโภชนาการ และเมนูอาหารอร่อยๆสำหรับลูกของคุณที่สามารถทำตามได้แบบไม่ยาก

ปัญหาฝุ่น pm 2.5

“ฝุ่น PM 2.5” อันตรายขึ้นทุกวัน จะป้องกันลูกอย่างไร

by

“ฝุ่น PM 2.5” อันตรายขึ้นทุกวัน จะป้องกันลูกอย่างไร หลังจากที่ห่างหายกันไปพักใหญ่ ตอนนี้ “ฝุ่น PM 2.5” ที่เกินค่ามาตรฐานก็ได้กลับมาสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวกทม.กันอีกรอบแล้วนะคะ มันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกับคนทุกเพศทุกวัยที่สูดดมเข้าไป แต่กับเด็กเล็กที่ระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ฝุ่นละออง PM 2.5 จะสามารถทำอันตรายกับสุภาพของเขาได้มากกว่าที่ทำกับผู้ใหญ่เสียอีก แล้วพ่อแม่จะดูแลป้องกันลูกให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองนี้ได้อย่างไร ฝุ่นละออง PM 2.5 คืออะไร? เกิดมาจากไหน? ฝุ่นละออง…

เลือกอาหารสำหรับเด็ก

เริ่มให้ลูกกิน “อาหารสำหรับเด็ก” เมื่อไหร่ดี

by

เริ่มให้ลูกกิน “อาหารสำหรับเด็ก” เมื่อไหร่ดี วัยทารกเป็นวัยที่เด็กควรได้รับน้ำนมแม่มากที่สุด เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารมากมาย แต่เมื่อลูกโตขึ้นสักพักก็จำเป็นจะต้องได้รับ “อาหารสำหรับเด็ก” ที่เหมาะสมตามวัย เพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทาน เสริมพัฒนาการ และเป็นการฝึกให้ลูกมีความคุ้นเคยกับอาหารด้วย แต่ควรเริ่มให้ทารกได้รับประทานอาหารเหล่านี้ตอนไหน สามารถให้เขารับประทานอะไรได้บ้าง และต้องให้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้เลยค่ะ จุดประสงค์ของการให้อาหารตามวัยสำหรับทารก 1. ให้สารอาหารเพิ่มเติมจากนมแม่ ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก ทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอจากนมแม่ที่มีสุขภาพดี ถ้าหากแม่มีสุขภาพที่ดีและสามารถให้นมแก่ลูกได้อย่างเต็มที่ และทารกเติบโตได้ตามเกณฑ์…

การจัดฟันเด็ก

จัดฟันเด็ก เริ่มได้ตอนลูกกี่ขวบ

by

จัดฟันเด็ก เริ่มได้ตอนลูกกี่ขวบ เรื่องสุขภาพปากและฟันของคนเราเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในสมัยนี้เราจะพบว่ามีเด็กและวัยรุ่นหลายคนที่นิยมจัดฟันจนดูเหมือนทำตามแฟชั่น ทั้งที่จริงแล้วการ “จัดฟันเด็ก” เป็นไปเพื่อแก้ไข้การสบฟันที่ผิดปกติของเด็ก พ่อแม่หลายคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าสภาพฟันแบบไหนที่จะเข้าข่ายมีปัญหา ลูกเราฟันเหยินหรือฟันเกหรือเปล่า สมควรได้รับการจัดฟันหรือไม่ แม้แต่ว่าควรให้ลูกจัดฟันตอนกี่ขวบดี ติดตามบทความของวันนี้เลยค่ะ จะได้ทราบเรื่องราวของการจัดฟันสำหรับเด็กมากขึ้น แบบไหนที่เรียกว่าฟันเหยิน? ฟันเหยิน คือ ภาวะที่ฟันหน้าด้านบนยื่นออกจากปากหรือครอบปิดฟันหน้าด้านล่าง ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากไม่มีอาการมากจนเกินไป โดยอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือสาเหตุอื่นๆ เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะหรือฟันผิดปกติ อาการฟันเหยินจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ซึ่งอาจสังเกตได้จากรูปหน้าที่ผิดปกติ เช่น…

