สุขภาพแม่

แม่ถามคนท้องเดินทางไกลได้ไหม

คนท้องเดินทางไกลได้ไหม ?

by

คนท้องเดินทางไกลได้ไหม ? การเป็นคนตั้งครรภ์ไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่แต่กับบ้าน ทำให้แม่ตั้งครรภ์หลายคนมีคำถามว่า “คนท้องเดินทางไกลได้ไหม” ซึ่งหากคุณจะต้องเดินทางไปทำธุรกิจหรือพักผ่อน มีหลายวิธีที่คุณจะยังมีสุขภาพดีและปลอดภัยเมื่อคุณต้องเดินทางระหว่างตั้งครรภ์ การเดินทางเมื่อตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่ ? หากคุณมีครรภ์ที่แข็งแรง ปกติแล้วการเดินทางจะปลอดภัย แต่คุณควรพูดคุยกับแพทย์ของคุณก่อนวางแผนการเดินทาง หากคุณมีภาวะสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ หรือหากคุณมีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณจำกัดการเดินทาง แม้ว่าการตั้งครรภ์ของคุณจะแข็งแรงดี แต่คุณควรบอกแพทย์ของคุณเกี่ยวกับแผนการเดินทางของคุณ คุณอาจต้องจัดตารางการเข้ารับการฝากครรภ์ใหม่เพื่อที่คุณจะได้ไม่พลาดการตรวจทุกครั้งที่คุณไม่อยู่ ช่วงเวลาใดที่ดีที่สุดในการเดินทางระหว่างตั้งครรภ์ ?…

การฝึกสมาธิเพื่อการคลอด

10 วิธี ฝึกสมาธิเพื่อการคลอด

by

10 วิธี ฝึกสมาธิเพื่อการคลอด การตั้งครรภ์ของคุณอาจเป็นการเดินทางที่ยาวนานและยากลำบากสำหรับคุณ Motherhood ขอนำเสนอเทคนิค “ฝึกสมาธิเพื่อการคลอด” ทั้ง 10 ประการนี้ ที่จะช่วยให้การคลอดของคุณราบรื่นขึ้นมาอีกนิด ในขณะที่คนอื่น ๆ สามารถเดินตามคุณไปบนถนนแห่งความเป็นแม่ แต่ในหลาย ๆ ครั้ง การตั้งครรภ์กลับเป็นการเดินทางที่โดดเดี่ยว เป็นไปไม่ได้ที่ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคู่ของคุณ เพื่อนของคุณ แม้แต่ครอบครัวของคุณ จะเข้าใจและซาบซึ้งในสิ่งที่คุณกำลังรู้สึก การเตะครั้งแรก…

พ่อแม่เป็น HIV มีลูกได้ไหม

เป็น HIV มีลูกได้ไหม ?

by

เป็น HIV มีลูกได้ไหม ? การติดเชื้อไวรัส HIV ดูเหมือนจะไม่น่ากลัวเท่าสมัยก่อนเพราะเรามียาต้านไวรัสที่มีคุณภาพดี แต่หลายครอบครัวที่พ่อหรือแม่ติดเชื้อ HIV ยังคงสงสัยว่า “เป็น HIV มีลูกได้ไหม” เนื่องจากยังคงมีความต้องการที่จะมีลูกหรือกลัวว่าจะตั้งครรภ์ขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ จึงกังวลว่าลูกน้อยจะได้รับเชื้อจากพ่อหรือแม่ด้วยหรือไม่ วันนี้ Motherhood ได้นำเอาคำตอบมาฝากกันแล้วค่ะ พ่อแม่ผู้มีเชื้อ HIV มีลูกได้จริงหรือ ? ในปัจจุบันนี้แนวทางการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV…

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องสุขภาพ

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

by

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ หนุ่ม ๆ สาว ๆ ทั้งหลายอาจเคยได้ยินคำสอนหรือข้อห้ามจากผู้ใหญ่มามากมายเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพร่างกาย ซึ่งไม่เคยมีใครคิดสงสัยเลยว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แถมยังมีการบอกต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นความเชื่อผิด ๆ เกิดขึ้น นอกจากจะเชื่ออย่างสนิทใจแล้ว หลายคนยังยึดมั่นทำตามมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เด็กจนโตอีกด้วย แต่มันคงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องแยกแยะได้สักทีว่าความเชื่อที่ถูกปลูกฝังมาหลาย ๆ เรื่องมันมีข้อเท็จจริงอย่างไร ดังนั้นทาง Rabbit…

