สุขภาพลูก

ึ7 อาหารโซเดียมสูง

อาหารโซเดียมสูง กินเค็มมากไปเสี่ยงไตพัง

by

อาหารโซเดียมสูง กินเค็มมากไปเสี่ยงไตพัง ในช่วงนี้เชื่อว่าหลายบ้านกักตุนอาหารกันไว้พอสมควร ซึ่งอาหารสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ ก็เป็นที่นิยมมากเพราะเก็บได้นาน แต่มันเป็น “อาหารโซเดียม” สูง ที่จัดว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราเช่นกัน คนทั่วโลกทุกวันนี้บริโภคโซเดียมต่อวันมากเกินไปโดยที่ไม่รู้ตัว วันนี้ Motherhood เลยจะพาคุณไปรู้จักกับอาหารโซเดียมสูงประเภทต่าง ๆ และอันตรายของการรับประทานอาหารจำพวกนี้มากเกินไปค่ะ โซเดียมคืออะไร? โซเดียมเป็นสารอาหารที่สำคัญในตระกูลเกลือแร่ จัดอยู่ในกลุ่มอีเลคโทรไลต์ เมื่อละลายน้ำจะแยกตัวออกเป็นไอออนที่มีประจุไฟฟ้าบวก โซเดียมมีมากที่สุดที่น้ำนอกเซลล์ โดยจะคอยควบคุมความดันออสโมติกเพื่อรักษาปริมาณของน้ำนอกเซลล์ โซเดียมจะถูกดูดซึมได้ตลอดทางเดินอาหาร ถูกดูดซึมน้อยที่สุดที่กระเพาะอาหาร…

ลูกมีฟันแถม

ฟันแถม ฟันที่ทารกแรกเกิดมีงอกออกมา

by

ฟันแถม ฟันที่ทารกแรกเกิดมีงอกออกมา เมื่อลูกยังเป็นทารกน้อย คุณพ่อคุณแม่มักจะสังเกตอาการต่าง ๆ ของลูกเสมอ เพราะคงไม่อยากให้มีอะไรผิดปกติ บางคนจึงสังเกตพบว่าลูกมี “ฟันแถม” ที่งอกขึ้นในปากตั้งแต่แรกเกิด ทั้งที่ยังไม่ถึงเวลาที่ควรจะมีฟันน้ำนมงอกออกมาตามพัฒนาการของเด็ก ฟันที่เห็นนั้นคืออะไร จะเป็นอันตรายอะไรหรือไม่ ติดตามหาคำตอบได้ในบทความตอนนี้เลยค่ะ ฟันแถมคืออะไร? โดยปกติฟันชุดแรกของเด็กจะงอกขึ้นครั้งแรกเมื่อเด็กทารกมีอายุประมาณ 7-8 เดือน ซึ่งฟันที่ขึ้นมาชุดนี้เราเรียกว่า ฟันน้ำนม จากนั้นฟันน้ำนมจะค่อย ๆ หลุดไป เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาเมื่ออายุ…

ทารกติดโควิด-19 ได้ไหม

ทารกติดโควิด-19 ติดได้ตั้งแต่ในครรภ์จริงมั้ย

by

ทารกติดโควิด-19 ติดได้ตั้งแต่ในครรภ์จริงมั้ย คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงที่ Covid-19 ระบาดไปทั่วโลกคงกังวลไปตาม ๆ กันว่า “ทารกติดโควิด-19” ได้ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์หรือไม่ และในระหว่างการคลอดที่โรงพยาบาล มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนที่เชื้อไวรัสจะมาสัมผัสกับทารกน้อยของเรา ไหนยังจะบรรดาแม่ ๆ ที่ให้นมลูกในช่วงนี้อีกละ บางคนไม่ออกอาการป่วย เลยไม่ได้ไปตรวจ อาจจะแข็งแรงมากพอที่จะไม่แสดงอาการแม้มีเชื้อในตัว ถ้าหากลูกกินนมแม่เข้าไป จะเกิดอะไรขึ้น ความกังวลใจและข้อสงสัยหลากหลายประดังประเดเข้ามาในจิตใจของคุณพ่อคุณแม่อย่างถ้วนหน้า วันนี้ Motherhood เลยรวบรวมเอาคำตอบมาให้ค่ะ หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อ…