โรคผิวเผือก

ผิวเผือก เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรที่ต้องระวังบ้าง

by

ผิวเผือก เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรที่ต้องระวังบ้าง จากที่ Motherhood เคยนำเสนอเรื่องราวของโรคด่างขาวกันไปแล้ว อาจจะทำให้ผู้อ่านบางท่านนึกสงสัยต่อไปว่า แล้วคนที่ขาวมากไปทั้งตัว หรือที่เรียกว่า “ผิวเผือก” มันเกิดขึ้นได้ยังไง มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วจะต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังมากขนาดไหน รวมทั้งว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะอยากรู้ว่าลูกเราจะมีโอกาสเกิดมาเป็นเด็กผิวเผือกหรือไม่ ติดตามได้ในบทความวันนี้เลยค่ะ ผิวเผือกคืออะไร? ผิวเผือก (Albinism) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับกระบวนการผลิตเม็ดสีในร่างกายที่ทำหน้าที่กำหนดสีผิว สีผม และสีม่านตา เมื่อเป็นโรคนี้ ร่างกายของผู้ป่วยอาจไม่ผลิตเม็ดสีออกมาหรือผลิตออกมาน้อยกว่าปกติ ทำให้มีอาการ…

อาการเลือดกำเดาไหล

เมื่อลูก “เลือดกำเดาไหล” พ่อแม่จะช่วยยังไงดีนะ

by

เมื่อลูก “เลือดกำเดาไหล” พ่อแม่จะช่วยยังไงดีนะ เรื่องสุขภาพของลูกเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อแม่สามารถห่วงไปได้ร้อยแปด อาการหนึ่งที่เด็กๆหลายคนอาจจะเคยเป็นก็คือ “เลือดกำเดาไหล” บางทีนั่งเล่นด้วยกันอยู่ดีๆ เลือดก็ไหลหยดแหมะใส่เสื้อซะอย่างนั้น ทำไมเลือดกำเดาถึงไหล แล้วเรามีวิธีหยุดเลือดอย่างไรถึงจะถูกต้อง Motherhood มีเคล็ดลับมาบอกให้คุณพ่อคุณแม่จำเอาวิธีไปใช้กันค่ะ เลือดกำเดา คืออะไร? เลือดกำเดา คือเลือดที่ไหลออกมาจากโพรงจมูก ไม่ว่าจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง เกิดจากเส้นเลือดภายในโพรงจมูกแตก สาเหตุอาจเป็นเพราะเส้นเลือดในโพรงจมูกเปราะบางแตกง่ายด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น อากาศที่เปลี่ยน ร้อนเกินไป หนาวเกินไป หรือแห้งเกินไป…

ไวรัสตับอักเสบในเด็ก

ไวรัสตับอักเสบ อีกโรคติดต่อที่คนมักละเลย

by

ไวรัสตับอักเสบ อีกโรคติดต่อที่คนมักละเลย เรื่องของสุขภาพพลานามัยเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกคนในครอบครัว ไม่จำกัดเฉพาะลูกน้อยเท่านั้น อีกโรคหนึ่งที่คนไทยไม่ค่อยระวังในการติดต่อแพร่เชื้อคือ “ไวรัสตับอักเสบ” มันเป็นโรคที่ติดต่อและแพร่เชื้อกันง่าย ผ่านการใช้ภาชนะหรือแก้วน้ำร่วมกัน หากเชื้อโรคแพร่ไปยังเด็กเล็กก็เป็นความยุ่งยากตามมา ตัวเลข 400 ล้าน คือจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสตับอักเสบทั่วโลก แต่ข่าวดีก็คือโรคตับอักเสบบางรูปแบบสามารถรักษาให้หายขาดได้และส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ วันนี้ Motherhood จะมาบอกคุณเกี่ยวกับสาเหตุและทางเลือกในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบในเด็ก ติดตามกันต่อไปว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้เจ้าตัวเล็กติดเชื้อได้อย่างไร ไวรัสตับอักเสบคืออะไร? ไวรัสตับอักเสบเป็นการอักเสบของเซลล์ตับ มันอาจเริ่มติดเชื้ออย่างรุนแรงในเด็กเล็ก และอีก 90% พบในทารกที่อายุน้อยกว่าหกเดือน…