กินรกหลังคลอดจริงเหรอ

กินรกหลังคลอด มีจริงหรือ ?

by

กินรกหลังคลอด มีจริงหรือ ? เกิดอะไรขึ้นกับรกของเราหลังคลอด ? พ่อแม่มือใหม่อาจจะสงสัยในสิ่งนี้ หรืออาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการ “กินรกหลังคลอด” มาก่อนหน้านี้ และนี่คือ 8 สิ่งที่คุณสามารถทำได้กับอวัยวะที่อุดมไปด้วยสารอาหาร แม้ว่ามันจะไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้นเท่ากับการมาถึงของทารกน้อย แต่รกของคุณก็จัดเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นไม่เบาทีเดียว อวัยวะที่ให้สารอาหารและออกซิเจนแก่เด็กที่เติบโตขึ้นในครรภ์เป็นเวลา 40 สัปดาห์ ครั้งหนึ่งรกมักถูกโรงพยาบาลกำจัดทิ้งเป็นประจำ แต่ปัจจุบันนี้มีพ่อแม่จำนวนมากที่เก็บรักษารกไว้หลังจากการคลอดด้วยเหตุผลที่ดี และนี่คือสิ่งสร้างสรรค์ทั้งหมด 8 ประการ ที่คุณสามารถทำได้จากรกของคุณ กินรก…

ทำอาการน้ำเดินเองได้ไหม

อาการน้ำเดิน เราทำให้เกิดขึ้นเองได้มั้ย ?

by

อาการน้ำเดิน เราทำให้เกิดขึ้นเองได้มั้ย ? หากวันครบกำหนดคลอดผ่านไป แม่ท้องบางคนอาจจะรู้สึกว่าอยากทำให้มี “อาการน้ำเดิน” เกิดขึ้นด้วยตัวเอง แต่การทำเช่นนี้มันปลอดภัยจริงหรือ วันนี้ Motherhood จะนำคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญมาฝากกันค่ะ 40 สัปดาห์เป็นเวลาที่ยาวนานในการจัดการกับอาการตั้งครรภ์ที่น่ารำคาญ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอารมณ์แปรปรวนจากฮอร์โมน นั่นเป็นสาเหตุที่ผู้หญิงบางคนรู้สึกเบื่อหน่ายหากวันที่ครบกำหนดคลอดผ่านเลยไปโดยที่ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ พวกเธออาจจะอยากเร่งการคลอดโดยการทำให้น้ำเดินด้วยตัวเอง แต่สิ่งนี้จะใช่วิธีที่ปลอดภัยและทำเองได้หรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ว่าที่คุณแม่ควรทราบไว้ อาการน้ำเดินระหว่างตั้งครรภ์: เกิดอะไรขึ้น ? ลูกน้อยของคุณลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่อยู่ภายในมดลูกของคุณอีกที ของเหลวนี้จะช่วยพยุงทารกน้อย…

Bradley method คืออะไร

Bradley method คืออะไร ? ควรลองมั้ย ?

by

Bradley method คืออะไร ? ควรลองมั้ย ? “Bradley method” เป็นเทคนิคการคลอดที่ส่งเสริมให้แม่ได้คลอดบุตรแบบไม่ต้องใช้ยาและยาสลบ ก่อตั้งโดย Robert Bradley สูติแพทย์ชาวอเมริกันในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 โดยขั้นตอนต่าง ๆ จะถูกปรับให้เข้ากับร่างกายตลอดการตั้งครรภ์ การเจ็บครรภ์ และการคลอด Motherhood อยากให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคนี้ เพื่อที่คุณจะได้ติดสินใจว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะเข้าร่วมคลาสเรียนที่มีระยะเวลา 12 สัปดาห์…

จัดตู้ยาสามัญประจำบ้าน

ได้เวลาจัด “ตู้ยาสามัญประจำบ้าน” อย่างมือโปร

by

ได้เวลาจัด “ตู้ยาสามัญประจำบ้าน” อย่างมือโปร การมี “ตู้ยาสามัญประจำบ้าน” คือสิ่งจำเป็นสำหรับการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ครอบครัวของคุณต้องการตู้ยาที่มีอุปกรณ์ครบครันเพื่อให้คุณสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ ตรวจสอบรายการยาเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีอุปกรณ์พื้นฐานทั้งหมด เพื่อให้ลูกของคุณมีสุขภาพที่ดีและปลอดภัย อย่าลืมเก็บยาทั้งหมดให้พ้นมือเด็ก และควรตรวจสอบกับกุมารแพทย์ของคุณก่อนใช้ยา สิ่งที่ควรมีในตู้ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวด ผู้เล่นหลักในวงการยาแก้ปวดคือ พาราเซตามอล (Paracetamol) และ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ซึ่งส่วนใหญ่รู้จักกันดีในชื่อแบรนด์เช่น Tylenol และ Panadol คุณอาจเลือกใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง…

แผลฝีเย็บตอนคลอด

4 ระดับของ “แผลฝีเย็บ”

by

4 ระดับของ “แผลฝีเย็บ” สิ่งหนึ่งที่แม่คลอดธรรมชาติทุกคนต้องเผชิญก็คือช่องคลอดฉีกขาดนะคะ ซึ่งการฉีกขาดนี้จะนำไปสู่ “แผลฝีเย็บ” 4 ระดับที่แตกต่างกัน เรามาดูกันว่าจะมีวิธีการอะไรที่สามารถเยียวยาแผลฉีดขาดในจุดนี้ได้บ้างค่ะ เนื่องจากศีรษะของลูกน้อยมีขนาดเท่าแคนตาลูปในระหว่างการคลอดบุตร จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้หญิงหลายคนจะประสบปัญหาช่องคลอดฉีกขาด การฉีกขาดเหล่านี้ หรือที่เรียกว่าการฉีกขาดของฝีเย็บ เกิดขึ้นที่ฝีเย็บซึ่งเป็นบริเวณระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก ผู้หญิงที่คลอดบุตรเป็นครั้งแรกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการฉีกขาดของฝีเย็บเนื่องจากเนื้อเยื่อยังไม่ยืดหยุ่นเท่าไรนัก ในความเป็นจริง 95 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ท้องจะต้องเผชิญกับสิ่งนี้ การฉีกขาดของฝีเย็บมี 4 ระดับ ตั้งแต่แผลฉีกขาดที่เยื่อบุช่องคลอดไปจนถึงบาดแผลลึกที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก โชคดีที่การฉีกขาดที่พบบ่อยไม่ใช่การฉีกขาดที่รุนแรงที่สุด สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับประเภทของการฉีกขาดของฝีเย็บและวิธีการรักษามีดังนี้…

การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

เต้านม กับการเปลี่ยนแปลงช่วงก่อนคลอดและหลังคลอด

by

เต้านม กับการเปลี่ยนแปลงช่วงก่อนคลอดและหลังคลอด ตั้งแต่ที่เริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงก็จะเตรียมพร้อมเพื่อการให้นมบุตรทันที ผู้หญิงหลายคนสังเกตพบการเปลี่ยนแปลงของ “เต้านม” ก่อนที่ประจำเดือนของพวกเธอจะขาดเสียอีก นั่นเป็นเพราะปริมาณของเนื้อเยื่อ ไขมัน และการไหลเวียนของเลือดไปยังเต้านมมีเพิ่มขึ้นหลังการปฏิสนธิ ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อช่วยให้ท่อน้ำนมและต่อมน้ำนมเจริญเติบโต หน้าอกของคุณจะพัฒนาต่อไปตลอดการตั้งครรภ์และหลังจากที่ทารกเกิด เรามาดูกันต่อค่ะว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไปมีอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมในไตรมาสแรก หน้าอกของคุณจะเกิดความวุ่นวายมากที่สุดในช่วงไตรมาสแรก ในช่วงหลายสัปดาห์นี้ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำให้ต่อมน้ำนมเติบโตขึ้น และฮอร์โมนเอสโตรเจนจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้ำนม โดยทั่วไปหน้าอกจะขยายขนาดขึ้นประมาณหนึ่งหรือสองคัพเสื้อชั้นใน และเส้นเลือดจะเข้มขึ้น ผลที่เห็นได้ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ หัวนมของคุณอาจยื่นออกมามากขึ้น ลานนมจะเริ่มมีขนาดใหญ่และมีสีเข้มขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามันเตรียมพร้อมเพื่อทำหน้าที่นำทางทารกไปยังเต้านม…