ตุ่มขาวในปากลูก

ตุ่มขาวในปาก พ่อแม่จะดูแลทารกอย่างไร

by

ตุ่มขาวในปาก พ่อแม่จะดูแลทารกอย่างไร แม้ว่าทารกจะยังเล็กอยู่ การดูแลสุขภาพของช่องปากก็ยังถือว่าสำคัญ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยสังเกตเห็น “ตุ่มขาวในปาก” ของทารกกันมาบ้าง ตุ่มที่ว่านี้คืออะไร มีอันตรายต่อทารกหรือไม่ และควรจะจัดการกับมันอย่างไรดี ติดตามอ่านได้ในบทความวันนี้เลยค่ะ ตุ่มขาวในปากคืออะไร? หากลูกน้อยของคุณมีตุ่มเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเหลืองปนขึ้นบนแนวเหงือกหรือบนเพดานของปาก มันก็น่าจะเป็น Epstein pearl หรือตุ่มสีขาวในปาก ซึ่งเป็นซีสต์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Gingival cyst ที่มีในทารกแรกเกิด Epstein…

สบู่ล้างมือสำหรับเด็ก

สบู่ล้างมือ เจลล้างมือ แบบไหนที่เด็กใช้ได้

by

สบู่ล้างมือ เจลล้างมือ แบบไหนที่เด็กใช้ได้ ช่วงที่ไวรัสโคโรนาระบาดไปทั่วอย่างนี้ เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนก็คงอยากหา “สบู่ล้างมือ” หรือเจลทำความสะอาดมือดี ๆ ที่ไว้ใช้กับลูกน้อยให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค แต่ผลิตภัณฑ์แบบไหนละที่จะปลอดภัยสำหรับมือน้อย ๆ ของลูกเรา ถ้าอยากทราบ ติดตามกันได้ในบทความวันนี้เลยค่ะ ความสำคัญของการล้างมือ ลองจินตนาการถึงสิ่งที่เราต้องสัมผัสในชีวิตประจำวันดู ทุกคนมีโอกาสสัมผัสกับห้องน้ำ โต๊ะ หรือลูกบิดประตูอย่างน้อยวันละครั้ง จากนั้นลองคิดถึงสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดที่คน ๆ…

Apgar score คืออะไร

Apgar score คะแนนตัวนี้บ่งชี้สุขภาพทารก

by

Apgar score คะแนนตัวนี้บ่งชี้สุขภาพทารก ในวันคลอด คุณแม่คงจะมีทั้งความตื่นเต้นและความกังวลผสมกันไปหมด เมื่อทารกน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่อาจจะได้ยินคำว่า “Apgar score” จากปากแพทย์และพยาบาลในห้องคลอด แต่ตอนนั้นอาจจะยังไม่มีสติพอที่รู้แน่ชัดว่าสิ่งที่พวกเขาพูดกันนั้นมันเกี่ยวกับอะไร มันบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับทารกน้อยของเรา วันนี้ Motherhood ก็เลยจะนำเอาความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ Apgar score คืออะไร? มันคือการประเมินสภาวะเด็กทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย  5 นาที…

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตรายต่อทั้งแม่และลูก

by

รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตรายต่อทั้งแม่และลูก แม้ว่าคนเป็นแม่จะพยายามรักษาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์มากแค่ไหน แต่เรื่องไม่คาดฝันย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างเช่นอาการ “รกลอกตัวก่อนกำหนด” ที่ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์ มาติดตามกันค่ะว่าใครบ้างที่จะมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ และเราจะสามารถป้องกันมันได้หรือไม่ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดคืออะไร รกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placenta หรือ Placental abruption) หมายถึง ภาวะที่รกซึ่งเกาะอยู่บริเวณส่วนบนของโพรงมดลูกในตำแหน่งปกติ แต่เกิดมีโรคหรือมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์ถูกกระทบกระเทือน…

อาการทารกท้องเสีย

ทารกท้องเสีย พ่อแม่จะช่วยยังไงดี?

by

ทารกท้องเสีย พ่อแม่จะช่วยยังไงดี? เรื่องสุขภาพของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ให้ความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเขายังเป็นทารกตัวน้อย และเมื่อ “ทารกท้องเสีย” คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะทำอะไรไม่ค่อยถูก หรือลังเลใจว่าจะใช่อาการท้องเสียแน่หรือเปล่า เพราะลูกก็ยังไม่ได้เริ่มรับประทานอาหารที่มีกากใยเลย วันนี้ Motherhood จะมาแนะนำวิธีดูอาการท้องเสียและวิธีบรรเทาอาการท้องเสียของทารกกันค่ะ ดูอย่างไรว่าลูกท้องเสีย? เมื่อทารกมีอาการท้องเสีย เขาจะถ่ายเหลวมากและดูเหมือนว่ามีสัดส่วนมาจากน้ำมากกว่าของแข็ง มันสามารถเป็นได้ทั้งสีเหลือง สีเขียว หรือสีน้ำตาล และสามารถซึมหรือแม้กระทั่งระเบิดออกมาจากผ้าอ้อม อาการท้องเสียอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือโรคภูมิแพ้ หากอาการท้องเสียกินเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ หากลูกน้อยมีอาการไม่ดีขึ้น ควรโทรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อลูกน้อยอายุต่ำกว่า…

อันตรายของกัญชากับคนท้อง

กัญชากับคนท้อง จะส่งผลเสียหรือมีผลดีกันแน่?

by

กัญชากับคนท้อง จะส่งผลเสียหรือมีผลดีกันแน่? จากข่าวคราวที่จะมีการเปิดเสรีกัญชาในประเทศ พร้อมทั้งเรื่องการขอใบอนุญาตนั้น ทำให้ผู้ใช้หลายคนรู้สึกดีใจ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว “กัญชากับคนท้อง” ละ เป็นสิ่งที่จะส่งผลร้ายหรือให้ผลดีกันแน่ เพราะหลายคนพูดกันมากมายเหลือเกินว่าหากใช้แต่พอดีก็เป็นสิ่งที่ดีกับสุขภาพ และเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีคนใช้งานกัญชาเพื่อการสันทนาการเยอะกว่าที่เราคิดในทั่วทุกมุมโลก ไม่เฉพาะแต่ที่ไทย หากแต่อีกมุมมองหนึ่งของคนในสังคม รวมทั้งในแบบเรียนวิชาสุขศึกษา กัญชาก็ยังคงถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในรายการยาเสพติดของประเทศไทยเรา วันนี้เราเลยจะมาดูกันค่ะ ว่ากัญชาจะส่งผลอะไรบ้างกับแม่ตั้งครรภ์ การใช้กัญชาในระหว่างตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อสุขภาพสำหรับคุณและลูกน้อยของคุณ กัญชา หรือที่คนไทยนิยมเรียกอีกอย่างว่า weed หรือเนื้อ ไม่ได้เป็นอันตรายน้อยกว่ายาเสพติดอื่น ๆ…

โรคขาดสารไอโอดีนในไทย

โรคขาดสารไอโอดีน ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย

by

โรคขาดสารไอโอดีน ยังคงมีอยู่ในประเทศไทย สมัยก่อนเราอาจจะเคยได้ยินกันว่ามีคนจากบางภาคที่ไม่ค่อยได้กินอาหารทะเลจะมีอาการของ “โรคขาดสารไอโอดีน” หรือที่เรียกกันจากสภาพที่เห็นว่าโรคคอหอยพอก หลายปีให้หลังมานี้กลับไม่ค่อยมีสื่อพูดถึงกันสักเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคนี้ก็ยังคงพบได้ในประไทยตลอดมา วันนี้ Motherhood จะพาไปทำความรู้จักกับอาการของโรคนี้เพิ่มเติมกันค่ะ โรคขาดสารไอโอดีน (Iodine deficiency disorders – IDD) หรือที่นิยมเรียกกันอีกชื่อตามสภาพของโรคที่แสดงอาการว่า โรคคอพอก (simple goiter) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ซึ่งเกิดจากภาวะการขาดสารไอโอดีนของร่างกายทำให้มีลักษณะโคโตหรือคอพอกตามมา ในปัจจุบันภาวะการขาดสารไอโอดีนของประชากรไทยได้ลดลงไปมากจนเกือบไม่พบแล้ว แต่ยังมีพบได้บ้างในพื้นที่บางส่วนที่การคมนาคมเข้าไม่ถึง…