โรคหอบหืดในเด็ก

โรคหอบหืด เมื่อลูกน้อยทรมานกับอาการหอบ

by

โรคหอบหืด เมื่อลูกน้อยทรมานกับอาการหอบ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วย “โรคหอบหืด” ถึง 150 ล้านคน เสียชีวิตปีละมากกว่า 180,000 คน คงไม่ดีแน่หากลูกรักของเราจะต้องเป็นหนึ่งในนั้น พ่อแม่จะมีวิธีช่วยเหลือลูกได้อย่างไร โรคหอบหืดรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ หรือจะบรรเทาอาการของลูกได้มากน้อยแค่ไหน Motherhood นำความรู้ในเรื่องหอบหืดมาฝากกันแล้วค่ะ ทำความรู้จักกับโรคหอบหืด โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกว่าหอบหืด คือ โรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบแคบของระบบทางเดินหายใจเป็นครั้งคราว…

โรคตาขี้เกียจในเด็ก

โรคตาขี้เกียจ อันตรายกับเด็กกว่าที่เราคิด

by

โรคตาขี้เกียจ อันตรายกับเด็กกว่าที่เราคิด ดวงตาของคนเราถือเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว หากลูกมีปัญหาเรื่องดวงตาย่อมเป็นเรื่องใหญ่ “โรคตาขี้เกียจ” ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่คนไทยมักจะมองข้ามไป เพราะมองดูเผินๆจะเหมือนอาการตาเหล่ตาเขทั่วไป ไม่ค่อยมีใครตระหนักถึงผลกระทบที่มีอย่างจริงจัง เต็มที่ก็จะมองว่าทำให้เสียบุคลิก ทั้งที่ความจริงแล้วจำเป็นต้องได้รับการรักษา ไม่เช่นนั้นแล้วปล่อยไว้อาจจะถึงขั้นตาบอดได้ วันนี้ Motherhood จะขอพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักกับอาการตาขี้เกียจใจเด็กกันค่ะ โรคตาขี้เกียจ คืออะไร? โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye – Amblyopia) สามารถพบได้ประมาณ 3-5…

หน้าที่แคลเซียม

แคลเซียม จำเป็นต่อแม่และลูกมากแค่ไหน?

by

แคลเซียม จำเป็นต่อแม่และลูกมากแค่ไหน? คนไทยส่วนมากเข้าใจว่า หากอยากจะให้ลูกหลานสูงหรือตัวผู้ใหญ่เองต้องการมีกระดูกที่แข็งแรง “แคลเซียม” คือสารอาหารที่จำเป็นที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมาย แต่การได้รับแคลเซียมมากไปก็ไม่ใช่เรื่องดี จริงๆแล้วแคลเซียมมีหน้าที่อย่างไรกันแน่ มีส่วนช่วยในเรื่องใดได้บ้าง และต้องรับเข้าร่างกายอย่างไรถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เกิดโทษ ถ้าอยากรู้ ต้องติดตามบทความนี้ต่อค่ะ แคลเซียมทำหน้าที่อะไร? แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกาย ร้อยละ 99 ของแคลเซียมจะอยู่ที่กระดูกและฟัน ส่วนแคลเซียมอีกร้อยละ 1 อยู่ในเลือดและเนื้อเยื่ออื่นๆ เราอาจกล่าวได้ว่ากระดูกเป็นแหล่งสะสมของแคลเซียมในร่างกาย หน้าที่สำคัญของแคลเซียมคือ การสร้างกระดูก…

กินวิตามินซีกันเถอะ

กินวิตามินซี มันดีต่อสุขภาพลูกยังไงบ้าง

by

กินวิตามินซี มันดีต่อสุขภาพลูกยังไงบ้าง การ “กินวิตามินซี” มีความสำคัญต่อสุขภาพและการพัฒนาการของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ลองอ่านบทความนี้ต่อไปเพื่อดูว่าลูกรักของคุณต้องการวิตามินซีมากน้อยเพียงใด แหล่งอาหารที่ดีที่สุดในการได้รับวิตามินซีคืออะไรบ้าง และค้นพบวิธีหลีกเลี่ยงการได้รับวิตามินซีน้อย หรือมากเกินไป ทำไมวิตามินซีถึงสำคัญ? เพราะวิตามินซีช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์เม็ดเลือดแดง กระดูก และเนื้อเยื่อ อีกทั้งช่วยให้เหงือกของลูกแข็งแรง และทำให้หลอดเลือดของลูกแข็งแรงด้วย ช่วยลดรอยช้ำที่เกิดจากการล้มหรืออุบัติเหตุต่างๆ วิตามินซียังช่วยลดและรักษาบาดแผล เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อโรค ยิ่งไปกว่านั้น วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ซึ่งหมายความว่ามันช่วยปกป้องร่างกายจากโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง…